การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสำหรับผู้สูงอายุ= Research and developement on eldery dietary supplement for the prevention of coronary heart disease/ Tanwarat Kajsongkram [et al.]

โดย: Tanwarat Kajsongkram
ผู้แต่งร่วม: Tanwarat Kajsongkram | Sitthipong Soradech | Krittiya Trisayakorn | Rattanasiri Giwanon | Saowalux Rochanaumporn | Sirinan Thubthimthed | ธัญวรัตน์ กาจสงคราม | สิทธิพงศ์ สรเดช | กฤติยา ทิสยากร | รัตนศิริ จิวานนท์ | เสาวลักษณ์ โรจน์อำพร | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ
BCG: สารสกัด TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 58-08, Sub Proj. no. 5; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 77 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.58-08 โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากสมุนไพรเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนหัวเรื่อง: แอนโทไซยานิน | โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | สารอนุมูลอิสระสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The objective of this study is to research and development on standardized herbal extract production for the prevention of coronary heart disease and this extract is developed from anthocyanin-rich native plants. The Research and development began with selection of potential plants by quatitative analysis of total anthocyanin (TAC) by pH-differential method, total phenolics (TP) by Folin-ciocalteu method and antioxidant activities (DPPH method). The studies of total 10 fresh fruits indicated that Syzyguin cumini (Java plum) and Morus alba (Mulberry) had high content of total anthocyanin, total phenolics and high antioxidant activities. After that the 2 fresh fruits were dried by using freeze dryer and then studied for the inhibition of inflammatory cytokine (TNF-). The results showed that Syzyguin cumini (Java plum), Morus alba (Mulberry) possessed antiinflamatory activities with the inhibitory activity at the IC50 6.98 and 4.59 µg/มิลลิลิตร respectively. TNF- was the cytokine that play an important role in CHD and the inhibition of TNF- reduced the risk of CHD. The investigation of the effect of ethanol concentration on TAC, TPC and free radical scavenging of Java plum and mulberry fruits. The ethanol concentration had been used as 90%, 70%, 50%, 30% and 0%v/v ethanol. The best results were obtained at extraction with 70% v/v ethanol. With above mentioned properties of the extracts, they were tested on arteriosclerosis induced by high fat and sugar diet in C57BL/6 mice. This in vivo study divided animals into 6 groups: 1) Control: received normal diet and distilled water, 2) High fat and sugar diet (HF): fed with high fat and sugar diet and received distilled water, 3) and 4): fed with high fat and sugar diet and received java plum at 100 and 300 mg/kg, respectively, 5) and 6): fed with high fat and sugar diet and received mulberry extract at 100 and 300 mg/kg, respectively. Treatment lasted for 2 months, while daily food intake and body weight were measured. At 2 months, mice were terminated and blood and aorta were collected for lipid profile and vasorelaxation determination as well as for histological study. Our results showed that mulberry extract tended to reduce the risk of CHD. The administration of mulberry extract, in particular 100 mg/kg, significantly increased HDL compared to HF group and tended to reduce LDL and AI (Atherogenic index). No dose dependent response was observed for mulberry extract, since the lower dose (100 mg/kg) was more effective than the higher dose (300 mg/kg). In addition, mulberry extract at 100 mg/kg clearly restored the vasorelaxation and vessel wall thickness of aorta to normal. An important point needed to be raised in the present study is a tendency of increase in weight gain of animals treated with the high anthocyanin extract. The higher the dose of ATCN, the higher the weight gain, in spite of the reduction of food intake. Thus, this deserves further investigations. The mulberry extract was developed to microcapsule using a microencapsulation technique to enhance stability. The encapsulating agents used were the mixture of maltose dextrin and gum arabic. The encapsulating agents could be encapsulated the extract in the range of 90-100%. The stability testing should be studied further to determine the stability of microcapsulesสาระสังเขป: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิจัยและพัฒนาสารสกัดปรับมาตรฐานจากพืชที่มีรงควัตถุชนิด