การวิจัยและพัฒนาแบบจำลองลำไส้ใหญ่เพื่อใช้ทดสอบสารที่มีศักยภาพในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่= Research and deveropment of in vitro gut model for evaluation of potential substances for risk reduction of colon cancer/ Premsuda Saman [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Premsuda Saman
ผู้แต่งร่วม: Premsuda Saman | Achara Chaiongkarn | Somporn Moonmangmee | Lawan Chatanon | Bundit Fungsin | เปรมสุดา สมาน | อัจฉรา ไชยองค์การ | สมพร มูลมั่งมี | ลาวัลย์ ชตานนท์ | บัณฑิต ฝั่งสินธุ์
BCG: จุลินทรีย์ TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-05, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 68 p. : ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.57-05 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หัวเรื่อง: แบบจำลองลำไส้ใหญ่ | จุลินทรีย์สาระสังเขป: Eleven effective probiotic bacteria were isolated from infant feces. These bacteria were identified by biochemical properties and 16s rDNA sequenceing analysis as Lactobacillus fermentum and Enterococcus faecalis. Both selected bacteria were used as beneficial probiotic bacteria for monitoring prebiotic property of potential plant and mushroom. Many edible plants were investigated the content of oligosaccharides by using thin layer chromatography technique. Results showed that plants which containing high content of oligosaccharides and polysacchardies were onion, banana, black gelly mushroom, soy bean, mung bean, red bean, black bean, garlic, Jerusalem artichoke, pomegranate, white dragon fruit, red dragon fruit, pea eggplant, great morinda, rumbutan , sweet tamarind, mangosteen, shallot, lychee, orange, chinese kale, asparagus, Kiwi, bergamot, salak, and red grape. These selected samples were prepared for measuring prebiotic activity (PA). Two selected strains, Lactobacillus fermentum and Enterococcus faecalis were used in this study. Results showed that plants which having high PA value were white dragon fruit, Jerusalem artichoke, mangosteen, great morinda and red grape. These selected samples which could enhance growths of probiotics were measured for prebiotic index (PI). Fluorescent in situ hybridization technique (FISH) was used to enumerate specific bacteria including Bifidobacterium spp., Clostridium spp., Bacteroides spp., Clostridium coccoides, Eubacterium rectale, Atopobium spp., Lactobacillus spp. and Enterococcus spp. in the fecal culture fermentation. Results showed that great morinda has the highest PI amongst all samples tested followed by Jerusalem artichoke, white dragon fruit and red grape. These fruit could stimulate the growths of bifidobacteria and lactobacilli and could suppress the growth of Atopobium spp., Clostidium histolyticum and Bacteroides spp. in human gut model. High concentations of short-chain fatty acid were found in the cultures of great morinda and Jerusalem artichoke. Pentanoic were not detected in all cultures. Thus, great morinda, Jerusalem artichoke and white dragon fruit might be considered as effective prebiotic sources to prevent colon cancer. สาระสังเขป: จากการแยกเชื้อจุลินทรีย์จากอุจจาระเด็ก สามารถแยกเชื้อที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติกที่ดีได้ 11 ไอโซเลท เมื่อนำแบคทีเรียเหล่านี้ไปจัดจำแนกสายพันธุ์โดยตรวจสอบปฎิกริยาทางชีวเคมี และใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุล พบว่าเป็นสายพันธุ์ Lactobacillus fermentum และ Enterococcus faecalis จึงเลือกใช้แบคทีเรียทั้งสองชนิดนี้เป็นจุลินทรีในการหาค่ากิจกรรมพรีไบโอติกของสารต่างๆ ที่ได้จากพืช และเห็ด โดยได้ตรวจสอบหาโอลิโกแซ็กคาไรด์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีในพืชหลายชนิด พบว่า พืชและผลไม้ที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ หรือโอลิโกแซ็กคาไรด์มาก ได้แก่ หอมหัวใหญ่ กล้วยน้ำว้าสุก เห็ดหูหนูดำ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ กระเทียม แก่นตะวัน ทับทิม แก้วมังกรขาว แก้วมังกรแดง มะเขือพวง ลูกยอ เงาะ มะขามหวาน มังคุด หอมแดง ลิ้นจี่ ส้ม กวางตุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง กีวี มะกรูด สละ และองุ่นแดง เมื่อนำสารจากพืชเหล่านี้ไปตรวจสอบเพื่อหาค่ากิจกรรมพรีไบโอติก ผลการทดสอบพบว่าพืชที่ให้ค่ากิจกรรมพรีไบโอติกสูง ได้แก่ แก้วมังกรขาว แก่นตะวัน มังคุด ลูกยอ และองุ่นแดง ดังนั้น จึงได้คัดเลือกพืชเหล่านี้ไปทดสอบในระบบแบบจำลองลำไส้ใหญ่ โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และเชื้อที่ก่อโรค ได้แก่ Bifidobacterium spp., Clostridium spp., Bacteroides spp., Clostridium coccoides, Eubacterium rectale, Atopobium spp., Lactobacillus spp. และ Enterococcus spp. นอกจากนี้ได้วิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันสายสั้นที่เกิดในระบบแบบจำลองลำไส้ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากแก้วมังกรขาว แก่นตะวัน ลูกยอ และองุ่นแดง สามารถกระตุ้นการเจริญของเชื้อที่มีประโยชน์ได้ดี และไม่ส่งเสริมการเจริญของเชื้อก่อโรคทั้งสามชนิดจึงทำให้มีค่าดัชนีพรีไบโอติกเป็นบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อลูกยอให้ดัชนีพรีไบโอติกได้ดีใกล้เคียงกับ Raftilose P95 เมื่อวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันสายสั้นที่เกิดขึ้น พบว่าในกระบวนการหมักของแก้วมังกร แก่นตะวัน และลูกยอ จะมีการผลิตกรดแอซีติก และกรดโพรพิออนิกมาก ส่วนบิวทิริกจะเกิดขึ้นปริมาณน้อย และไม่มีการสร้างเพนทาโนอิก ส่วนในการหมักขององุ่นแดงและมังคุด จะผลิตปริมาณกรดไขมันที่ดีทั้งสามชนิดน้อยกว่า แต่ไม่มีการสร้างเพนทาโนอิก เช่นเดียวกัน ดังนั้นสารสกัดจากลูกยอ แก้วมังกร และแก่นตะวันจึงเป็นสารที่มีศักยภาพในการช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300