กระบวนการรีฟอร์มมิ่งคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สชีวภาพเพื่อผลิตไบโอเมทานอล = Reforming of carbon dioxide in biogas for bio-methanol production / Rujira Jitrwung [et al.]

โดย: Rujira Jitrwung
ผู้แต่งร่วม: รุจิรา จิตรหวัง | กมลรัตน์ หลีเห้ง | กันทิมา เกริกเกียรติสกุล | จิราพร ฉลองธรรม | อนันตชัย วรรณจำปา | Rujira Jitrwung | Kamonrat Leeheng | Kuntima Krekkeitsakul | Jiraporn Chalorngtham | Anantachai Wannajampa
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 62-01, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 44 p. tables, ill. ; 30 cm.หัวเรื่อง: แก๊สชีวภาพ | Biogasสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The value adding of biogas by converting to bio-methanol is one of the promising ways in order to solve declining biogas price problem besides the biogas usage for electricity and compressed biogas (CBG) productions. However, biogas is needed to improve the quality by removal of impurities before the utilization. Therefore, this research focused on the separation of contaminants (H2S and CO2) in biogas to its proper quality for using as feedstock of bio-methanol production. The results of H2S removal from biogas by using FE-EDTA solution showed that the suitable concentration of Fe-EDTA and NaOH for H2S removing was 0.1 and 2 M, respectively, with a H2S removal efficiency of 98.91%. The Fe-EDTA solution can be regenerated by air with condition of 10 L/min and biogas/air flow rate ratio of 0.3, then it was reused in the process. The cycle of the Fe-EDTA solution for absorption/desorption was operated continuously. Stability of Fe-EDTA solution was investigated. It was found that the Fe-EDTA solution can be carried out over than 25 h by using with the NaOH solution for H2S removal from biogas at initial H2S concentration of 5,000 ppm. By the way, CO2 separation process from biogas by pressure swing adsorption technology (PSA) using Zeolite 13X was also studied. It was found that the highest performance of the CO2 separation from biogas (ratio CH4/CO2 = 55/45) by PSA technology can be operated at pressure of 7 bar. Product stream from PSA technology was divided to two streams: upper stream and lower stream (CO2 absorbed). The product from the upper stream showed that CH4/CO2 ratio in biogas effected to the CO2 separation. CO2 separation efficiency was increased with increasing CH4/CO2 ratio and providing a maximum CH4 purity of 93.4% at CH4/CO2 ratio of 65/35. The lower product stream obtained from the separation process was contaminated by CH4 with CO2/CH4 ratio of 70±5/30±5, which it was an optimal ratio of CH4/CO2 for the methanol synthesis via reforming reaction.สาระสังเขป: การเพิ่มมูลค่าแก๊สชีวภาพด้วยการนำไปผลิตไบโอเมทานอลถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาราคาของแก๊สชีวภาพที่ตกต่ำได้ นอกเหนือจากการนำแก๊สชีวภาพไปผลิตกระแสไฟฟ้าและผลิตแก๊สชีวภาพอัด แต่อย่างไรก็ตามแก๊สชีวภาพจำเป็นต้องทำการปรับปรุงคุณภาพก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการแยกสิ่งปนเปื้อนในแก๊สชีวภาพ เช่น แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้แก๊สชีวภาพมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ผลิตไบโอเมทานอล จากการศึกษาการแยกแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ในแก๊สชีวภาพด้วยเทคโนโลยีการดูดซึมของสารละลายเหล็กอีดีทีเอ (Fe-EDTA) พบว่า สภาวะที่เหมาะสมของสารละลาย Fe-EDTA และ NaOH ที่ใช้ในกระบวนการแยกไฮโดรเจนซัลไฟด์ คือ 0.1 และ 2 โมลาร์ ตามลำดับ ซึ่งให้ค่าการแยกแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์เท่ากับ ร้อยละ 98.91 โดยสารละลาย Fe-EDTA ที่ใช้งานแล้วสามารถนำไปบำบัดด้วยอากาศ ที่อัตราการไหล 10 ลิตรต่อนาที และอัตราส่วนของอัตราการไหลแก๊สชีวภาพต่ออากาศ เท่ากับ 0.3 เพื่อวนสารละลายนำกับไปใช้ใหม่ โดยเมื่อทดสอบเสถียรภาพของสารละลาย Fe-EDTA ที่ใช้แยกแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 5,000 ppm ในแก๊สชีวภาพ พบว่าสารละลายเหล็ก Fe-EDTA สามารถใช้งานได้มากกว่า 25 ชั่วโมง เมื่อใช้ร่วมกับสารละลาย NaOH นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการแยกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในแก๊สชีวภาพด้วยเทคโนโลยี pressure swing adsorption (PSA) โดยใช้วัสดุดูดซับซีโอไลต์ชนิด 13X จากการศึกษาพบว่า ความดันที่เหมาะสมในการแยกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในแก๊สชีวภาพ (CH4/CO2 = 55/45) ด้วยเทคโนโลยี PSA คือ 7 บาร์ และจากการศึกษาผลของสัดส่วนขององค์ประกอบแก๊สในแก๊สชีวภาพ (CH4/CO2) ที่มีผลต่อการแยกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า ประสิทธิภาพของการแยกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ดีขึ้น เมื่อสัดส่วนของ CH4/CO2 ในแก๊สชีวภาพเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งให้ความบริสุทธิ์ของแก๊สมีเทนที่แยกได้สูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 93.4 ที่สัดส่วน CH4/CO2 = 65/35 นอกจากนี้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากกระบวนการแยกมีองค์ประกอบ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สมีเทน ที่สัดส่วน CO2/CH4 เท่ากับ 70±5/30±5 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ถูกนำไปศึกษาวิจัยเพื่อผลิตไบโอเมทานอลจากการใช้แก๊สชีวภาพร่วมกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการรีฟอร์มมิงต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300