การวิจัยและพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งในบ่อดิน= Research and Development of Suitable model for Shrimp culture/ Suriya Sassanarakit [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Suriya Sassanarakit
ผู้แต่งร่วม: Suriya Sassanarakit | Ratana Koschakosai | Preecha Rungkvae | Prasit Bumlungsuk | Surachet Patomwongchawan | Sirisuk Sukpasert | Worakarn Yodchompoo | Napatsawan soontorn | Kannikar Phuangpheng | Anurak Somsai | Boonpa Parpasiri | Somjid Soontornvipak | สุริยา สาสนรักกิจ | รัตนา คชโกศัย | ปรีชา รุ่งแกร | ประสิทธิ์ บำรุงสุข | สุรเชษฐ์ ปฐมวงศ์ชวาล | สิริสุข สุขประเสริฐ | วรกานต์ ยอดชมภู | นภัสวรรณ สุนทร | กรรณิการ์ พ่วงเพ็ง | อนุรักษ์ สมสาย | บุญพา ประภาศิริ | สมจิตร์ สุนทรวิภาค
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 48-04, Sub Proj. no. 7 ; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 83 p.: ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.48-04 การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเลี้ยงกุ้งที่เหมาะสมในบ่อดินหัวเรื่อง: การเลี้ยงกุ้งสาระสังเขป: Studying a technique that is appropriate for black tiger shrimp farming will help solve problems of shrimp farmers who have practiced shrimp farming with high density which may easily cause disease outbreak and creates a high risk of facing the fall of shrimp prices. This study was conducted at a lab scale at the Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR), located in Klongluang district, Pathumthanee province, and at a field trial at Dumrong Farm, situated in Taepa district of Songkla province. In pursuing this study, four sub-experiments were designed to study 1.) the ratio of stocking density at different levels to the growth of shrimp; 2.) the proper management of organic matters in a shrimp pond; 3.) the results of jointly managing organic matters and organic fertilizer and the ratio of stocking density to the growth of shrimp and 4.) the appropriate farming practice at a field trail. The results of these four experiments were presented below: 1st Experiment: The ratio of stocking density at different levels to the growth of shrimp The stocking density of P15 was set at 40,000, 80,000 and 120,000 and the crop duration was 30 days. The experimental result showed that stocking density of P15 at 40,000 post larvae/rai yielded in average a better growth and a heavier weight/shrimp than those at 80,000 and 120,000. 2nd Experiment: The proper management of organic matters in a shrimp pond Five methods, which were 1.) no plowing and detaining water in a pond at the height of 30 cc. for three weeks; 2.) plow three times; 3.) plow three times and add organic fertilizer 25 kg/rai; 4.) plow three times and add organic fertilizer 50 kg/rai; and 5.) plow three times and add organic fertilizer 100 kg/rai, were employed in the experiment with the stocking density of P15 at 80,000 post larvae/rai and the crop duration of 30 days without giving feed. The result revealed that shrimp farming by means of detaining water without taking sludge out of a pond promoted shrimp growth better than plowing only. It was also found that the growth rate of shrimp depends on the volume of organic fertilizer. The more organic fertilizer is put in a pond the faster shrimp grows. 3rd Experiment: The results of managing organic matters by means of detaining water and using organic fertilizer and stocking densityTwelve experimental designs were employed in the experiment. They were as follows: experimental designs 1-3: application of organic fertilizer and stocking densities of 40,000, 80,000, and 160,000 post larvae/rai; experimental designs 4-5: application of chemical-organic fertilizer formula 4-4-2 and stocking densities of 40,000, 80,000, 160,000 post larvae/rai; experimental designs 6-9 : application of chemical-organic fertilizer formula 8-4-2 and stocking densities of 40,000, 80,000, and 160,000 post larvae/rai; and experimental designs 10-12: application of chemical-organic fertilizer formula 12-4-2 and stocking densities of 40,000, 80,000, and 160,000 post larvae/rai. As a result of the experiment, it was found that for the case of no application of organic fertilizer and high stocking density, the total weight of shrimp/crop was more than that of low stocking density, but the average harvest size of high stocking density was smaller than that of low stocking density. It was also found that the application of chemical-organic fertilizer formula 8-4-2 together with stocking density of 80,000 post larvae/rai gave the highest total yield and the average harvest size was close to that of the experimental design that the stocking density of 40,000 post larvae/rai. 4th Experiment: The appropriate farming practice at a field trail The field trail was conducted at Dumrong Farm in Taepa