การลดปริมาณของเสียในขั้นตอนการปรับสภาพวัตถุดิบของกระบวนการผลิตเซลลูโลสิกเอทานอล = Reducing waste in pretreatment section of cellulosic ethanol production / Vishnu Panphan [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Vishnu Panphan
ผู้แต่งร่วม: Vishnu Panphan | Suthkamol Suttikul | Kitti Orasoon | Thapparait Kanhanont | Iitthanit Inchan | Sudarat Uttayanil | วิษณุ ปั้นพันธุ์ | สุทธิ์กมล สุทธิกุล | กิตติ อรสูญ | เทพฤทธิ์ กัณหานนท์ | อิฎฐนิตย์ อินทร์จันทร์ | สุดารัตน์ อุทยานิล
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 59-27, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 69 p. : table, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.59-27 การพัฒนาเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์เพื่อการผลิตเซลลูโลสิกเอทานอลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอุตสาหกรรมหัวเรื่อง: เซลลูโลสิกเอทานอล | ไฮโดรไลซิสสาระสังเขป: The purpose of this study aimed to find the optimum conditions of high gravity pretreatment using steam explosion method. Optimum condition from the pretreatment would give highest reducing sugar concentration. Rice straw was used as raw material in pretreatment process using3parameters. The parameters which was biomass/water ratio at 5 levels (3, 10, 20, 30, and 37%), reaction temperature at 5 levels (163, 170, 180, 190, and 197oC) and holding time at 5 levels (7, 10, 15, 20, and 23 mins) were varied. 5%(w/v) of pretreated rice straw was then be used as substrate in enzymatic hydrolysis step by cellulase at 50oC for 24 hours. The optimum condition of steam explosion pretreatment was done using rice straw with 20% of biomass/water ratio, heated at 180oC for 15 mins which gave highest reducing sugar concentration (21.20 g/L) from enzymatic hydrolysis. The results shown that there were no interaction among 3 parameters. The main effect on the steam explosion reaction were biomass/water ration and temperature. Regarding the results, equation was then created to predict optimum condition of steam explosion pretreatment as Reducing Sugar (g/L) = 624.6+0.183A+ 7.243B+ 0.431C- 0.00474A2 -0.02049B2 - 0.01254C2 (R2= 96.56). Furthermore, we found that optimum condition of prediction equation was 19.1506% biomass/water ratio at temperature 176.7723 oC and reaction time of 17.1235 mins.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาวิธีการปรับสภาพวัตถุดิบฟางข้าวในสภาวะความเข้มข้นสูง (High gravity) ด้วยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำ (Steam explosion) โดยใช้เครื่องปรับสภาพความดันสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพแบบความเข้มข้นสูงที่ส่งผลทำให้ได้น้ำตาลรีดิวซ์สูงเมื่อนำวัตถุดิบหลังปรับสภาพไปย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลส โดยปัจจัยที่ใช้ในการศึกษาการระเบิดโครงสร้างด้วยไอน้ำ มีทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยของความชื้นในการระเบิดโครงสร้างด้วยไอน้ำ (Biomass/Water Ratio) โดยแปรเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 3, 10, 20, 30 และ 37 ปัจจัยของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา (Reaction Temperature) แปรอุณหภูมิเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 163, 170, 180, 190 และ 197 องศาเซลเซียส และปัจจัยของระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา (Holding Time) แปรระยะเวลาเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 7, 10, 15, 20 และ 23 นาที จากนั้นจะนำฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำปริมาณร้อยละ 5 (น้ำหนักต่อปริมาตร) มาเปรียบเทียบการไฮโดรไลซิสด้วยเอนไซม์เซลลูเลสให้เป็นน้ำตาลที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพฟางข้าว ด้วยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำ คือ ใช้ฟางข้าวที่มีความชื้น ร้อยละ 20 ทำการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 15 นาที ซึ่งได้น้ำตาลรีดิวซ์สูงสุด 21.20 กรัมต่อลิตร นอกจากนั้นผลการทดลองพบว่าไม่มีอันตรกิริยาระหว่างปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัย ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการระเบิดโครงสร้างด้วยไอน้ำมี 2 ปัจจัย คือ ความชื้น และอุณหภูมิ และจากผลการศึกษา ทำให้สามารถสร้างสมการทำนายเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพด้วยวิธีการระเบิดด้วย ไอน้ำได้เป็น Reducing Sugar (g/L) = -624.6+0.183A+7.243B+0.431C-0.00474A2- 0.02049B2- 0.01254C2 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ร้อยละ 96.56 และจากการใช้ฟังก์ชันในการหาสภาวะที่เหมาะสมจากสมการทำนายปฏิกิริยาพบว่าความชื้นที่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 19.1506 อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 176.7723 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 17.1235 นาที พบว่าความชื้นที่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 19.1506 อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 176.7723 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 17.1235 นาที
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300