การศึกษาและประเมินประสิทธิผลในการทดลองทางคลินิกของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง = Study and evaluation on the efficacy of innovative cosmetic products in clincal trials / Sareeya Reungpatthanaphong [et al.]

โดย: Sareeya Reungpatthanaphong
ผู้แต่งร่วม: Sareeya Reungpatthanaphong | Somkamol Intawong | Worawan Tiatragoon | Pockchut Kusolkumbot | Krongkan Kingkaew | สรียา เรืองพัฒนพงศ์ | สมกมล อินทวงค์ | วรวรรณ เตียตระกูล | ปกฉัตร กุศลกรรมบถ | กรองกาญ กิ่งแก้ว
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 63-06, Sub Proj. no. 7; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 62 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: ข้อมูลสิทธิบัตรหัวเรื่อง: เครื่องสำอางสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: An evaluation on the efficacy and toxicity of cosmetic products is a critical procedure which is necessary before products launch to the market. Cosmetic products are generally effective and safe for customer use as claimed. The aim of this research was to study and evaluate the efficacy of innovative cosmetic products in clinical trials including Trinity Anti Cellulite Cream, Serum astra RX10, Sun Screen ALEC and Inno Nanocapsule Coconut Gel. The results of skin irritation test were performed in 33 subjects which revealed Mean Cumulative Irritation Index (M.C.I.I.) of all cosmetic products as 0.10, 0.04, 0.13 and 0.05, respectively. It is indicated that all cosmetic products in this research showed non irritating. As for an evaluation on the efficacy of each cosmetic product was performed in different methods which depended on their characteristic and usage. Anti Cellulite Cream was evaluated both roughness and intensity of 33 subjects’ skin using Antera 3D to compare before and after used the products for 28 days. The results showed a decrease of skin roughness and increase of skin intensity after prolonged use for 14 days. Serum astra RX10 was evaluated on both spots and brown spots of 10 subjects’ skin using VISIA to compare the number of spots and brown spots in 2 groups of subjects (Treatment and Control groups). The results showed a decrease in the number of both spots and brown spots after prolonged use for 14 days in the treatment group when compared to the control. Sun Screen ALEC evaluated both spots and UV spots of 9 subjects’ skin using VISIA in order to compare the number of spots and UV spots in 2 groups. The results showed a decrease in the number of both spots and UV spots after prolonged use for 14 days in the treatment group when compared to the control. Inno Nanocapsule Coconut Gel was evaluated on the moisture of 12 subjects’ skin using Hydration PIN. The results showed an increase of skin moisture that can retain the skin moisture for 2 hours after using the product in the treatment group when compared to the control. The evaluation of subjects’ satisfaction revealed the good satisfaction for all products in this research. Moreover, all products are safe, non irritating and possess their efficacy in clinical trials as usage claims. สาระสังเขป: การประเมินประสิทธิผลและประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางก่อนนำออกจำหน่ายมีความสำคัญและจำเป็น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจะต้องมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นไปตามที่กล่าวอ้าง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและประเมินประสิทธิผลทางคลินิกของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในชุดโครงการวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์กระชับสัดส่วน, ผลิตภัณฑ์เพิ่มความกระจ่างใส, ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด และผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว เพื่อให้ได้ข้อมูลความปลอดภัยและการประเมินประสิทธิผลทางคลินิกของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผลการทดสอบความปลอดภัยโดยวิธีการหาค่าดัชนีความระคายเคืองสะสมโดยเฉลี่ย (M.C.I.I.) ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ในอาสาสมัครจำนวน 33 คน มีค่าเท่ากับ 0.10, 0.04, 0.13 และ 0.05 ตามลำดับ ซี่งอยู่ในช่วงที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว สรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของชุดโครงการไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง (non irritating) ในส่วนของการประเมินประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่ละชนิดจะดำเนินการด้วยวิธีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผลิตภัณฑ์กระชับสัดส่วนประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยใช้เครื่อง Antera 3D ถ่ายภาพวัดค่าความขรุขระของผิว และเครื่องอัลตร้าซาวด์วัดความหนาแน่นของผิว ดำเนินการทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 25 คน เพื่อทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องนาน 28 วัน ผลการศึกษาพบว่าค่าความขรุขระของผิวลดลง โดยค่าความขรุขระก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์เพียง 14 วัน มีค่าเท่ากับ 4.84 ± 0.68 และ 4.73 ± 0.80 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนความหนาแน่นของผิวมีค่าเพิ่มขึ้นหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าความหนาแน่นก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์เท่ากับ 35.22 ± 12.34 และ 39.45 ± 13.44 AU ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์เพิ่มความกระจ่างใสประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยการวัดจำนวนจุดด่างดำของผิว (Spots) และจำนวนจุดคล้ำเสียภายใต้ผิวหนัง (Brown Spots) ด้วยเครื่อง VISIA ในอาสาสมัครจำนวน 10 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์และครีมหลอก ผลการทดสอบพบว่าเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องนาน 14 วัน จำนวนจุดด่างดำของผิวในอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มมีค่าลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนจุดคล้ำเสียภายใต้ผิวหนังมีค่าลดลงมากกว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ใช้ครีมหลอก ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยการวัดจำนวนจุดด่างดำของผิว (Spots) และจำนวนจุดด่างดำจาก UV (UV Spots) ด้วยเครื่อง VISIA ในอาสาสมัครจำนวน 9 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์และครีมหลอก ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด มีค่าจุดด่างดำของผิวและจุดด่างดำจาก UV ลดลงหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องนาน 14 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาสาสมัครที่ใช้ครีมหลอก ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยการวัดความชุ่มชื้นของผิวหนังในการประเมินประสิทธิผลและประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางก่อนนำออกจำหน่ายมีความสำคัญและจำเป็น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจะต้องมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นไปตามที่กล่าวอ้าง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและประเมินประสิทธิผลทางคลินิกของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในชุดโครงการวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์กระชับสัดส่วน, ผลิตภัณฑ์เพิ่มความกระจ่างใส, ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด และผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว เพื่อให้ได้ข้อมูลความปลอดภัยและการประเมินประสิทธิผลทางคลินิกของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผลการทดสอบความปลอดภัยโดยวิธีการหาค่าดัชนีความระคายเคืองสะสมโดยเฉลี่ย (M.C.I.I.) ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ในอาสาสมัครจำนวน 33 คน มีค่าเท่ากับ 0.10, 0.04, 0.13 และ 0.05 ตามลำดับ ซี่งอยู่ในช่วงที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว สรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของชุดโครงการไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง (non irritating) ในส่วนของการประเมินประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่ละชนิดจะดำเนินการด้วยวิธีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผลิตภัณฑ์กระชับสัดส่วนประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยใช้เครื่อง Antera 3D ถ่ายภาพวัดค่าความขรุขระของผิว และเครื่องอัลตร้าซาวด์วัดความหนาแน่นของผิว ดำเนินการทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 25 คน เพื่อทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องนาน 28 วัน ผลการศึกษาพบว่าค่าความขรุขระของผิวลดลง โดยค่าความขรุขระก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์เพียง 14 วัน มีค่าเท่ากับ 4.84 ± 0.68 และ 4.73 ± 0.80 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนความหนาแน่นของผิวมีค่าเพิ่มขึ้นหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าความหนาแน่นก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์เท่ากับ 35.22 ± 12.34 และ 39.45 ± 13.44 AU ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์เพิ่มความกระจ่างใสประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยการวัดจำนวนจุดด่างดำของผิว (Spots) และจำนวนจุดคล้ำเสียภายใต้ผิวหนัง (Brown Spots) ด้วยเครื่อง VISIA ในอาสาสมัครจำนวน 10 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์และครีมหลอก ผลการทดสอบพบว่าเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องนาน 14 วัน จำนวนจุดด่างดำของผิวในอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มมีค่าลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนจุดคล้ำเสียภายใต้ผิวหนังมีค่าลดลงมากกว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ใช้ครีมหลอก ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยการวัดจำนวนจุดด่างดำของผิว (Spots) และจำนวนจุดด่างดำจาก UV (UV Spots) ด้วยเครื่อง VISIA ในอาสาสมัครจำนวน 9 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์และครีมหลอก ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด มีค่าจุดด่างดำของผิวและจุดด่างดำจาก UV ลดลงหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องนาน 14 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาสาสมัครที่ใช้ครีมหลอก ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นประเมินประสิทธิผลทางคลินิกโดยการวัดความชุ่มชื้นของผิวหนังในอาสาสมัครจำนวน 12 คน ด้วยเครื่อง Hydration PIN ผลการทดสอบพบว่าผลิตภัณฑ์สามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังให้คงอยู่หลังจากใช้นาน 2 ชั่วโมง โดยค่าความชุ่มชื้นของผิวก่อนและหลังใช้ผลิตภัณฑ์เท่ากับ 613.39 ± 205.89 และ 1,892.58 ± 295.66 ไมโครซีเมนต์ ตามลำดับ จากผลการประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครพบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ระดับดีมากต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในชุดโครงการ โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองต่อผิวหนังของอาสาสมัคร นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์การใช้ของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทอีกด้วย
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300