อนุสิทธิบัตรเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาดัดแปรโครงสร้างของน้ำมันมะพร้าวเพื่อเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์นวดลดการอักเสบโดยใช้เทคโนโลยีตัวเร่งชีวภาพ = Research and development of structure modification of coconut oil as an active ingredient in anti inflammation massage product using biocatalyst technology /

ผู้แต่งร่วม: Papitchaya Kongchinda | Maneerat Meeploy | Thanchanok Muangman | Worawan Tiatragoon | Rujira Deewatthanawong | Kanungnid Busarakam | Cholticha Niwaspragrita | Pornjarus Singhavorachai | ปพิชญา กองจินดา | มณีรัตน์ มีพลอย | ธัญชนก เมืองมั่น | วรวรรณ เตียตระกูล | รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ | คนึงนิจ บุศราคำ | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | พรจรัส สิงหวรชัย
BCG: สารสกัด TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 63-06, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 99 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาดัดแปรโครงสร้างของน้ำมันมะพร้าวเพื่อเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์นวดลดการอักเสบโดยใช้เทคโนโลยีตัวเร่งชีวภาพ | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:1.เทคโนโลยี/เครื่องต้นแบบ กรรมวิธีการดัดแปรโครงสร้างของน้ำมันมะพร้าว 2.ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ/ที่พร้อมถ่ายทอด เจลแต้มสิวผสมนวัตกรรมน้ำมันมะพร้าว จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:น้ำมันมะพร้าวดัดแปรมีสรรพคุณหลากหลายเช่นยับยั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดสิวมีฤทธิ์ต้านการอักเสบสิวให้ความชุ่มชื้นลดรอยดำหัวเรื่อง: น้ำมันมะพร้าว | Coconut oilสารสนเทศออนไลน์: Click here to access IP-Fulltext สาระสังเขป: การทดลองครั้งนี้ได้ดัดแปรโครงสร้างของน้ำมันมะพร้าวโดยการย่อยน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้วยไลเปส จากแหล่งที่แตกต่างกัน 5 แหล่ง พบว่าไลเปสจาก Candida rugosa สามารถย่อยได้ดีที่สุด โดยมีระดับการย่อยถึง 120.83 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้นของกรดไขมันรวม เท่ากับ 433.73 ไมโครโมลต่อมิลลิลิตร รองลงมาคือ ไลเปสจาก Rhizopus oryzae และ ไลเปสจาก porcine pancreas โดยมีระดับการย่อย เท่ากับ 95.37 เปอร์เซ็นต์ และ 54.10 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้นของกรดไขมันรวม เท่ากับ 344.53 และ 199.47 ไมโครโมลต่อมิลลิลิตร ไลเปสจาก Aspergillus niger มีประสิทธิภาพในการย่อยน้ำมันมะพร้าวได้น้อยที่สุด โดยมีระดับการย่อย และความเข้มข้นกรดไขมัน เท่ากับ 5.28 เปอร์เซ็นต์ และ 19.07 ไมโครโมลต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดกรดไขมันที่ได้จากการย่อยน้ำมันมะพร้าวมาทำการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของกรดไขมันด้วยวิธีแก๊สโครมาโตกราฟี พบว่าในสารสกัดกรดไขมันที่ได้จากการย่อยโดย porcine pancreas, Rhizopus oryzae และ Candida rugosa ประกอบด้วย กรดปาล์มิโตเลอิก (C16:1) อยู่ปริมาณมากที่สุด (เท่ากับ 963.11, 691.12 และ 673.09 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) รองลงมาคือ กรดสเตียริก (C18:0) (เท่ากับ 535.79, 383.34 และ 347.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) , กรดไมริสติก (C14:0) (เท่ากับ 363.23, 201.55 และ 183.99 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร), กรดโอเลอิก (C18:1) (เท่ากับ 318.48, 205.02 และ 191.17 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร), กรดปาล์มิติก (C16:0) (258.30, 143.98 และ 266.84 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร), กรดลอริก (C12:0) (อยู่ในช่วง 33.72 - 17.03 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร), กรดคาปริก (C10:0) (อยู่ในช่วง 10.84 - 0.17 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และกรดคาปริลิก (C8:0) (อยู่ในช่วง 1.09 - 0.95 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดกรดไขมันมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ก่อให้เกิดโรคด้วยวิธีมาตรฐาน disk-diffusion method พบว่า สารสกัดกรดไขมันที่ย่อยแล้วมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบทั้งหมด โดยสารสกัดกรดไขมันที่ได้จากการย่อยด้วยไลเปสจาก Rhizopus oryzae มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของ Streptococcus pyogenes, Propionibacterium acnes และ Salmonella enteritidis ได้ดีที่สุด จากนั้นทำการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์ไลเปส จาก Rhizopus oryzae โดยเก็บน้ำมันมะพร้าวที่อุณหภูมิห้อง และในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 25, 23 และ 22 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 3 เดือน พบว่าน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกระบวนการดัดแปรโครงสร้างแล้วจะแข็งตัวที่อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส โดยที่ปริมาณกรดไขมันไม่เปลี่ยนแปลง จากนั้นนำไปทดสอบความเป็นพิษของน้ำมันมะพร้าวต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ชนิด พบว่า เซลล์ HaCaT มีความไวต่อน้ำมันมะพร้าวที่ย่อยไลเปสจาก porcine