การพัฒนาสูตรถนนยางมะตอยเสริมโพลิเมอร์ด้วยขยะพลาสติกจากหลุมฝั่งกลบ= Polymer modified asphalt mixes by plastic waste from garbage landfill / Pichit Janbunjong [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Pichit Janbunjong
ผู้แต่งร่วม: Pichit Janbunjong | Wutinai Kokkamhaeng | Suwatchai Thongnoi | Ongarj Nualplod | Nutjuta Nakthipphawan | Orapin Kwansri | Nittaya Keawprak | Pinuma Kaewruksa | พิชิต เจนบรรจง | วุฒินัย กกกำแหง | สุวัฒน์ชัย ทองน้อย | องอาจ นวลปลอด | ณัฐจุฑา นาคทิพวรรณ | อรพิน ขวัญศรี | นิตยา แก้วแพรก | ปิ่นอุมา แก้วรักษา
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 60-28, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 80 p. : table, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.60-28 การจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืนหัวเรื่อง: พอลิเมอร์ | ขยะพลาสติกสาระสังเขป: The study on the utilization of plastic waste from garbage landfill to produce polymer modified asphalt (PMA) was carried out. There are two limitations of PMA production. Firstly, several types of plastic waste in landfill obtained from plastic bag, plastic film and plastic fragment had different quality, and they are hardly sorted out to specific types. Secondly, the proportion of each plastic type from garbage landfill could not be controlled. The aim of this research was to primarily screen plastic waste by measuring its density or floating and divided into two groups. The first group was the low density plastic waste (polyethylene (PE), high density polyethylene (HDPE) and polypropylene (PP)), which could develop a softening point and stability of PMA. The second group was the high density plastic waste (polyethylene terephthalate (PET), PVC and PS) which could enhance ductility and stability but not a softening point. The formulation of PMA was conducted by mixing the selected plastic waste samples consisting of PE, HDPE, PP PET and the bottle-label film which mostly contain Polyvinyl chloride (PVC) with asphalt at the ration range from 4, 6 and 8%. Each PMA was mixed using internal mixture with the speed of 100 rpm at its melting point plus 30°C. All resultant PMA were tested for their qualities of penetration, softening point and ductility. All the testing were were conducted in order to prepare for Marshell measurement process. The results showed that PMA made from the low-density plastic waste at that ratio of 7% (w/w) could reach the Thailand Industrial standard (TIS) No. 2156-2547 and stability value reach the highway standard ทล. 409/2549 but not penetration and ductility. Besides, PMA made from PET waste and the bottle-label film at the proportion less than 7% represented ductility value at 86 mm. This could be qualified with 70 mm. - ductility of TIS. 2156-254 but not the penetration and softening point. In conclusions, the low-density plastic waste and the high-density plastic waste could be used to produce PMA for each failure type of asphaltic road. สาระสังเขป: การนำขยะพลาสติกในหลุมฝังกลบมาใช้ประโยชน์ในการผสมยางมะตอยเพิ่มประสิทธิภาพเป็น Polymer Modified Asphalt (PMA) มีข้อจำกัดในการใช้งาน 2 ประเด็น คือ 1) เป็นพลาสติกคละเกรดที่คัดแยกประเภทได้ยาก เช่น ถุงพลาสติกประเภทต่างๆ พลาสติกแผ่นบาง และเศษพลาสติก ซึ่งพลาสติกแต่ละประเภทให้คุณสมบัติพิเศษบางด้านไม่เหมือนกัน และ 2) สัดส่วนของประเภทพลาสติกในหลุมฝังกลบไม่สามารถควบคุมได้ จึงไม่สามารถเฉพาะเจาะจงสัดส่วนให้ผ่านคุณสมบัติที่ต้องการได้ การวิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษา กลุ่มพลาสติกที่คัดแยกเบื้องต้นด้วยความหนาแน่น หรือการลอยน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการพัฒนาค่าจุดอ่อนตัว Softening point ให้ทนความร้อน เพราะเป็นสาเหตุให้ถนนอ่อนตัว ย้อยและพังแบบรอยร่องล้อ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญรูปแบบหนึ่งในการเสียหายของถนนยางมะตอยในประเทศไทย นอกจากนี้พลาสติกกลุ่มที่มีความหนาแน่นสูงกว่าน้ำ ที่ประกอบด้วยพลาสติกประเภท Polyethylene terephthalate (PET) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในให้ค่าการยืดดึง Ductility ที่สูงกว่าการยางมะตอยผสมพลาสติกประเภทอื่น ที่ช่วยป้องกันรอยแตกร้าว จากสภาพอากาศที่เย็นทำให้ยางมะตอยแข็งและหดตัวไม่หยืดหยุ่น และพลาสติกทุกประเภทให้ค่าเสถียรภาพที่สูงขึ้นตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นความทนทานต่อแรงกดเฉือน การวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาหาสูตรส่วนผสมสำหรับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถคัดแยกได้สมบูรณ์ ซึ่งในการศึกษานี้เลือกศึกษาพลาสติกชนิด Polyethylene (PE), High Density Polyethylene (HDPE), Polypropylene (PP) ซึ่งเป็นพลาสติกกลุ่มความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำหรือพลาสติกลอยน้ำ และ PET ซึ่งเป็นพลาสติกความหนาแน่นสูงกว่าน้ำ และฉลากพลาสติกที่ได้จากขวดน้ำต่างๆ ซึ่งเป็นพลาสติกคละเกรด ประกอบด้วย Polyvinyl chloride (PVC) เป็นส่วนใหญ่ PETและ PE รองลงมา โดยการนำพลาสติกที่ 4, 6 และ 8 เปอร์เซ็นต์ มาผสมในยางมะตอย ทำการผสมด้วยเครื่องผสม Internal Mixture ด้วยความเร็ว 100 รอบต่อนาที และใช้ความร้อนในการผสมที่อุณหภูมิจุดหลอมเหลวของพลาสติกนั้นๆ และเพิ่มขึ้นอีก 30 องศาเซลเซียส จากนั้นนำตัวอย่างที่เตรียมได้ไปวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ ทดสอบ Penetration, Softening point และ Ductility นำผลที่ได้มาวิเคราะห์และหาสูตรผสมที่เหมาะสมเพื่อนำไปทดสอบ Marshell ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า หากผสมพลาสติกคละเกรดกลุ่มลอยน้ำอัตราส่วนประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักยางมะตอย จะให้ค่าจุดอ่อนตัวที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 2156-2547 และมีค่าเสถียรภาพที่ผ่านเกณฑ์ ทล.-ม. 409/2549 แต่อัตราส่วนผสมดังกล่าวไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบ Penetration และ Ductility ในขณะที่พลาสติก PET และฉลากขวดน้ำ สามารถผ่านเกณฑ์ Ductility ที่อัตราส่วนผสมพลาสติกไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าเสถียรภาพที่ผ่านเกณฑ์ ทล.-ม. 409/2549 แต่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบ Penetration และ Softening point อย่างไรก็ตาม การนำขยะพลาสติกไปใช้ประโยชน์สามารถแยกประเภทให้เข้ากับสภาพปัญหาได้ เพราะโอกาสที่จะเกิดทั้ง 2 ปัญหาในพื้นที่เดียวกันเป็นไปได้ยาก
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300