แอนโทไซยานินจากผัก ผลไม้ในประเทศ โดยสารสกัดที่ได้มีสรรพคุณป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ งานวิจัยและพัฒนาเริ่มจากการคัดเลือกสมุนไพรที่มีศักยภาพจากพืช ผัก ผลไม้สด ทั้งหมด 10 ชนิด โดยการวิเคราะห์หาปริมาณแอนโทไซยานิน วิธี PH-differential (TAC) การหาปริมาณรวมสารประกอบฟีนอลิกวิธี Folin-ciocalteu (TP) และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH (2,2-Diphenyl-l-picryhydrazyl) radical scavenging activity พบว่า ผลลูกหว้า ผลหม่อน มีค่าปริมาณแอนโทไซยานิน ปริมาณรวมสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ต่อจากนั้นนำพืชเหล่านี้มาทำแห้งโดยวิธี ฟรีซดราย และนำไปศึกษาพยาธิสภาพในระบบโรคหัวใจ (Coronary Heart Disease) ในหลอดทดลอง พบว่าสารทดสอบผลลูกหว้า ผลหม่อน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สามารถต้านสารสื่ออักเสบ TNF- ได้โดยมีค่า IC50 คิดเป็น 6.98 และ 4.59 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ซึ่ง TNF- เป็นสารสื่ออักเสบที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค CHD และการยับยั้งการสร้างและ/หรือหลั่ง TNF- ช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิด CHD ในการเตรียมสารสกัดจากลูกหว้าและหม่อนเพื่อส่งทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการทำ เอ็นแคปซูเลชัน ได้ทดลองหาสัดส่วนของเอทานอลและน้ำในการสกัดลูกหว้าและหม่อน โดยทดลองที่ความเข้มข้นร้อยละ 0, 30, 50, 70, 90 โดยปริมาตร/ปริมาตร จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ในแต่ละอัตราส่วนมาวิเคราะห์ TAC, TP และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมคือร้อยละ 70 โดยปริมาตร/ปริมาตร โดยค่าปริมาณ TAC, TP และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้นเอทานอลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 โดยปริมาตร/ปริมาตร แต่ที่ความเข้มข้นเอทานอลร้อยละ 90 ค่าเหล่านี้จะลดลง จากคุณสมบัติดังกล่าวลูกหว้าและหม่อนจึงนำมาศึกษาผลของสารสกัดลูกหว้าและหม่อน ซึ่งมี แอนโทไซยานิน สูงต่อการป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis) ในหนูที่ได้รับอาหารไขมันและน้ำตาลสูง วิธีการที่ใช้เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (หนู C57BL/6) โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1) กลุ่มควบคุมได้รับอาหารปกติและได้รับการป้อนน้ำกลั่น กลุ่ม 2) High fat and sugar diet (กลุ่ม HF) ถูกชักนำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งโดยให้อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงและได้รับการป้อนน้ำกลั่น กลุ่ม 3) และกลุ่ม 4) ถูกชักนำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและได้รับการป้อนสารสกัด หม่อน ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว หรือ 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว กลุ่ม 5) และกลุ่ม 6) ถูกชักนำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและได้รับการป้อนสารสกัด ลูกหว้า ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว หรือ 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว สัตว์ทดลองได้รับอาหารและสารข้างต้นติดต่อกันนาน 2 เดือน ปริมาณอาหารที่กินและน้ำหนักถูกวัดทุกวัน เมื่อครบ 2 เดือน สัตว์ทดลองถูกทำให้เสียชีวิตอย่างสงบ เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับไขมันในเลือด และตัวอย่างหลอดเลือดเอออตาเพื่อศึกษาการคลายตัวของหลอดเลือดและลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์ จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดหม่อน ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีแนวโน้มลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากส่งผลเพิ่มระดับไขมันดีคือ HDL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งส่งผลให้ค่า LDL และ AI ลดลง นอกจากนี้สารสกัดหม่อน ยังมีผลช่วยป้องกันการเกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือดโดยมีผลลดความหนาของผนังหลอดเลือด aorta และลดขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดที่เป็นผลมาจากภาวะไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อนำสารสกัดหม่อนมาทำเอนแคปซูเลชันเพื่อเพิ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 1, 3, 5 โดยน้ำหนัก/น้ำหนัก โดยมีสารห่อหุ้มคือ สาระสังเขป: สารผสมมอลโตเด็กซ์ตรินและกัมอาราบิก (Maltodextrin and Gum arabic) ในอัตราส่วน 3 : 2 โดยนํ้าหนัก เมื่อนำแคปซูลทั้งหมดมาทดสอบคุณสมบัติทางเคมี คือค่าร้อยละในการเอนแคปซูเลท (EY) และประสิทธิภาพการทำไมโครแคปซูลผง (EE) พบว่าความเข้มข้นสารหม่อนที่ร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก/น้ำหนัก มีค่า EY และ EE มากกว่าร้อยละ 90 แสดงว่าแคปซูลที่พัฒนาขึ้นมาสามารถกักเก็บสารได้มาก และมีการสูญเสียสารสกัดสารแอนโทไซยานินในกระบวนการเอนแคปซูเลชันน้อยมาก และในการศึกษาขั้นต่อไปควรมีการทดสอบความคงสภาพเพื่อกำหนดอายุของแคปซูลสารสกัดหม่อน
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300