การศึกษาการเขตกรรมส่งเสริมการปลูกและการผลิตผลิตภัณฑ์จากมะขามป้อม= Study on cultural practice, promotion of cultivation and processing of indian gooseberry Cholticha Niwaspragrit

โดย: Cholticha Niwaspragrit... [et al.] (CONFIDENTIAL)
ผู้แต่งร่วม: Cholticha Niwaspragrit | Piyanee Ratanachamnong | Maitree Munyanont | Jantra Pankhawn | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | ปิยานี รัตนชำนอง | ไมตรี มัณยานนท์ | จันทรา ปานขวัญ
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 55-01, Sub Proj. no. 4; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: ปทุมธานี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 72 p. tables, ill. 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.55-01 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากมะขามป้อมหัวเรื่อง: มะขามป้อม | Indian gooseberry | การปลูกมะขามป้อมสาระสังเขป: Indian gooseberry is an indigenous plant that grows naturally in all regions of Thailand. The antioxidant properties contained in its fruits are recognized in the production of traditional medicine and cosmetics. TISTR carried out a study on Indian goose berry since 2011. A collection plot was established at Lam Ta Klong Research Station, Pak Chong, Nakhon Ratchasima province. The objectives of this study were to promote Indian goose berry into an economic crop and a commercial plant. Between 2012 and 2016, the physical characteristics of 29 species of gooseberry were studied and horticultural techniques, including clones and various methods of grafting as well as plant spacing and growth regulating to control fruit drops were examined. The results of the study showed that physical properties: color, size and some chemical contents differed from and were related to the variation in genetical properties. Different methods in grafting showed high percentage of success with no significant difference. NAA 10 ppm and Ca 13.8%+B 1% showed promising results in controlling fruit drops, especially at an early stage of fruit growth. Plant spacings of 4m x 4m, 6m x 6m and 8m x 8m was found to have no influence on growth of Indian goose berry seedlings at an early stage within the first 18 months after planting.สาระสังเขป: มะขามป้อมเป็นไม้ผลพื้นเมืองที่พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย นิยมนำมาเป็นอาหารและยาสมุนไพร เนื่องจากมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้มีการศึกษาและปลูกพันธุ์มะขามป้อมจากแหล่งต่างๆ ที่สถานีวิจัยลำตะคอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนามะขามป้อมเป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้า ในการนี้จึงได้ทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพของผลมะขามป้อมในแปลงรวบรวมพันธุ์รวม 29 สายต้น จากแหล่งต่างๆ ตลอดจนการศึกษาการเขตกรรมด้านการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่อกิ่งแบบต่างๆ ระยะปลูกที่เหมาะสมและการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อลดการหลุดร่วงของผล ในระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติทางกายภาพ, ขนาดของผล, สีผล, องค์ประกอบทางเคมีบางประการแตกต่างกันอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางพันธุกรรม การขยายพันธุ์โดยการต่อกิ่งในรูปแบบต่างๆ กันให้ผลดีไม่แตกต่างกัน และการใช้สาร NAA ที่ความเข้มข้น 10 ppm และ Ca 13.8% + B 1% เพื่อลดการหลุดร่วงของผล พบว่า สาร NAA และ Ca+B มีศักยภาพในการลดการหลุดร่วงของผล โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโตของผล การศึกษาอิทธิพลของระยะปลูก 3 ระยะ คือ 4 เมตร x 4 เมตร, 6 เมตร x 6 เมตร และ 8 เมตร x 8 เมตร ต่อการเจริญเติบโตของต้นมะขามป้อมพบว่า ทั้งสามระยะยังไม่มีการตอบสนองที่ชัดเจนในระยะแรกและคาดว่าจะมีการตอบสนองมากขึ้นเมื่อต้นเข้าสู่ระยะให้ผลผลิตในช่วงปีที่ 4-5 เป็นต้นไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300