อนุสิทธิบัตรเรื่อง:ระบวนการและสูตรผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียว. (สิทธิบัตร 2558)= สิทธิบัตรเลขที่:1501003838 Rochana Tangkoonboribun

โดย: Rochana Tangkoonboribun (CONFIDENTIAL)
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-01, Sub Proj. no.3; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2018 รายละเอียดตัวเล่ม: 130 p. table, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยละลายช้า | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:ได้ปุ๋ยอินทรีย์ละลายช้า และการปลดปล่อยธาตุอาหาร ทดลอง Self-life อยู่ที่ 6 เดือน การนำไปต่อยอด:การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี/ผู้ประกอบการผลิตปุ๋ยจากวัตถุดิบอินทรีย์ จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียวหัวเรื่อง: ข้าว | ปุ๋ย | การปลูกข้าว | ประสิทธิ์ บำรุงสุขสาระสังเขป: Production of slow release of organic-chemical fertilizer consists of two steps: fermentation of organic fertilizer from fermented cow dung and mixed with chemical fertilizer. The chemical fertilizer including urea, diammoniumphosphate and potassium chloride and binder such as 10% of zeolite, bentonite, smectite and silicon and 10% of dolomite. The slow release of organic-chemical fertilizer formulated as 4 grades e.g. 3-6-6, 4-4-4, 6-3-3 and 6-6-6 and forming two types granule and pellet. The dissolution testing found potassium was highest in fertilizer leachate in both forming. The fertilizer in granule form was released longer period than pellet form. Two appropriate binders for slow release are two types of zeolite and silicon. The pot trial was set for study the effect of slow release of organic-chemical fertilizer on RD41 rice growth and production. The RCBD experiment on 22 treatments e.g. slow release of organic fertilizer 2 forms of 4 grades e.g., 3-6-6, 4-4-4, 6-3-3 and 6-6-6 with and without zeolite, smectite, bentonite and silicon binding applied only one time after sowing 15 days at the rate of 312.5 Kg/ha compared to control and conventional treatment. That was found a highly significant difference at confidence level 99% through the use of 4-4-4+zeolite in granule form got maximum yield with 14.43 g/pot (13.5 ton/ha), followed by use of chemical fertilizer grade 16-20-0 rate of 312.5 Kg/ha at 15 day after planting and fertilizer grade 46-0-0 rate 62.5 Kg/ha at 45 days after planting and slow release organic-chemical fertilizer grade 6-6-6 without binder with granule form applied with the rate of 312.5 Kg/ha at 15 day after planting got yield 14.10 g/pot (13.25 ton/ha) and 13.39 g/pot (13.06 ton/ha), respectively. The chemical soil properties after planting of slow release organic-chemical fertilizer were greater than control and chemical fertilizer. Especially, 4-4-4 and 6-6-6 with zeolite binding that increased pH of soil, cation exchange capacity, available phosphorus and exchangeable potassium in soil. The two times of field trials were set for study the effect of slow release of organic-chemical fertilizer on RD41 rice growth and production. First trial in plot size is 6x10 meters with Completely Randomized Block Design (RCBD) consists of 4 replication on 6 treatments s e.g. control, chemical fertilizer grade 16-20-0 at the rate of 156.25 Kg/ha as basal application and top dress with fertilizer grade 46-0-0 at the rate of 62.5 Kg/ha at 45 days after planting (conventional practice), chemical fertilizer grade 16-20-0 with 46-0-0 (2:1) at the rate of 156.25 Kg/ha applied at 20 days after planting and top dress with fertilizer grade 16-20-0 at the rate of 156.25 Kg/ha at 45 days after planting (farmer practice), slow release of organic-chemical fertilizer grade 4-4-4 combination with zeolite 10% at a rate of 312.5 