อนุสิทธิบัตรเรื่อง:การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตสารกลุ่มแซนโทฟิลล์จากจุลสาหร่ายเพื่อเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์กันแดดโดยใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม = Research and developement of innovative xanthophyll production from microalgae for sunscreen production using genetic engineering technology / Pokchut Kusolkumbot [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Pokchut Kusolkumbot
ผู้แต่งร่วม: Pokchut Kusolkumbot | Sophon Sirisattha | Watcharee Kunyalung | Wanida Artaum | Sitthiphong Soradech | Somkamol Intawong | Sareeya Reungpatthanaphong | ปกฉัตร กุศลกรรมบถ | โสภณ สิริศรัทธา | วัชรี กัลยาลัง | วนิดา อาจเอื้อม | สิทธิพงศ์ สรเดช | สมกมล อินทวงค์ | สรียา เรื่องพิพัฒนพงศ์
BCG: สารสกัด TRM: สุขภาพ กลุ่มเวชสำอาง Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 63-06, Sub Proj. no. 5; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 58 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตสารกลุ่มแซนโทฟิลล์จากจุลสาหร่ายเพื่อเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์กันแดดโดยใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:1.เทคโนโลยี/เครื่องต้นแบบ กระบวนการผลิตสารแซนโทฟิลล์มูลค่าสูงจากสาหร่ายซีลาสตรัม มอรัส 2.ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ/ที่พร้อมถ่ายทอด ผลิตภัณฑ์กันแดด Roheline ผสมสารสกัดกลุ่มแซนโทฟิลล์ จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:-ผสมสารสกัดแซนโทฟิลล์จากสาหร่ายที่มีผลการทดสอบประสิทธิภาพในเซลล์ -มีการทดสอบประสิทธิภาพ SPF จากประเทศญี่ปุ่น SPF มากกว่า50 PA++++หัวเรื่อง: เครื่องสำอางสารสนเทศออนไลน์: Click here to access IP-Fulltext สาระสังเขป: วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้คือการพัฒนากระบวนการผลิตสารแซนโทฟิลล์จากสาหร่ายด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรม ซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายและทำให้มีความบริสุทธิ์ การออกแบบยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารกลุ่มแซนโทฟิลล์โดยใช้ในเทคนิค CRISPR/CAS9 การถ่ายยีนเข้าสู่แบคทีเรียเพื่อเพิ่มปริมาณและตรวจสอบโคลน และการถ่ายยีนเข้าสู่สาหร่ายและการตรวจสอบโคลน ร่วมกับการใช้สภาวะกระตุ้นให้เกิดการสะสมแซนโทฟิลล์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือการเตรียมหัวเชื้อในระดับห้องปฏิบัติการและการเพาะเลี้ยงสาหร่าย โดยวิธีการกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารกลุ่มแซนโทฟิลล์ ในโฟโต้ไบโอรีแอคเตอร์ โดยแสงและเกลือความเข้มข้นต่างๆ จากนั้นสกัดสารสกัดหยาบกลุ่มแซนโทฟิลล์ด้วยวิธีแตกเซลล์ด้วยเครื่องอัลตราโซนิคชนิดหัวโพรบร่วมกับตัวทำละลายที่เหมาะสม ทำการระเหยสารละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ จะได้สารสกัดหยาบสีส้ม หรือสีส้มเหลือง ซึ่งจากการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่องไฮเพอร์ฟอร์แมนลิควิดโครมาโตกราฟี (High Performance Liquid Chromatography) พบว่าสารสกัดหยาบที่ได้ประกอบด้วยลูทีน (lutein) ซีแซนทิน (zeaxanthin) ไวโอลาแซนทิน (Violaxanthin) แคนตาแซนทิน (canthaxanthin) และแอสตาแซนทิน(astaxanthin) จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบนี้พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนไทป์วัน (Type 1) ที่สูงกว่าวิตามินซี และมีฤทธิ์ยับยั้งเม็ดสีเมลานินได้สูงกว่ากรดโคจิก ตลอดจนไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังและเซลล์เม็ดสีผิว จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บารุงผิวหน้าและกันแดด จากการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาวะร้อนสลับเย็น จานวน 6 รอบ พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวดี ไม่เกิดการแยกชั้นสาระสังเขป: The objective of this research was to develop a process for xanthophyll production from algae using genetic engineering. This technique included selection of algae species and purification, gene design involving in the production of xanthophyll by CrRISPR/CAS9 technique, determination of cloning and gene transfer into algae and investigation of clones. Compared with stimulate by light and salt, algae were culture in different salt concentrations and measured their growth. There were 2 steps including inoculation preparation and also algae culture to stimulate xanthophylls production in the photobioreactor. The crude extract was obtained by a cell rupture method using an ultrasonic probe with a suitable solvent. The solvent was removed by evaporation technique. The yellowish-orange extract was achieved. The chemical composition of this extract was detected using a High Performance Liquid Chromatography. The result showed that the crude extracts consisted of lutein, zeaxanthin, Violaxanthin, canthaxanthin and astaxanthin. From the biological activity, the extract was able to stimulate collagen Type 1 with higher than vitamin C as well as it can inhibit the melanin content with higher than kojic acid. In addition, the extract had no cytotoxic into human dermal skin fibroblast and also melanoma cells. After that, the extract was developed as a sun skin facial product. The product was tested for stability using alternative heating and cooling for 6 cycles. It exhibited good stability and no separation
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-09-07 IP00138

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300