pancreas มากที่สุด รองลงมาคือ น้ำมันมะพร้าวที่ย่อยด้วยไลเปสจาก Candida rugosa, น้ำมันมะพร้าวที่ย่อยด้วยไลเปสจาก Rhizopus oryzae และ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (ค่า IC50 เท่ากับ 1.80, 2.58, 2.73 และ 10.22 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ตามลำดับ ในขณะที่สารละลายผงว่านหางจระเข้มีค่า IC50 เท่ากับ 99.56 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (คิดเป็น 9.956 เปอร์เซ็นต์ w/v) ซึ่งจากค่า IC50 แสดงให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าวทั้ง 4 ตัวอย่างและผงว่านหางจระเข้มีความเป็นพิษต่ำ จากนั้นนำน้ำมันมะพร้าว 4 ตัวอย่างความเข้มข้น 0.75 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยการวิเคราะห์หาปริมาณ PGE2 ที่เซลล์สร้างขึ้นโดยทดสอบเซลล์ผิวหนังชนิด HaCaT พบว่าน้ำมันมะพร้าวที่ย่อยด้วยไลเปสจาก porcine pancreas มีฤทธิ์ต้านการอักเสบสูงสุด เพราะทำให้เซลล์สร้าง PGE2 น้อยที่สุด คิดเป็น 16.19±0.28 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ Rhizopus oryzae (21.56±6.90 เปอร์เซ็นต์), Candida rugosa (29.05±15.12 เปอร์เซ็นต์) และ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (90.97±29.31 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ ผลจากการฉายรังสีพบว่าน้ำมันมะพร้าวที่ย่อยด้วยไลเปสมีความไวต่อแสงเด่นมากควรพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลากลางคืน สาระสังเขป: ทางผู้วิจัยจึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เจลแต้มสิวผสมนวัตกรรมน้ำมันมะพร้าว สาระสังเขป: In this study, coconut oil was hydrolyzed using five different sources of lipase enzyme including Candida rugosa, Rhizopus oryzae, Aspergillus niger, porcine pancreas and wheat germ and our results showed that the lipase from Candida rugosa had the highest digestion percentage of 120.83 with total fatty acids of 433.73 mmol/mL, following by the enzyme from Rhizopus oryzae (95.37% digestibility with 344.53 mmol/mL total fatty acids) and porcine pancreas (54.10 % digestibility with 199.41 mmol/mL total fatty acids) while the lipase from Aspergillus niger showed the lowest digestibility of only 5.28% with 19.07 mmol/mL total fatty acids. Gas chromatography analysis revealed that the composition of digested coconut oil using porcine pancreas, Rhizopus oryzae and Candida rugosa contained: palmitoleic acid (C16:1) at concentration of 963.11, 691.12 and 673.09 mg/mL; respectively, stearic acid (C18:0) at concentration of 535.79, 383.34 and 347.10 mg/mL; respectively, myristic acid (C14:0) at concentration of 363.23, 201.55 and 183.99 mg/mL; respectively, oleic acid (C18:1) at concentration of 318.48, 205.02 and 191.17 mg/mL; respectively, palmitic acid (C16:0) at concentration of 258.30, 143.98 and 266.84 mg/mL; respectively, lauric acid (C12:0) at concentration of 33.72-17.03 mg/mL, capric acid (C10:0) at concentration of 10.84-0.17 mg/mL and caprylic acid (C8:0) at concentration of 1.09-0.95 mg/mL. Antimicrobial activity of digested coconut oil was determined using a disk-diffusion method against pathogenic microorganisms. The coconut oil extract using lipase from Rhizopus oryzae inhibited all the bacteria tested and showed the highest inhibitory activity against Streptococcus pyogenes, Propionibacterium acnes and Salmonella enteritidis. Storage temperature of the coconut oil extract using lipase from Rhizopus oryzae was tested at 25, 23 and 22 oC for 3 months. The extract solidified at 23 oC with no change in concentration of fatty acids. Human HaCaT cell toxicity was measured by incubating the cells with the coconut oil extract. HaCaT cells exhibited the highest degree of sensitivity to the extract using lipase from porcine pancreas following by the extract using lipase from Candida rugosa, Rhizopus oryzae and pure coconut oil with the IC50 values of 1.80, 2.58, 2.73 and 10.22 % (v/v), respectively. Our results revealed that all samples had low toxicity when compared with aloe vera powder extract (IC50=99.56 mg/mL or 9.956% w/v). Anti-inflammatory activity was evaluated by UV irradiation for 22 seconds on HaCaT cells that were previously incubated with 0.75 mg/mL coconut oil extracts. The cells incubated with coconut oil extract using lipase from porcine pancreas produced the lowest PGE2 of 16.19% while PGE2 in cells tested with coconut oil extract using lipase from Rhizopus oryzae, Candida rugosa and pure coconut oil were 21.56%, 29.05% and 90.97%, respectively. UV irradiation results revealed suitable properties of the lipase-digested coconut oil for development of an anti-acne spot gel product.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-09-07 IP00135

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300