การพัฒนากระบวนการผลิตไบโอเมทานอลจากแก๊สชีวภาพที่ปรับสภาพแล้ว = Novel bio-methanol process from conditioning biogas / Rujira Jitrwung, [et al.]

โดย: Rujira Jitrwung
ผู้แต่งร่วม: Rujira Jitrwung | Kuntima Krekkeitsakul | Kamonrat Leeheng | Anantachai Wannajampa | Jiraporn chalongtham | รุจิรา จิตรหวัง | กมลรัตน์ หลีเห้ง | กันทิมา เกริกเกียรติสกุล | จิราพร ฉลองธรรม | อนันตชัย วรรณจำปา | กันทิมา เกริกเกียรติสกุล
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 62-01, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 46 p. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.62-01 การเพิ่มมูลค่าแก๊สชีวภาพด้วยนวัตกรรมกระบวนการผลิตไบโอเมทานอลจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หัวเรื่อง: ไบโอเมทานอล | แก๊สชีวภาพ | Biomethanolสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The 3 cases of Biomethanol production from biogas were investigated in this study; (1) untreated hydrogen sulfide in biogas, (2) treated hydrogen sulfide in biogas (a ratio of CH4:CO2=55:45) , (3) treated hydrogen sulfide and separated carbon dioxide from biogas obtaining concentrated biogas or compressed bio-methane (CBG), the carbon dioxide separated was mixed with biogas to adjust proportion CH4:CO2. Biomathanol production comprises of 2 main reactions reforming of biogas to synthesis gas (syngas, a mixture of hydrogen (H2) and carbon monoxide (CO)) and biomethanol synthesis by CO hydrogenation. Parameters including CH4/CO2 ratio, temperature, pressure and catalyst stability were optimized for biomethanol synthesis. สาระสังเขป: The experimental results shown that the contents of H2S in biogas over 100 ppm. effected to catalyst stability and biomethanol production. Hydrogen sulfide removal unit is needed for biogas treatment. The optimum ratio of CH4/CO2 ratio in biogas for reforming synthesis is range of 30:70 providing a ratio of H2:CO in range of 1.8-2.0 yielding maximum biomethanol. The optimum condition for biogas reforming under using NiAl2O3 catalyst were achieved at 750 0C and atmospheric pressure. For biomethanol synthesis using Cu/ZnO/Al2O3 catalyst were obtained under 200 0C and pressure 40 bar. The purity of the biomethanol product is more than 98 percent. CO2 in off gas can be returned to reforming process by 0-100% and compensated raw biogas usage. สาระสังเขป: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตไบโอเมทานอลจากแก๊สชีวภาพ โดยแบ่งเป็น 3 กรณีศึกษา (1) การผลิตไบโอเมทานอลจากแก๊สชีวภาพที่ไม่ผ่านการบำบัดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) (2) การผลิตไบโอเมทานอลแบบมีการบำบัดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกจากแก๊สชีวภาพ สัดส่วนแก๊สชีวภาพ CH4:CO2 เท่ากับ 55:45 (3) การสังเคราะห์ไบโอเมทานอลที่มีการแยกแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากแก๊สชีวภาพ นำแก๊สชีวภาพที่เข้มข้นนี้ไปใช้ในรูปแก๊สมีเทนอัดและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่แยกออกนำมาผสมรวมกับแก๊สชีวภาพเพื่อปรับสัดส่วนแก๊สชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตไบโอเมทานอล ขั้นตอนการสังเคราะห์ไบโอเมทานอลแบ่งเป็น 2 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการรีฟอร์มมิงแก๊สชีวภาพเพื่อผลิตแก๊สสังเคราะห์ (Synthesis gas) ที่ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และแก๊สไฮโดรเจน (H2) จากนั้นแก๊สสังเคราะห์ถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ไบโอเมทานอล งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสภาวะดำเนินการที่เป็นปัจจัยหลักของกระบวนการ อาทิ สัดส่วนแก๊สสารตั้งต้น องค์ประกอบแก๊สเจือปนในแก๊สสังเคราะห์ อุณหภูมิ ความดัน และเสถียรภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาสาระสังเขป: ผลการทดลอง พบว่า แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ปนเปื้อนในแก๊สชีวภาพมากกว่า 100 ppm. มีผลกระทบต่อตัวเร่งปฏิกิริยา การติดตั้งชุดบำบัดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ก่อนเข้าทำปฏิกิริยา ทำให้สามารถผลิตไบโอเมทานอลได้และอัตราส่วนที่เหมาะสมของการรีฟอร์มมิงเพื่อผลิตแก๊สสังเคราะห์อยู่ในช่วง 30:70 สามารถผลิตแก๊สสังเคราะห์ได้สัดส่วน H2:CO เท่ากับ 1.8-2.0 ที่เพียงพอต่อการสังเคราะห์ไบโอเมทานอล และให้ปริมาณไบโอเมทานอลสูงสุด ภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการ รีฟอร์มิงแก๊สชีวภาพบนตัวเร่งปฏิกิริยานิเกิลอะลูมินา คือ อุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส ความดันบรรยากาศ ในขณะที่ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไบโอเมทานอลภายใต้ตัวเร่งปฏิกิริยาคอปเปอร์ ซิงค์ออกไซด์อะลูมินา คืออุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส ความดัน 40 บาร์ และความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ไบโอเมทานอลจากแก๊สชีวภาพที่ปรับสภาพแล้วมีความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ 98 การหมุนเวียนแก๊สทิ้งกลับเข้าสู่กระบวนการได้ตั้งแต่ 0-100 เปอร์เซ็นต์ และการหมุนเวียนมากช่วยลดการใช้วัตถุดิบแก๊สชีวภาพมากขึ้นตาม
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300