การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ในการบำบัดสิ่งปฏิกูลจากการเลี้ยงสุกร = Research and development of effective microorganism utilization for waste treatment from swine farming / Siritham Singhtho [et al.]

โดย: Siritham Singhtho
ผู้แต่งร่วม: Siritham Singhtho | Rachain Visutthipat | Sayam Sinsawad | Phathan Photisawat | ศิริธรรม สิงห์โต | ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์ | สยาม สินสวัสดิ์ | ประธาน โพธิสวัสดิ์
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 49-01, Sub Proj. no. 4; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 83 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.49-03 การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ในการบำบัดสิ่งปฏิกูลจากการเลี้ยงสุกร โครงการย่อยที่4 การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ในการบำบัดสิ่งปฏิกูลจากการเลี้ยงสุกร รายงานฉบับที่ 1 (ฉบับสมบูรณ์) การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ในการบำบัดสิ่งปฏิกูลจากการเลี้ยงสุกรสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The objective of this project was research and development of effective microorganism utilization for odor treatment form swine waste in order to use in swine farming at small and medium enterprises. Forty eight swine waste samples were collected from 26 districts - 16 provinces, which were screen for pure cultures that had 62 isolates. After that, survival, growth rate and volatile organic compound degradation were tested in order to select effective microorganism for production of liquid microorganism product that had satisfaction test for swine farmers, finally. Pure cultures 62 isolates and 4 strains from TISTR (TISTR 360, 884, 461 and 038) were tested microbial survival in 400 mg/l -acetic acid and 200 mg/l - phenol conditions that 15 isolates of bacteria could survive. For growth rate, 6 bacteria isolates had growth rate more than 4.82 times of 0 hour culture. Moreover, two bacteria isolates that were S8 and M10 isolate codes could decrease acetic acid and phenol to 4.10 % (acetic - S8, M10) and 1.28 % (phenol - M10) that both isolates were develop production process of liquid microorganism by using molasses. M10 isolate code had highest growth rate at 1.96 times of 0 hour culture, 200 g/l of molasses thus, these isolate code and concentration were used for liquid microorganism production by using 1 kg - molasses, 5 liters - distilled water and 10 % concentration of 0.5 liters - M10 isolate code. Liquid microorganism product was expanded by using molasses and M10 isolate code at 20 % and 10 %, respectively at 24 hours. After that, this product was 2 diluted with tap water at 1 : 10 ratio by volume in order to use for satisfaction test for swine farmers at small and medium enterprises. The average of swine farmer satisfaction was 4.75 at 24th hour. This liquid microorganism product can use instead of chemical product that has high price and harmful for swine farmer furthermore, this product can use for organic swine farm, appropriately. สาระสังเขป: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพี่อทำการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพในการบำบัดกลิ่นที่เกิดจากสิ่งปฏิกูลในฟาร์มสุกร เพื่อนำไปใช้ในฟาร์มสุกรระดับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยการเก็บตัวอย่างปฏิกูลจากฟาร์มสุกร 48 ตัวอย่าง จากพื้นที่ 26 อำเภอ 16 จังหวัด, ซึ่งสามารถแยกเป็นเชื้อบริสุทธิ์ได้ 62 ไอโซเลต จากนั้น จึงนำมาศึกษาอัตราการเจริญและ ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้, เพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ชนิดน้ำ, แล้วนำไปทดสอบความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้ใน ฟาร์มสุกร. เชื้อบริสุทธิ์ 62 ไอโซเลต และเชื้อบริสุทธิ์ของ วว. 4 สายพันธุ์ (TISTR 360, 884, 461 และ 038) ถูกทดสอบความสามารถในการเจริญ พบว่า มีแบคทีเรีย 15 ชนิด ที่สามารถเจริญได้ในสภาวะที่ มีกรดแอซีติก (400 มิลลิกรัม/ลิตร) และฟีนอล (200 มิลลิกรัม/ลิตร) จากนั้น จึงมาทดสอบการเจริญ พบว่า มีแบคทีเรีย 6 ชนิด ที่มีค่าอัตราการเจริญมากกว่า 4.82 เท่า. นอกจากนี้ แบคทีเรีย 2 ชนิด รหัส S8 และ M10 สามารถย่อยสลายกรดแอซีติกและฟีนอลให้เหลือเพียงร้อยละ 4.10 (กรดแอซีติก - S8, M10) และร้อยละ 1.28 (ฟีนอล - M10) นำแบคทีเรียทั้งสองชนิดนี้ไปพัฒนากระบวนการผลิตจุลินทรีย์ ชนิดน้ำโดยใช้กากน้ำตาล พบว่า แบคทีเรียรหัส M10 มีอัตราการเจริญสูงที่สุด คือ 1.96 เท่า ที่ความ เข้มข้นกากน้ำตาล 100 กรัม/ลิตร ดังนั้น แบคทีเรียชนิดนี้และความเข้มข้นนี้ จึงถูกใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดน้ำโดยใช้กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม น้ำกลั่น 5 ลิตร และเชื้อรหัส M10 ที่เข้มข้น ร้อยละ10 ปริมาตร 0.5 ลิตร. ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ชนิดน้ำ ถูกนำมาขยายโดยใช้ความเข้มข้นกากน้ำตาลและหัวเชื้อ ที่ร้อยละ 20 และ 10 ตามลำดับ เวลา 24 ชั่วโมง. หลังจากนั้น จึงนำมาเจือจางด้วยน้ำ ในอัตราส่วน 1 : 10 โดย ปริมาตร เพื่อนำไปใช้ทดสอบความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้ในฟาร์มสุกรขนาดกลางและขนาดเล็ก, พบว่า มีระดับความพึงพอใจของเกษตรกรที่ 4.75 สำหรับผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ ณ ชั่วโมงที่ 24. ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ชนิดน้ำนี้สามารถใช้ทดแทนสารเคมีที่มีราคาสูงและเสี่ยงอันตราย, อีกทั้งยังใช้ใน ฟาร์มสุกรแบบเกษตรอินทรีย์ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300