การพัฒนาเทคโนโลยีการเปลี่ยนรูปก๊าซชีวภาพเป็นไบโอมีเทน = Research and development techniques for transformation of biogas to biomethane / Rewadee Anuwattana [et al.] (CONFIDENTIAL)

ผู้แต่งร่วม: Rewadee Anuwattana | Songkiat Roddeang | Vishnu Panphan | Narumon Soparatana | Patthanant Natpinit | เรวดี อนุวัฒนา | ทรงเกียรติ รอดแดง | วิษณุ ปั้นพันธุ์ | ฐิติรัตน์ ดิษฐ์แก้ว | นฤมล โสภารัตน์ | พัทธนันท์ นาถพินิจ
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-08, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2019 รายละเอียดตัวเล่ม: 88 p. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.57-08 การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานหัวเรื่อง: ก๊าซชีวภาพ | ไบโอมีเทนสาระสังเขป: The objective of this study was to develop a process of biogas upgrading using the synthesis biogas (45.6% of CH4, 30.8% of CO2, 23.6% of N2 and 70 ppm of H2S) and chemical absorption (0.2-3 mol/dm3 of NaOH, KOH, CaCl2 and FeSO4). The parameters on pressure swing adsorption such as the types of adsorbents (Activated Carbon, Zeolite 5A, Activated carbon impregnated by chitosan and Zeolite 5A impregnated by chitosan), pressure (1, 2 and 3) and in/out-flow rates (0.5, 1, 1.5 and 2) was study. The results showed that the chemical absorption using 2M of NaOH solution followed by the pressure swing adsorption by adsorbents (using 100 grams of activated carbon impregnated with chitosan via 100 grams of the zeolite 5A impregnated with chitosan) at the pressure of 3 bars with in/out-flow rates of 2.0 is the best condition. It helps increasing the Methane (CH4) yield in biogas from 45.6% to 98.6% and 23.6% to 1.4% of N2 gas.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพสังเคราะห์ที่มีองค์ประกอบ ของก๊าซมีเทน ร้อยละ 45.6, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 30.8, ก๊าซไนโตรเจน ร้อยละ 23.6 และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ 70 ส่วนในล้านส่วน โดยใช้กระบวนการดูดซึมด้วยสารละลาย (สารละลาย NaOH, KOH, CaCl2 และ FeSO4) ที่ความเข้มข้น 0.2-3 โมลต่อลิตร และกระบวนการดูดซับแบบสลับความดัน โดยศึกษาผลของชนิดตัวดูดซับ (ถ่านกัมมันต์, ซีโอไลต์ 5A, ถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยสารละลายไคโตซาน และซีโอไลต์ 5A ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยสารละลายไคโตซาน) ความดัน (1, 2 และ 3 บรรยากาศ) และผลอัตราการไหลเข้าต่ออัตราการไหลออก (0.5, 1, 1.5 และ 2.0). จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพสังเคราะห์โดยกระบวนการดูดซึม คือ การใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 2 โมลต่อลิตร สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์มีประสิทธิภาพสูงสุด ร่วมกับ การดูดซับแบบสลับความดัน พบว่า สภาวะที่เหมาะสมคือ การใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการปรับสภาพร่วมกับซีโอไลต์ 5A ที่ผ่านการปรับสภาพ บรรจุในคอลัมน์ปริมาณ 100 และ 100 กรัม ตามลำดับ ที่ความดัน 3 บรรยากาศ ด้วยอัตราการไหลเข้าต่ออัตราการไหลออกเท่ากับ 2 สามารถทำก๊าซมีเทนให้มีความบริสุทธิ์ ร้อยละ 98.6 และก๊าซไนโตรเจน ร้อยละ 1.4.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300