การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากฉนวนเส้นใยวัสดุเหลือทิ้งในรูปวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงาน= Utilization on Agriculture waste fiber insulation as energy conservation construction/ Wirachai Soontornrangson [et al.]

โดย: Wirachai Soontornrangson
ผู้แต่งร่วม: Wirachai Soontornrangson | Rommanee Wangdeetham | Chansa Jirasuwan | Sattha Vattham | Panida Thepkhun | วีรชัย สุนทรรังสรรค์ | รมณีย์ หวังดีธรรม | ชันษา จิรสุวรรณ | ศรัทธา วัฒนธรรม | พนิดา เทพขุน
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 49-10, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2023 รายละเอียดตัวเล่ม: 43 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.49-10 พัฒนาการใช้ประโยชน์จากฉนวนเส้นใยวัสดุเหลือทิ้งในรูปวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานหัวเรื่อง: เส้นใยวัสดุสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The low thermal conductivity property of composite construction material as well as its less compressive strength is well recognized when compared to the similar conventional construction material. Accordingly, there is an idea of utilizing waste fibrous biomass as raw material for the production of bio insulator as the replacement of the non-load baring ceiling and insulation layer in the EIFS (Exterior Insulation Finish Systems). The bio insulators produced from fiber of vetiver, rice straw and waste wood pulp, i.e., recovered from the pulp and paper's wastewater treatment plant, have 77, 72 and 54 percent lower thermal conductivity than that of a gypsum board respectively. The average thermal conductivity of EIFS with various type of bio insulation layer is 84 and 75 percent lower thermal conductivity than brick and cement block masonries coated with mortar respectively. The establishment of the commercial scale production of bio insulator as the replacement of the non-load baring ceiling and insulation layer of the EIFS would provide considerable impact to both the economic and social sectors of the countryสาระสังเขป: วัสดุก่อสร้างที่ใช้วัสดุชีวมวลประเภทเส้นใยเป็นส่วนผสมในการผลิตแม้จะมีข้อดีที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำกว่าวัสดุก่อสร้างประเภทเดียวกันที่ผลิตจากวัสดุดั้งเดิม แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องความแข็งแรง หรือความสามารถในการรับน้ำหนักต่ำ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดในการนำวัสดุชีวมวลประเภทเส้นใยไปผลิตเป็นแผ่นฉนวนซึ่งสามารถนำไปใช้แทนแผ่นฝ้าซึ่งจัดเป็นวัสดุก่อสร้างประเภทที่ไม่ต้องการคุณสมบัติในการรับน้ำหนัก หรือใช้เป็นส่วนประกอบของผนังสำเร็จรูปซึ่งมีโครงไม้หรือโลหะทำหน้าที่รับน้ำหนัก. แผ่นฉนวนที่ผลิตโดยใช้เส้นใยหญ้าแฝก ฟางข้าว และเศษเยื่อกระดาษมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำกว่าแผ่นยิปซัมซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมทำแผ่นฝ้าร้อยละ 77, 72 และ 54 ตามลำดับ ผนังสำเร็จรูปดัดแปลงที่ใช้แผ่นฉนวนชีวมวลเป็นฉนวนอยู่ภายในมีค่าเฉลี่ยของสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำกว่าผนังคอนกรีตฉาบปูน (2 ด้าน) ที่ก่อด้วยอิฐมอญและอิฐบล็อก ร้อยละ 84 และ 75 ตามลำดับ. การพัฒนากระบวนการผลิตแผ่นฉนวน และผนังสำเร็จรูปที่ใช้วัสดุชีวมวลประเภทเส้นใยเหลือทิ้งเป็นวัตถุดิบจนถึงระดับที่สามารถผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้รับการคาดหมายว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการเพิ่มเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300