อนุสิทธิบัตรเรื่อง กรรมวิธีการผลิตและสูตรกัมมี่มะขามป้อม= อนุสิทธิบัตรเลขที่ 1603001429 Panida Banjongsinsiri [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Panida Banjongsinsiri
ผู้แต่งร่วม: Panida Banjongsinsiri | Sodsri Neamprem | Siriwan Tungsangprateep | Maneerat Meeploy | Nowwapan Noojuy | Khanittha Chawananorasest | ปนิดา บรรจงสินศิริ | สดศรี เนียมเปรม | ศิริวรรณ ตั้งแสงประทีป | มณีรัตน์ มีพลอย | ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์
BCG: อาหาร TRM: อาหาร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 55-01, Sub Proj. no. 5; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: ปทุมธานี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 172 p. . tables, ill. 30 cmชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากมะขามป้อม | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:ผลิตภัณฑ์มะขามลอยแก้ว แช่อิ่มอบแห้ง พัฒนามะขามป้อมแผ่น/กวน พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทกัมมี่ ได้มะขามป้อมพร้อมดื่ม การนำไปต่อยอด:5 เรื่อง 1. การศึกษาความสามารถในการกาจัดอนุมูลอิสระ ปริมาณกรดแอสคอร์บิก และประมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดของสารสกัดหยาบเอธานอลจากมะขามป้อมหลังการเก็บรักษาด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน. ว. วิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 46 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ) กันยายน-ธันวาคม 2558. 2. The Influences of Indian Gooseberry Cultivars and Storage Conditions on the Production of Osmotically Dehydrated Indian Gooseberry Products. In Food and Applied Bioscience Journal 2016. 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่มะขาม ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASTC) ครั้งที่ 4.2559 4. การพัฒนาเครื่องดื่มจากน้าหมักมะขามป้อม ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASTC) ครั้งที่ 4.2559 5. Quantitative Analysis of Gallic Acid Extracted from Five Varieties of Fresh and Preserved Emblica officialis Gaertn Fruits after Storage at 4 oC In 18th ICFND 2016. Bangkok. Thailand.2559 จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากมะขามป้อมที่มีวิตามินซี และมีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระหัวเรื่อง: มะขามป้อม | Indian gooseberry | อาหารเพื่อสุขภาพ | ยาสมุนไพรสารสนเทศออนไลน์: Click here to access IP-fulltext สาระสังเขป: Indian gooseberry or Emblic (Phyllanthus emblica Linn.), or Amala (Hindu) was found in all part of Thailand and Southeast Asia. This fruit has a high vitamin C content and herbal nutrition. In the past, Indian gooseberry was used as Ayurveda (traditional system of medicine practiced in India). Currently, Indian gooseberry was developed for cosmetics and various healthy food products. It also used in beauty business, tanning and dyeing leather. The objectives of this research project were to study the shelf life of Indian gooseberry for processed food products and to develop healthy food products from Indian gooseberry and their packaging. The results showed that fresh Indian gooseberry of five clones named LTK3, KR1, KR2, KR3 and KR4 could be kept at 5 and 15C for 2-3 weeks in three types of plastic film which were Active Modle4 (M4), Polypropylene (PP), and Polyethylene (PE). Both clone KR3 and KR4 have more fruit flesh with a bit astringent and contain vitamin c, gallic acid including tannin contents in the range of 23.47-24.66mg/g 2.39-7.25g/kg and 198.38-471.71g/kg, respectively. In addition, Indian gooseberries preserved in 5%, 10% and 15 % (w/v) sodium chloride solutions and kept at 4C were randomly selected over storage time of month 1, 2, 3 and 4 to conduct osmotic dehydration process. The results showed that Indian gooseberry in 20% (w/v) pickle solution could be kept at least 4 months without