Kg/ha at 20 days after sowing (4-4-4+Zeolite), slow release of organic-chemical fertilizer grade 6-6-6 combination with silicon 10% at a rate of 312.5 Kg/ha at 20 days after sowing (6-6-6+silicon), slow release of organic-chemical fertilizer grade 6-6-6 combination with zeolite 10% at a rate of 312.5 Kg/ha at 20 days after sowing (6-6-6+Zeolite). The maximum yield recorded in conventional practice with 9.63 ton/ha, followed by farmer practice and 6-6-6+zeolite with yield 9.38 and 7.81 ton/ha, respectively. The chemical properties of soil before and after planting were no significant difference. The economic returns found that the use of chemical fertilizer grade 16-20-0 rate of 156.25 Kg/ha as basal application and top dressing with 46-0-0 at 62.5 Kg/ha at 40 days was 7.07 was highest economic return, followed by slow release of organic chemical fertilizer grade 6-6-6+zeolite at a rate of 312.5 Kg/ha after sowing 20 days only that the economic return of 6.68. Second trial in plot size 20x40 meter in randomized completely design without replication on 4 treatments e.g., control, slow release of organic-chemical fertilizer grade 6-6-6 binding with silicon 10% (6-6-6+silicon), slow release of organic-chemical fertilizer grade 6-6-6 binding with zeolite 10% (6-6-6+zeolite) and chemical fertilizer grade 16-20-0 with 46-0-0 (2:1) at the rate of 156.25 Kg/ha applied at 20 days after planting and top dress with fertilizer grade 16-20-0 at the rate of 156.25 Kg/ha at 45 days after planting (farmer practice). The maximum yield of RD41 rice was farmer practice with 11.56 ton/ha, followed by 6-6-6+zeolite and 6-6-+silicon with 10.94 and 9.63 ton/ha, respectively. The chemical soil properties of slow release of organic-chemical fertilizer were better than chemical fertilizer. Especially in 6-6-6+zeolite, there was available phosphorus and exchangeable potassium still greater than chemical fertilizer after planting. The economic returns that all fertilizer is worth the investment. Especially, the slow release organic fertilizer chemical grade 6-6-6+zeolite at a rate of 312.5 kg / ha after sowing 20 days only once. Get the maximum economic return is 14.50. The six farmer’s field trials using slow release of organic-chemical fertilizer grade 6-6-6+zeolite, which yield 4.38, 3.94, 4.06, 4.63, 1.88 and 5.44 ton/ha, respectively. Those farmers are satisfied after using 66.67% and 33.33% unsatisfied. The shelf life of slow release of organic fertilizer grade 6-6-6+zeolite can be keep among 10 months with total nitrogen, total of available phosphorus and total of soluble potassium in each month more than 6 percent with organic matter more than 10% (pass the standard). After the production of slow release of organic fertilizer should keep in plastic bag and tile with plastic tile and keep in nylon bag and seal again with sewing machine. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การหมักปุ๋ยอินทรีย์ จากการหมักมูลโค และการผสมกับแม่ปุ๋ย ได้แก่ ยูเรีย, ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต และโพแทสเซียมคลอไรด์ สารเชื่อม ได้แก่ ซีโอไลท์, เบนโทไนท์ และสเมคไทท์ ร้อยละ 10 และโดโลไมท์ร้อยละ 10 ผสมให้ได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี 4 สูตร คือ 4-4-4, 6-6-6, 6-3-3 และ3-6-6 แล้วนำไปขึ้นรูปสองแบบคือ รูปเม็ดกลมโดยใช้จานปั้นเม็ดปุ๋ย และรูปเม็ดทรงกระบอกโดยใช้เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตรต่างๆ ทดสอบการละลาย พบว่าสูตรปุ๋ย 6-6-6 มีปริมาณธาตุอาหารหลักในน้ำชะปุ๋ยรวมสูงที่สุดทั้งในรูปที่อัดเม็ดและปั้นเม็ด แต่การปุ๋ยปั้นเม็ดจะปล่อยปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นระยะเวลานานกว่าปุ๋ยอัดเม็ด สารเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการนำมาเป็นส่วนผสมของปุ๋ยละลายช้ามี 