สิทธิบัตรเรื่อง:วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากผลมะหลอด = Research and Development of cosmeceutical products from bastard oleaster fruit / Tanwarat Kajsongkram [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Tanwarat Kajsongkram
ผู้แต่งร่วม: ธัญวรัตน์ กาจสงคราม | สมกมล อินทวงศ์ | สุภาภรณ์ เลขวัต | ธัญชนก เมืองมั่น | กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว | ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์ | รัตนศิริ จิวานนท์ | เสาวลักษณ์ โรจน์อำพร | Tanwarat Kajsongkram | Somkamol Intawong | Supaporn Lekhavat | Thanchanok Muangman | Krongkan Kingkaew | Pattarawadee Kengkhwasingh | Rattanasiri Jiwanon | Saowalak Rotamporn
BCG: สารสกัด TRM: สุขภาพ กลุ่มเวชสำอาง Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 63-01, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2021 รายละเอียดตัวเล่ม: 79 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากผลมะหลอด ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:1.ผลิตภัณฑ์เซรั่มผสมไมโครอิมัลชันจากสารสกัดมะหลอดเพื่อบารุงผิวช่วยให้ผิวขาว จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:-ผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่มีงานวิจัยรองรับ เชื่อมั่นในประสิทธิผลและความ ปลอดภัย -ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีส่วนผสมของสารสกัด มะหลอดหัวเรื่อง: มะหลอดสาระสังเขป: มะหลอดเป็นพืชในวงศ์ Elaeagnaceae เป็นไม้ผลพื้นบ้านพบได้ทั่วไปโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elaeagnus latifolia L. เนื่องจากผลมะหลอดมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ และมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญหลายชนิด จึงนำผลมะหลอดมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เซรั่มผสมไมโครอิมัลชันจากสารสกัดมะหลอดบำรุงผิวช่วยให้ผิวขาว ขั้นตอนงานวิจัย เริ่มจากการหาสภาวะการสกัดที่เหมาะสม โดยนำเอาผงแห้งมาสกัดด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้น 0, 20, 40, 60, 80 และ 95% โดยปริมาตร พบว่าสารสกัดมะหลอดที่ความเข้มข้น 20% โดยปริมาตร มีปริมาณสารออกฤทธิ์ ทางชีวภาพได้แก่ กรดมาลิก สารประกอบฟีนอลิค และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (DPPH) สูงกว่าการสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นอื่นๆ เมื่อนำสารสกัดมะหลอดที่ความเข้มข้น 20% โดยปริมาตร มาทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า ที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดมะหลอดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์(cellular ROS) ผิวหนังชนิดเคอราทิโนไซต์ (HaCaT cells) ได้ 57 เปอร์เซนต์ มีฤทธิ์ต้านอักเสบในเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจโดยสามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ได้สูงสุดเท่ากับ 47.87% มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสในเซลล์เพาะเลี้ยงเมลาโนมา (B16F10) ได้สูงสุดเท่ากับ 69.01 % มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์เพาะเลี้ยงเมลาโนมา (B16F10) ได้สูงสุดเท่ากับ 49.22 % ต่อจากนั้นนำสารสกัดมาพัฒนาเป็นไมโครอิมัลชันและเซรั่ม เมื่อนำมาทดสอบความคงตัวในสภาวะเร่ง(Heating และ cooling )ทั้งหมด 6 รอบ พบว่าทั้งไมโครอิมัลชันและเซรั่ม มีความคงตัวดี และตำรับไมโครอิมัลชันที่พัฒนาขึ้นสามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดีกว่า ตำรับที่เป็นสารละลายถึง 7 เท่า ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อนำผลิตภัณฑ์เซรั่มมาทดสอบความปลอดภัยโดยการประเมิน acute cutaneous tolerance กับอาสาสมัคร(single patch test) จำนวน 55 คน พบว่าไม่เกิดการระคายเคือง ผลิตภัณฑ์เซรั่มผสมไมโครอิมัลชันจากสารสกัดมะหลอดบำรุงผิวช่วยให้ผิวขาวที่พัฒนาขึ้นสามารถจำหน่ายได้เชิงพาณิชย์เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคโดยผ่านการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย สาระสังเขป: Bastard Oleaster is one of plants in the family of Elaeagnaceae. It is a local plant, which can be found generally in the northern and northeastern parts of Thailand. The Scientific name of this fruit is Elaeagnus latifolia L. Due to an interesting biological activity and various variety of phytochemical components of this fruit, it could be developed as a facial whitening serum containing microemulsions from the extract of Bastard Oleaster to create the value added. Initially, the research was performed to optimize an appropriate condition for extraction. The dry fruit powder was also extracted using ethanol at concentrations of 0, 20, 40, 60, 80 and 95% (v/v). The result indicated that the extraction of dry fruit with 20% (v/v) of ethanol concentration was detected the bioactive compounds such as malic acid and phenolic compounds as well as the antioxidant activity (DPPH) of this extract was higher than other concentrations of ethanol extraction. After that, the fruit extract at 20% v/v of ethanol was tested for biological activities. It was found that 1 mg / ml of the fruit extract had a high cellular antioxidant capacity (Cellular ROS) for skin keratinocyte (HaCaT cells) by 57 %. In addition, there was an anti-inflammatory activity in macrophage cells, indicating by the highest inhibition of nitric oxide by 47.87%. Additionally, this fruit extract was able to inhibit tyrosinase activity in melanoma cells (B16F10) and the highest inhibition was to be 69.01%. As well as, it can inhibit melanin content in melanoma cells (B16F10) with the highest inhibition by 49.22%. The fruit extract were then developed microemulsions and serum formulations. The physical stability of product after accelerated condition by alternative heating and cooling for 6 cycles were also investigated. The result showed that a good stabilities were obtained for both formulations, i.e. microemulsions and serum. Furthermore, microemulsions can penetrate into skin better than solution in 7 times after 24 h. For a safety evaluation, the serum was also evaluated on acute cutaneous tolerance using single patch tests in 55 volunteers. The result demonstrated that there were non-irritation of this product. Therefore, the development of skin whitening serum containing micromeulsion of Bastard Oleaster extract was able for commercialisation, because this product can provide consumer confidence, which proved scientifically in terms of efficacy and safety.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-09-01 IP00131

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300