spoilage. Five developed food products from Indian gooseberry pickled were osmotically dehydrated Indian gooseberry, Indian gooseberry in syrup, Indian gooseberry leather, Indian gooseberry gummy candy and pasteurized Indian gooseberry cider ready to drink. The antioxidant activity and vitamin C content of each product were 55-70% and 14-1,800 mg/ 100 g. The shelf-life of products was 1-4 months at 4C and 25C. Regarding to the consumer packages for healthy Indian gooseberry food products, they were designed in accordance with product characteristics and packaging requirements. The concept of golden ratio and visual hierarchy were utilized for visual attraction. Thus, the package can represent itself on a shelf, with the logo Daily C that referred to "Vitamin C for everyday" as core of graphic. สาระสังเขป: มะขามป้อม หรือมะขามป้อมอินเดีย (อังกฤษ: Indian Gooseberry, Emblic) หรือ อะมะ-ลา (ภาษาฮินดู: Amala) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn. พบทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพร ในอดีตใช้เป็นยาอายุรเวท (การแพทย์แผนโบราณของอินเดีย) ปัจจุบันมีการพัฒนามะขามป้อมเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป, เป็นเครื่องสำอาง และอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ จำนวนมาก. นอกจากนี้ ยังมีการใช้มะขามป้อมในธุรกิจเสริมความงาม และอุตสาหกรรมฟอกย้อมหนังอีกด้วย. เป้าหมายของโครงการวิจัยนี้เพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษาผลมะขามป้อมหลังการเก็บเกี่ยวสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากมะขามป้อมและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากมะขามป้อม ผลจากการศึกษา พบว่า มะขามป้อมสด สายต้น LTK3 KR1, KR2, KR3 และ KR4 สามารถเก็บได้ในฟิล์มพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ Active Modle4 (M4), Polypropylene (PP) และ Polyethylene (PE) ที่อุณหภูมิ 5 และ 15 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งสายพันธุ์ KR3 และ KR4 เป็นสายต้นที่มีเนื้อมาก, มีรสชาติฝาดเล็กน้อย และมีปริมาณวิตามินซี, กรดแกลลิก รวมถึงเเทนนิน อยู่ในช่วง 23.47-24.66, 2.39-7.25 และ 198.38-471.71 กรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ. นอกจากนี้ ได้ศึกษาการดองผลมะขามป้อมในน้ำเกลือที่ระดับความเข้มข้น 10%, 15% และ 20% และเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สุ่มตัวอย่างระหว่างการเก็บรักษาเดือนที่ 1, 2, 3 และ 4 เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มะขามป้อมแช่อิ่มอบแห้ง พบว่า สามารถเก็บมะขามป้อมในน้ำเกลือที่ความเข้มข้น 20% ได้นานอย่างน้อย 4 เดือน โดยไม่เกิดการเสื่อมเสีย จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มะขามป้อมแช่อิ่มอบแห้ง, มะขามป้อมลอยแก้ว, มะขามป้อมแผ่น กัมมี และน้ำไซเดอร์มะขามป้อมพร้อมดื่มแบบพาสเจอไรส์ แต่ละผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติความสามารถเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณวิตามินซี อยู่ในช่วง 55-70% และ 14-1,800 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม อายุการเก็บรักษาประมาณ 1-4 เดือน ที่อุณหภูมิ 4 และ 25 องศา-เซลเซียส. สำหรับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีกผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากมะขามป้อมได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์และความต้องการบรรจุภัณฑ์ด้วยหลักสัดส่วนทองคำ (golden ratio) และการสร้างจุดนำสายตา, เส้นนำสายตา และเส้นทางเดินสายตา ที่เอื้อต่อการมองเห็นกราฟิกทั้งหมดในการกวาดสายตาเพียงครั้งเดียว ช่วยดึงดูดสายตา เพื่อสามารถวางขายบนชั้นวางได้โดยไม่ต้องมีพนักงานขาย โดยใช้โลโก้ Daily C ที่สื่อสารถึง "วิตามินซีสำหรับทุกวัน" เป็นหลักของกราฟิก จากผลการทดลอง ผลิตภัณฑ์มะขามป้อมที่ได้ ยังเหมาะแก่การนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่ระดับวิสาหกิจชุมชนจนถึงอุตสาหกรรม.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Not For Loan 2022-07-20 IP00053

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300