2 ชนิด คือ ซีโอไลท์ และกรดซิลิคอน การทดสอบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าต่อการเจริญเติบโตของข้าวในระดับเรือนทดลองวางแผนการทดลองทางสถิติแบบ Completely Randomized Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 22 ตำรับการทดลอง ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีอัดเม็ด และปุ๋ยอินทรีย์เคมีปั้นเม็ด สูตร 3-6-6, 4-4-4, 6-3-3 สาระสังเขป: และ 6-6-6 ที่ไม่มีสารเชื่อม และมีสารเชื่อม 4 ชนิด คือ สเมคไทท์, เบนโทไนท์, ซีโอไลท์ และกรดซิลิกอน (รวม 20 ตำรับ) ใช้ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่หลังจากการหว่านข้าว 15วัน เปรียบเทียบกับตำรับควบคุม ที่ไม่มีการใส่ปุ๋ยใดๆเลย และตำรับที่ใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อข้าวอายุ 45 วันแต่งหน้าด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 4 ซ้ำ ในข้าวพันธุ์ กข41 พบว่าผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข41 ที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตรต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 4-4-4 ที่ใช้ซีโอไลท์เป็นสารเชื่อม ในรูปแบบปั้นเม็ด อัตรา 50 กก./ไร่ หลังปลูก 15 วันเพียงครั้งเดียว ข้าวมีน้ำหนักสดเมล็ดข้าวสูงสุด คือ 14.43 กรัม/กระถาง (2.16 ตัน/ไร่) รองลงมาคือการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กก./ไร่ หลังปลูก 15 วัน แล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กก./ไร่ เมื่อข้าวอายุ 45 วัน และการใช้ปุ๋ยสูตร 6-6-6 ที่ไม่ใช้สารเชื่อม ในรูปแบบปั้นเม็ด อัตรา 50 กก./ไร่ หลังปลูก 15 วันเพียงครั้งเดียว ที่ข้าวมีการน้ำหนักสดเมล็ด 14.10 (2.12 ตัน/ไร่) และ 13.93 กรัม/กระถาง (2.09 ตัน/ไร่) ตามลำดับ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าส่งผลให้คุณสมบัติทางเคมีของดินหลังปลูกดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเลย โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 4-4-4 และ 6-6-6 ที่ใช้ซีโอไลท์เป็นสารเชื่อมแบบปั้นเม็ด ที่ทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน, ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก, ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีค่ามากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การทดสอบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าต่อการเจริญเติบโตของข้าวในระดับสนาม ทำการทดลอง 2 ครั้ง ในครั้งที่ 1 ได้ปลูกข้าวพันธุ์ กข41 แบบนาหว่านน้ำตม ในแปลงย่อยขนาด 6 x 10 เมตร (24 ตารางเมตร) ด้วยแผนการทดลองทางสถิติแบบ Completely Randomized Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง คือ ตำรับควบคุม (Control), ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และสูตร 46-0-0 ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวมีอายุ 45 วัน (Conventional) , ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 (2 ส่วน) ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (1 ส่วน) ใส่ในอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน และสูตร 16-20-0 ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวมีอายุ 45 วัน (Farmer) , ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 4-4-4 ผสมซีโอไลท์ ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน (4-4-4+Zeolite), ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 6-6-6 ผสมกรดซิลิกอน ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน (6-6-6+Silicon) และ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 6-6-6 ผสมซีโอไลท์ ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน (6-6-6+Zeolite) จำนวน 4 ซ้ำ โดยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่เป็นปุ๋ยรองพื้น และแต่งหน้าด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 ที่อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อข้าวอายุ 40 วัน ข้าวมีผลผลิตสูงสุดคือ 1.54 ตัน/ไร่ รองลงมาคือการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 (2 ส่วน) ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (1 ส่วน) ใส่ในอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน