การวิจัยและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์จากกากเมล็ดสบู่ดำ = Oraganic fertilizer from jatropha seed waste / Suriya Sassanarakkit [et al.]
โดย: Suriya Sassanarakkit
ผู้แต่งร่วม: Suriya Sassanarakkit
| Nuthathai Sutthiwong
| Rochana Tangkoonboribun
| Sirisuk Sukprasert
| Piyawan Khermkhun
| Pronpot Bumrungchit
| Anurak Somsai
| Boonpa Prapasir
| Kannikar Pheungpheng
| Kulnaree Tainak
| สุริยา สาสนรักกิจ
| ณัฐหทัย สุทธิวงษ์
| รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์
| สิริสุข สุขประเสริฐ
| ปิยวรรณ เขิมขันธ์
| พรพจน์ บำรุงจิต
| อนุรักษ์ สมสาย
| บุญพา ประภาศิริ
| กรรณิการ์ พ่วงเพ็ง
| กุลนรี ไตรนาค
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 48-02, Sub Proj. no. 4; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.48-02 การวิจัยและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์จากกากเมล็ดสบู่ดำ โครงการย่อยที่ 4 การวิจัยและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์จากกากเมล็ดสบู่ดำ รายงานฉบับที่ 1 (ฉบับสมบูรณ์) การวิจัยและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์จากกากเมล็ดสบู่ดำสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Three experiments were conducted to develop technology for utilization of organic waste from biodiesel production process of Jatropha seeds as an organic fertilizer. In the laboratory, the chemical analysis of Jatropha cake showed that it contained several plant nutrients such as 3.90% nitrogen, 0.64% phosphorus, 0.88% potassium and 55.76% organic matter. The mineralization rate of nitrogen from Jatropha waste was studied in two conditions in lowland and upland soil. The results showed that the mineralization of 100 g. Jatropha waste released nitrogen about 7,473 ppm. at 8 weeks in the lowland condition and 2,605 ppm. in form of NO3 - -N and in form of NH4 + -N was 4,215 ppm. in upland condition. The Jatropha waste was developed into pellet for testing with rice and corn in the greenhouse and field trials. In the greenhouse trials, the effects of Jatropha cake on plant growth and yield were investigated with rice and corn. The results showed that the direct application of cake at the rate 250 kg/rai could enhance plant growth and increase the yield equivalent to the 16-16-8 chemical fertilizer at the rate of 25 kg/rai. Two experiments were conducted in the field trials. The first experiment was conducted at Rice Experiment Station of Chainat on the effect of Jatropha cake on rice and the second experiment in Lam Takhong Research Station on corn. The results 2 showed that the Jatropha cake at the rate of 250 kg/rai could enhance the growth and increase the yield of rice and corn in the same manner as the chemical fertilizer formula 16-16-8 at 25 kg/rai use. The residue effect of Jatropha cake could improve the soil fertility, especially an increased organic matter in soil. The output of these experiments showed that Jatropha waste could be used as organic fertilizer, the practical replacement of chemical fertilizer. สาระสังเขป: กากสบู่ดำเป็นของเหลือที่ได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดสบู่ดำ. การศึกษาวิจัย กากสบู่ดำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ได้แบ่งการทดลองเป็น 3 การทดลอง คือ 1) การวิเคราะห์สมบัติทาง เคมีของกากสบู่ดำและการปลดปล่อยปุ๋ยไนโตรเจนจากกากสบู่ดำในสภาพดินนาน้ำขัง และในสภาพ ดินไร่, 2) การศึกษาการตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวและข้าวโพดจากการใช้ กากสบู่ดำในระดับเรือนทดลอง และ 3) การศึกษาการตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวและข้าวโพดจากกากสบู่ดำในระดับภาคสนาม ได้ดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการและเรือน ทดลอง ณ ศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย ปทุมธานี และการทดลองในภาคสนาม ณ สถานีทดลองข้าวชัยนาท (สำหรับทดลองข้าว) และสถานีวิจัยลำตะคลอง นครราชสีมา (สำหรับทดลองข้าวโพด) ผลการทดลอง มีดังนี้ : การทดลองที่ 1 วิเคราะห์สมบัติทางเคมีของกากสบู่ดำ พบว่า กากสบู่ดำมีค่า pH 7.15, ค่า การนำไฟฟ้า 3.59 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร, ปริมาณอินทรียวัตถุ 55.76 เปอร์เซ็นต์, ค่า C/N ratio 8.31, ปริมาณไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 3.90, 0.64 และ 1.40 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ, แสดงว่ากากสบู่ดำมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยอินทรีย์. ผลการศึกษาการปลดปล่อยปุ๋ย ไนโตรเจนจากกากสบู่ดำในสภาพดินนาน้ำขังและในสภาพดินไร่ พบว่า การปลดปล่อย NH4 + -N ที่ได้ จากกากสบู่ดำ 100 กรัม ในสภาพน้ำขัง มีการปลดปล่อย NH4 + -N สูงสุดที่ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เป็น ปริมาณ 7,473 พีพีเอ็ม. ส่วนในสภาพดินไร่ พบว่า กากสบู่ดำสามารถปลดปล่อย NO3 - -N สูงสุดที่ ระยะ 8 สัปดาห์ มีปริมาณเท่ากับ 2,605 พีพีเอ็ม. และปริมาณ NH4 + -N เท่ากับ 4,215 พีพีเอ็ม. 4 การทดลองที่ 2 การศึกษาการตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวและ ข้าวโพดต่อการใช้สบู่ดำในระดับเรือนทดลอง มีการทดลองทั้งหมด 6 วิธี ดังนี้ 1) กรรมวิธีควบคุม, 2) การใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ และ 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่สำหรับ ปลูกข้าว และ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับปลูกข้าวโพด, 3) ใส่กากสบู่ดำอัตรา 250 กิโลกรัม/ไร่, 4) ใส่กากสบู่ดำอัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่, 5) ใส่กากสบู่ดำอัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่และ 6.) ใส่กากสบู่ดำอัตรา 1,500 กิโลกรัม/ไร่ วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) มี 4 ซ้ำ ผลการทดลอง พบว่า การใส่กากสบู่ดำในอัตรา 250 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลการตอบสนองของข้าว ทั้งใน แง่การเจริญเติบโตและผลผลิตดีเท่ากับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่การ แต่งหน้าด้วยปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับข้าว และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับข้าวโพด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า การใส่กากสบู่ดำ ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น. การทดลองที่ 3 การศึกษาการตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวและ ข้าวโพดจากการใส่กากสบู่ดำในระดับภาคสนาม การทดลองนี้มีกรรมวิธีเช่นเดียวกับการทดลองที่ 3 โดยทำการทดลอง ณ สถานีทดลองข้าวชัยนาท (สำหรับข้าว) และสถานีวิจัยลำตะคลอง นครราชสีมา (สำหรับข้าวโพด) ผลการทดลอง พบว่า ทั้งข้าวและข้าวโพดให้การตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยจากกากสบู่ ดำในอัตรา 250 กิโลกรัม/ไร่ ดีเท่ากับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ และ แต่งหน้าด้วยปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ (การทดลองข้าว) และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ใน อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ (การทดลองข้าวโพด) และพบว่า การใส่กากสบู่ดำช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดินเพิ่มขึ้น ซึ่งผลการทดลองเป็นไปในทำนองเดียวกันกับในเรือนทดลอง. การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กากสบู่ดำที่เหลือจากการผลิตไบโอดีเซล สามารถนำมาใช้ เป็นปุ๋ยอินทรีย์สามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้.
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้
There are no comments on this title.