การพัฒนากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงทดแทนจากกลีเซอรอลและเศษวัสดุปาล์มด้วยกระบวนการไพโรไลซิสร่วม= Co-pyrolysis of Biodiesel-Derived Glycerol with Palm Oil Industry Residues Yoothana Thanmongkhon [et al.]

โดย: Yoothana Thanmongkhon
ผู้แต่งร่วม: Yoothana Thanmongkhon | Teerawit Laosombat | Lalita Attanatho | Amornrat Suemanotham | Panida Thepkhun | Warunyoo Phondet | Manoo Bunsae | ยุทธนา ฐานมงคล | ธีรวิทย์ เหล่าสมบัติ | ลลิตา อัตนโถ | อมรรัตน์ สื่อมโนธรรม | พนิดา เทพขุน | วรัญญู พลเดช | มะนู บุญแสร์
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 59-26, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2022 รายละเอียดตัวเล่ม: 98 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.59-26 การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลหัวเรื่อง: กลีเซอรอล เศษวัสดุปาล์ม กระบวนการไพโรไลซิสร่วมสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The production of bio-oil via co-pyrolysis process was carried out in this research. Palm oil residues, i.e., empty fruit bunch, fiber, kernel shell and waste decanter, from palm oil mills were co-pyrolyzed with crude glycerol which obtained from biodiesel industries. The percentages of glycerol mixed with palm residues were 10, 20 and 30 wt.%, respectively. The study was investigated using the Pyro-GC/MS for plausibility of co-pyrolysis at different temperature. The proper condition and effect of feedstock reported from Pyro-GC/MS was further extended to the apparatus in laboratory scale for bio-oil production. At 500oC, the experimental result showed maximum yield of 28, 30 and 34 wt.% bio-oil at glycerol ratio of 10, 20 and 30 wt.%, respectively, via the demonstration unit. The by-product derived from the process was yielded at 24, 22 and 20 wt.% bio-char, respectively. The average LHV of bio-oil, however, produced from this mixed feedstock using the fluidized bed pyrolyzer was approximately 28 MJ/kg which could be potentially blended with fuel oil and utilized for industrial heat and power generation purposesสาระสังเขป: งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพหรือไบโอออยล์ จากกระบวนการไพโรไลซิสแบบเร็ว (Fast pyrolysis) ของเศษวัสดุปาล์ม ได้แก่ ทะลายปาล์มเปล่า เส้นใยปาล์ม กะลาปาล์ม และกากสลัดจ์ ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานหีบน้ำมันปาล์มผสมกับกลีเซอรอลดิบที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลที่สัดส่วนการผสมร้อยละ 10 20 และ 30 โดยน้ำหนักของวัตถุดิบรวม โดยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในระดับห้องปฏิบัติการด้วยเครื่อง Pyro-GC/MS เพื่อดูผลเบื้องต้นของการไพโรไลซิสแบบเร็วของวัตถุดิบร่วมที่อุณหภูมิต่างๆ โดยพิจารณาถึงปัจจัยและสภาวะที่มีความเหมาะสมในการทดลองผลิตไบโอออยล์ ด้วยเครื่องปฏิกรณ์ไพโรไลซิสแบบฟลูอิ-ไดซ์เบดในระดับห้องปฏิบัติการต่อไป จากผลการทดลองที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ด้วยเครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าว พบว่า การไพโรไลซิสแบบเร็วของทะลายปาล์มเปล่าร่วมกับกลีเซอรอลดิบที่สัดส่วนการผสมร้อยละ 10 20 และ 30 โดยน้ำหนัก มีผลได้ของไบโอออยล์ร้อยละ 28 30 และ 34 โดยน้ำหนัก และผลได้ของถ่านชาร์ประมาณร้อยละ 24 22 และ 20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบผสมมีสัดส่วนของลิกโนเซลลูโลสน้อยลง อย่างไรก็ตาม น้ำมันชีวภาพหรือไบโอออยล์ที่ผลิตได้มีคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงที่ดีกว่าวัตถุดิบตั้งต้น โดยมีค่าความร้อนเฉลี่ยประมาณ 28 เมกะจูลต่อกิโลกรัม และมีศักยภาพที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเตา สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อนในอุตสาหกรรมได้.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300