district, Songkla province. In doing the field trail, there were four control ponds using conventional/ farmer farming method and four experimental ponds using TISTR farming method. The experimental results indicated that the average productivity increased 14.87% by using TISTR farming method. From this experiment, it could be concluded that black tiger shrimp farming could be done by detaining water in a pond, having sludge stayed at the pond bottom, and applying chemical-organic fertilizer 100 kg/rai. Release water into a pond until reaching 30 cc. height and let it stand for 30 days. Then release black tiger shrimp fries without feeding them for one month สาระสังเขป: การศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่เหมาะสมเพื่อช่วยแก้ปัญหา การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรที่นิยมการเลี้ยงกุ้งในอัตราหนาแน่น ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงจากราคากุ้งตกต่ำและการเกิดโรคระบาด การทดลองนี้ได้ดำเนินการทดลองในระดับเรือนทดลอง ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และในระดับภาคสนาม ณ ดำรงฟาร์ม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา แบ่งการทดลองออกเป็น 4 การทดลอง ดังนี้ คือ 1. การศึกษาอัตราการปล่อยกุ้งที่ความหนาแน่นต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง 2. การศึกษาวิธีการจัดการสารอินทรีย์ที่เหมาะสมในบ่อกุ้ง 3. การศึกษาผลการจัดการสารอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และอัตราความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง 4. การศึกษาวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมในระดับภาคสนาม ผลการทดลอง มีดังนี้ คือ การทดลองที่ 1. การศึกษาอัตราการปล่อยกุ้งที่ความหนาแน่นต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง โดยการปล่อยกุ้ง P15 ในอัตรา 40,000, 80,000 และ 160,000 ระยะเวลาการเลี้ยง 30 วัน ผลการทดลองพบว่าการปล่อยกุ้ง P15 ในอัตรา 40,000 ตัว/ไร่ กุ้งมีการเจริญเติบโตดีและมีน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวสูงกว่าการปล่อยกุ้งในอัตรา 80,000 ตัว/ไร่ และ 160,000 ตัว/ไร่ การทดลองที่ 2. การศึกษาวิธีการจัดการสารอินทรีย์ที่เหมาะสมในบ่อกุ้งโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กรรมวิธี คือ 1. ไม่มีการไถพรวน ทำการขังน้ำสูง 30 เซนติเมตร เป็นเวลา 3 สัปดาห์ 2. ไถพรวน 3 ครั้ง 3. ไถพรวน 3 ครั้ง แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ 4. ไถพรวน 3 ครั้ง แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ 5. ไถพรวน 3 ครั้ง แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ปล่อยกุ้ง P15 จำนวน 80,000 ตัว/ไร่ ทำการเลี้ยงกุ้งเป็นเวลา 30 วัน โดยไม่ต้องให้อาหารเลย ผลการทดลองพบว่า วิธีการเลี้ยงกุ้งโดยใช้วิธีการขังน้ำโดยไม่ต้องกำจัดเลน ส่งผลให้กุ้งมีการเจริญเติบโตดีกว่าการไถพรวนเพียงอย่างเดียวและพบว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้นจาก 25 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 100 กิโลกรัม/ไร่ กุ้งมีการเจริญเติบโตดีขึ้นตามปริมาณ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น การทดลองที่ 3. การศึกษาผลของการจัดการสารอินทรีย์โดยวิธีการขังน้ำร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และความหนาแน่นของกุ้ง ทำการทดลองโดยแบ่งออกเป็น 12 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1-3 ไม่มีการใส่ปุ๋ย ปล่อยกุ้งในอัตรา 40,000, 80,000 และ 160,000 ตัว/ไร่ กรรมวิธีที่ 4-6 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 4-4-2 ปล่อยกุ้งในอัตรา 40,000, 80,000 และ 160,000 ตัว/ไร่ กรรมวิธีที่ 7-9 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 8-4-2 ปล่อยกุ้งในอัตรา 40,000, 80,000 และ 160,000 ตัว/ไร่ และกรรมวิธีที่ 10-12 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 12-4-2 ปล่อยกุ้งในอัตรา 40,000, 80,000 และ 160,000 ตัว/ไร่. ผลการทดลองพบว่า กรณีที่ไม่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย การปล่อยกุ้งกุลาดำในอัตราหนาแน่นสูง ทำให้น้ำหนักรวมของกุ้งมีน้ำหนักสูงกว่าการปล่อยกุ้งในอัตราหนาแน่นต่ำ แต่จะมีน้ำหนักกุ้งเฉลี่ยต่อตัวต่ำกว่าการปล่อยกุ้งอัตราหนาแน่นต่ำและพบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 8-4-2 ปล่อยกุ้งอัตรา 80,000 ตัว/ไร่ ให้น้ำหนักรวมสูงสุดและมีน้ำหนักกุ้งเฉลี่ยต่อตัวใกล้เคียงกับกรรมวิธีที่ปล่อยกุ้งอัตรา 40,000 ตัว/ไร่ การทดลองที่ 4 การทดลองวิธีการเลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งในระดับภาคสนามทำการทดลองที่ดำรงฟาร์ม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา การทดลองประกอบด้วยบ่อเปรียบเทียบจำนวน 4 คู่ แต่ละคู่จะมี 2 กรรมวิธี คือ 1.วิธีการเลี้ยงของฟาร์ม 2.วิธีการเลี้ยงแบบ วว. ผลการทดลองพบว่าวิธีการเลี้ยงแบบ วว. สาระสังเขป: ส่งเสริมให้การเลี้ยงกุ้งมีผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 14.87 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากการทดลองในครั้งนี้ สรุปได้ว่าการเลี้ยงกุ้งกุลาดำสามารถดำเนินการได้ โดยใช้วิธีการขังน้ำ ไม่ต้องกำจัดเลนและใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ทำการขังน้ำสูง 30 เซนติเมตร เป็นเวลา 30 วัน แล้วจึงปล่อยลูกกุ้งกุลาดำโดยไม่ต้องให้อาหารลูกกุ้งเป็นเวลา 1 เดือน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300