การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวลำไยสดเพื่อการส่งออกทดแทนการใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ = Research and development on postharvest alternatives technology for sulfur dioxide fumigation of fresh longan fruit export / Chitta Sartpetch [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Chitta Sartpetch
ผู้แต่งร่วม: Chitta Sartpetch | Anawat Suwanagul | Mayura Lanchai | Kanungnid Busarakum | Konkanok Phetsri | จิตตา สาตร์เพ็ชร์ | มยุรา ล้านไชย | คนึงนิจ บุศราคำ | กรกนก เพชรศรี
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 58-07, Sub Proj. no. 5; Rep. no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2022 รายละเอียดตัวเล่ม: 70 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.58-07 การพัฒนากระบวนการเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยว และการแปรรูปลำไย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมสารตกค้างให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออกหัวเรื่อง: ลำไยสด | การส่งออก | สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์สาระสังเขป: Longan is one of major economic fruits in Thailand and continuously contributed to the value of Thai export product every year. However, like a single fruit, longan fruit also easily lose its quality after harvest caused by microorganisms and physiological changing, browning which make it unacceptable to consumers. To this end, the objective of this project was to apply other safer chemicals that can replace sulfur-dioxide (SO2) in postharvest treatment. The positive control was a treatment that fumigates longan fruit with SO2.สาระสังเขป: ลำไยจัดอยู่ในเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากมูลค่าการส่งออกที่สูงขึ้นตลอดทุกปี อย่างไรก็ตาม การเสื่อมสภาพของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวจากเชื้อจุลินทรีย์ และการเกิดสีน้ำตาลบนเปลือกผล ส่งผลให้อายุการเก็บรักษาที่สั้นและไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงเป็นเหตุให้เกิดการวิจัยและพัฒนาโครงการนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ผลลำไยสดในการส่งออก โดยการทดแทนการใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของการใช้คลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) ทั้งสถานะของเหลวและของแข็งเพื่อแทนที่สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในสภาวะของเหลวเตรียมสารละลาย ClO2 เข้มข้น 0, 62.5, 125, 250, 500 และ 1,000 พีพีเอ็ม และในสภาวะของก๊าซเตรียมให้มีความเข้มข้น 0, 5, 10, 20 และ 40 พีพีเอ็ม เมื่อจุ่มและรมลำไย 30 นาที ตามลำดับ โดยผลลำไยหลังจากผ่านตำรับ (treatment) การทดลองต่างๆ แล้ว นำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90±5 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลอง พบว่าผลลำไยที่จุ่มสารละลายที่ความเข้มข้น 500 พีพีเอ็ม และ รมก๊าซ ClO2 ที่ความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม สามารถเก็บรักษาได้ 10 และ 15 วัน ตามลำดับ มีคะแนนการเกิดสีน้ำตาลบนเปลือกผล การสูญเสียน้ำหนัก น้อยกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับค่าการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก (L* และ b*) และคะแนนการยอมรับของผู้บริโภค ในขณะที่การใช้ ClO2 ทั้งสองรูปแบบไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ การรมก๊าซ ClO2 ที่ความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม สามารถลดการเกิดสีน้ำตาลบนเปลือกผลได้ดีที่สุด จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า การใช้ ClO2 ในรูปของก๊าซมีประสิทธิภาพในการยืดอายุการเก็บรักษาของผลลำไยได้ดีกว่าการใช้ ClO2 ในรูปของสารละลาย.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300