และสูตร 16-20-0 ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวมีอายุ 45 วันและการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 6-6-6 ผสมซีโอไลท์ ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน เพียงครั้งเดียว ตามลำดับ โดยมีผลผลิตข้าว 1.50 และ 1.25 ตัน/ไร่ ตามลำดับ โดยผลของคุณสมบัติทางเคมีของดินระหว่างดินก่อนปลูกและหลังปลูกพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้ปุ๋ยในการเพิ่มผลผลิต พบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่เป็นปุ๋ยรองพื้น และแต่งหน้าด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 ที่อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อข้าวอายุ 40 สาระสังเขป: วัน ได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด คือ 7.07 และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 6-6-6 ผสมซีโอไลท์ ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน เพียงครั้งเดียว ที่มีค่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเท่ากับ 6.68 ในครั้งที่ 2 ในแปลงขนาด 20x40 เมตร โดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ที่มี 4 ตำรับ คือ ควบคุม (Control), ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 6 – 6 – 6 ผสมซิลิกอน 10 เปอร์เซ็นต์ และโดโลไมท์ 10 เปอร์เซ็นต์ ใส่เมื่อข้าวมีอายุ 15 วัน เพียงครั้งเดียว (6-6-6+Silicon), ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 6 – 6 – 6 ผสมซีโอไลท์ 10 เปอร์เซ็นต์ และโดโลไมท์ 10 เปอร์เซ็นต์ ใส่เมื่อข้าวมีอายุ 15 วัน เพียงครั้งเดียว (6-6-6+Zeolite) และปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 ผสมกับสูตร 46 – 0 – 0 ในสัดส่วน 2:1 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะเวลา 45 วัน (Farmer) ไม่มีซ้ำ ผลผลิตข้าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16–20–0 ผสมกับสูตร 46 – 0 – 0 ในสัดส่วน 2 : 1 อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และปุ๋ยเคมีสูตร 16–20–0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะเวลา 45 วัน เป็นตำรับการทดลองที่มีน้ำหนักแห้งเมล็ดมากที่สุด คือ 1.85 ตัน/ไร่ รองลงมาคือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 6 – 6 – 6 ผสมซีโอไลท์ 10 เปอร์เซ็นต์ และโดโลไมท์ 10 เปอร์เซ็นต์ และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 6 – 6 – 6 ผสมซิลิกอน 10 เปอร์เซ็นต์ และโดโลไมท์ 10 เปอร์เซ็นต์ ใส่เมื่อข้าวมีอายุ 15 วัน เพียงครั้งเดียว ที่มีน้ำหนักแห้งเมล็ด 1.75 และ 1.54 ตัน/ไร่ ตามลำดับ โดยผลของคุณสมบัติทางเคมีของดินหลังปลูกที่มีการใส่ปุ๋ยจะมีคุณสมบัติทางเคมีของดินที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 6-6-6 ที่ผสมซีโอไลท์ และโดโลไมท์ร้อยละ 10 ดินหลังปลูกจะมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่สูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้ปุ๋ยในการเพิ่มผลผลิต พบว่าทุกตำรับที่ใส่ปุ๋ยมีคุ้มค่าแก่การลงทุน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 6-6-6 ผสมซีโอไลท์ ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านข้าว 20 วัน เพียงครั้งเดียว ได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด คือ 14.50 การทดสอบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าต่อการเจริญเติบโตของข้าวในระดับไร่นาเกษตรกร ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครจำนวน 6 ท่าน ซึ่งได้รับผลผลิต 0.70, 0.63, 0.65, 0.74, 0.30 และ 0.87 ตัน/ไร่ ตามลำดับ เกษตรกรมีความพึงพอใจหลังการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าเพียงครั้งเดียวในนาข้าวร้อยละ 66.67 และ ไม่พึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 33.33 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสูตร 6-6-6 หลังจากการผลิตแล้วเก็บในถุงพลาสติกแล้วใช้สายพลาสติกรัดปากถุงก่อนบรรจุในถุงไนล่อน สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 10 เดือน โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานาน 10 เดือน
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Not For Loan 2022-07-01 IP00045

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300