การผลิตเมทานอลจากกลีเซอรอลเพื่อนำกลับไปใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตไบโอดีเซล = Reforming of methanol from glycerol for reuse in biodiesel production / Rujira Jitrwung [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Rujira Jitrwung
ผู้แต่งร่วม: Rujira Jitrwung | Jiraporn Chalorngtham | Kuntima Krekkeitsakul | Kamonrat Leeheng | Anantachai Wannajampa | รุจิรา จิตรหวัง | จิราพร ฉลองธรรม | กันทิมา เกริกเกียรติสกุล | กมลรัตน์ หลีเห้ง | อนันตชัย วรรณจำปา
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 59-26, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 81 p. : table, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.59-26 การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลหัวเรื่อง: เมทานอล | กลีเซอรอล | ไบโอดีเซลสาระสังเขป: Crude glycerol obtained as a by-product from biodiesel production is recently over-supplied in the global market as well as its purity is not suitable for directly uses. Therefore, the transformation of glycerol to value added chemicals is greatly interesting and continuously developing. One of attractive and promising chemicals is methanol because it is used as important raw material in biodiesel and petrochemical industry. In this research, the direct methanol synthesis from glycerol was investigated using fixed-bed reactor in laboratory scale with basic catalysts (MgO and CaO). The results showed that methanol was formed as major product over both MgO and CaO catalysts. Other by-products were found including ethanal, ethanol, propanol, 2,3 butanedione, acetol, ethylene glycol, CO2 and CO. The MgO catalyst provided the highest glycerol conversion and glycerol yield of 66.7% and 18.38%, respectively, at condition of 330 ◦C, atmospheric pressure, 10% glycerol concentration and 0.1 ml/min feed flow rate. In addition, 1 wt% Ce loaded on MgO catalyst (1%CeO2/MgO) prepared by impregnation method was also studied. The results demonstrated that CeO2 loading improved surface area and pore volume of MgO catalyst as well as promoted dehydration reaction, which it provided glycerol conversion and glycerol yield of 21.2% and 94.4%, respectively. The catalytic performance of MgO catalyst using crude glycerol for methanol synthesis were carried out. It found that the obtained methanol yield were 15 - 18 %, which it almost unchanged comparing using purified glycerol as raw material. Moreover, the stability of MgO catalyst was over than 24 h for methanol synthesis from both crude and purified glycerol as feedstock.สาระสังเขป: ปัจจุบันกลีเซอรอลดิบซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลมีปริมาณมากเกินความต้องการของตลาด รวมทั้งมีความบริสุทธิ์ที่ไม่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง ดังนั้นการนำกลีเซอรอลดิบมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าจึงมีความน่าสนใจและถูกศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ คือ เมทานอล เนื่องจากเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลและเคมีภัณฑ์อื่นๆ งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์เมทานอลจากกลีเซอรอลโดยทางตรงในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งระดับห้องปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเบส (แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) และแคลเซียมออกไซด์ (CaO)) จากการทดลองพบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสองให้เมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ร่วมกับผลิตภัณฑ์พลอยได้ อันประกอบด้วย เอทานาล (ethanal) เอทานอล (ethanol) โพรพานอล (propanol) 2,3 บิวเทนไดโอน (2,3 butanedione) อะซีทอล (acetol) เอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) โดยตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ให้ค่าการแปรผันของ กลีเซอรอล (glycerol conversion) และค่าผลได้ของเมทานอล (methanol yield) สูงสุด ซึ่งเท่ากับ 67.7 และ 18.38 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นของสารละลายกลีเซอรอลในน้ำเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของสารละลาย อัตราการป้อนของสารละลายกลีเซอรอลในน้ำเท่ากับ 0.1 มิลลิลิตรต่อนาที และอุณหภูมิของการทำปฏิกิริยา 300 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดันบรรยากาศ นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการเติมซีเรียมเท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ลงบนตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ (1%CeO2/MgO) ด้วยวิธีการเตรียบแบบจุ่มชุบ (impregnation method) เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งจากผลการทดลอง พบว่าการเติมซีเรียมออกไซด์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวและปริมาตรรูพรุนของตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ รวมทั้งช่วยเหนี่ยวนำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถเกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชัน (dehydration reaction) ได้ดีขึ้น โดยให้ค่าการแปรผันของกลีเซอรอลและค่าผลได้ของเมทานอล เท่ากับ 21.2 และ 94.4 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และเมื่อนำตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ไปทดสอบประสิทธิภาพของการผลิตเมทานอลจาก กลีเซอรอลดิบ พบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์ให้ค่าผลได้ของเมทานอลใกล้เคียงกับกรณีของการใช้กลีเซอรอลบริสุทธิ์ (15 - 18 เปอร์เซ็นต์) รวมทั้งมีเสถียรภาพ (stability) มากกว่า 24 ชั่วโมง ทั้งในกรณีที่ใช้กลีเซอรอลดิบและกลีเซอรอลบริสุทธิ์เป็นสารตั้งต้นสำหรับใช้ในการสังเคราะห์เมทานอล.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300