การพัฒนาสายพันธุ์และการส่งเสริมการปลูกมะขามเปรี้ยวเป็นการค้า = varietal development and promotion of commercial cultivation of sour tamarind

โดย: ชลธิชา นิวาสประกิติ
ผู้แต่งร่วม: Cholticha Niwaspragrit Piyanee Ratanachamnong Montree Keawdoung Maitree Munyanont Prayut Kavilavas Sirasit Wongsatchanan Kanlaya Rattanathawornkiti | ชลธิชา นิวาสประกฤติ กัลยา รัตนถาวรกิติ มนตรี แก้วดวง ปิยานี รัตนชำนอง ไมตรี มัณยานนท์ ประยุทธ กาวิละเวส สุรสิทธิ์ วงษ์สัจจานันท์ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: ภ.53-02/ย. 5/รายงานฉบับที่ 1 (ฉบับสมบูรณ์)ข้อมูลการพิมพ์: Pathum thani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2019 รายละเอียดตัวเล่ม: 52 p. tables 30 cm.หัวเรื่อง: มะขาม มะขามเปรี้ยว การปลูกมะขามสารสนเทศออนไลน์: Click here to access fulltext สาระสังเขป: มะขาม (Tamarind) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tamarindus indica Linn. อยู่ในวงศ์ Caesalpiniaceae มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา พบทั่วไปในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ผลยืนต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ดอก, ใบ, ฝัก, เมล็ด และลำต้น มีการใช้ประโยชน์ในประเทศในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป, เครื่องปรุง, เครื่องเทศ, ยา, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอาง. จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางเคมีของฝักมะขามเปรี้ยวในแปลงรวบรวมพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ 2532 ที่สถานีวิจัยลำตะคอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 1,025 ต้น ทำการศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2553-2556 โดยลักษณะทางกายภาพที่ศึกษา ได้แก่ น้ำหนักสดฝัก, น้ำหนักสดเปลือก, น้ำหนักสดเนื้อ, น้ำหนักสดเมล็ดและรก, ความยาวฝัก, ความกว้างฝัก, ความหนาฝัก และความหนาเนื้อ ในปี พ.ศ 2556 สามารถคัดได้ 15 สายต้น มีน้ำหนักฝักเฉลี่ยอยู่ในช่วง 39.8-70.0 กรัม ความยาวฝักอยู่ในช่วง 12.2-19.0 เซนติเมตร ความกว้างฝักอยู่ในช่วง 2.5- 3.5 เซนติเมตร ความหนาฝักอยู่ในช่วง 1.8-2.3 เซนติเมตร และความหนาเนื้ออยู่ในช่วง 4.9-7.1 มิลลิเมตร โดยมีน้ำหนักเนื้อ, น้ำหนักเปลือก, น้ำหนักเมล็ดและรก คิดเป็นร้อยละ 62.01, 27.14 และ 22.13 ของน้ำหนักฝักตามลำดับ. จากการศึกษาลักษณะทางเคมีของฝักมะขามเปรี้ยว 15 สายต้นที่ผ่านการคัดเลือกจากปี พ.ศ 2556 พบว่า ปริมาณของกรดทาร์ทาริกของมะขามเปรี้ยวซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่พบมากในมะขามเปรี้ยว มีค่าอยู่ระหว่าง 15.37-27.95 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง โดยสายต้น 05_03 เป็นสายต้นที่มีปริมาณกรดทาร์ทาริกมากที่สุด (27.95 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) และสายต้น 01_01 เป็นสายต้น ที่มีปริมาณกรดทาร์ทาริกน้อยที่สุด (15.37 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) ในส่วนศึกษาปริมาณน้ำตาลกลูโคสพบว่าตัวอย่างมะขามเปรี้ยวมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสระหว่าง 0.196-0.294 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง โดยในตัวอย่าง 41_12 มีปริมาณน้ำตาลกลูโคสสูงที่สุด (0.294 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง) ในขณะที่ตัวอย่าง 01-01 และตัวอย่าง 15-01 มีปริมาณน้ำตาลกลูโคส 0.292 และ 0.262 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง รองลงมาตามลำดับ ตัวอย่าง 41_17 มีปริมาณน้ำตาลกลูโคสน้อยที่สุด (0.196 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง การศึกษาปริมาณน้ำตาลฟรักโทสในมะขามเปรี้ยวพบว่า มีปริมาณน้ำตาลฟรักโทสหว่าง 0.288-0.418 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง โดยในตัวอย่าง 01_01 มีปริมาณน้ำตาลฟรักโทสสูงที่สุด (0.418 มิลลิกรัม ต่อ100 กรัมน้ำหนักแห้ง) ในขณะที่ตัวอย่าง 41_12 และตัวอย่าง 37_01 มีปริมาณน้ำตาลฟรักโทส 0.402 และ 0.390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง รองลงมา ตามลำดับ ตัวอย่าง 05-03 มีปริมาณน้ำตาลฟรักโทสน้อยที่สุดคือ 0.288 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของน้ำตาลทั้งสองชนิด พบว่า ปริมาณน้ำตาลฟรักโทสมากกว่าน้ำตาลกลูโคส 30% วิเคราะห์ปริมาณสารฟินอลิกทั้งหมด สารฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่า มะขามเปรี้ยวทั้ง 15 สายต้นมีปริมาณสาร ฟินอลิกทั้งหมดอยู่ระหว่าง 9.49-17.83 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม สารฟลาโวนอยด์มีปริมาณอยู่ระหว่าง 10.20-11.80 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH อยู่ในช่วง 12.56-48.36 มิลลิลิตร ต่อ 100 กรัม, ซึ่งสายต้น 37_24 เป็นสายต้นที่มีปริมาณสารทั้งสองชนิดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด และสายต้น 15_01 เป็นสายต้นที่มีปริมาณสารทั้งสองชนิดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระน้อยที่สุด. Tamarind (Tamarindus indica Linn,) is a fruit tree in the subfamily Caesalpinioceae indigenous to tropical Africa.Tamarind was introduced into many tropical areas around the world including Southeast Asia. Various parts of tamarind tree have been used. In Thailand, tamarind fruits are used in processing food products, condiments, pharmaceutical products, skin care products and cosmetics. Germplasm collection plot of 1,025 sour tamarind trees was set up in Lam Takhong Research Station, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province in 1989. containing 1,025 trees. Evaluation and selection of tamarind for commercial planting was carried out between 2010 and2013. สาระสังเขป: Preliminary evaluations of physical properties of all collections were conducted by analyzing pod flesh weight, proportion of pod coat: flesh: seed: fibrous tissue, pod length, pod and flesh thickness. Fifteen trees were also selected for further chemical properties evaluations by analyzing tartaric content, glucose, fructose, total phenolic content, flavonoid and antioxidant property. Results of the study showed variation in chemical properties among the selected trees. The highest values were found in clone 05_03 for tartaric acid content of 27.95 mg/g dry weight, clone 41_12 for glucose content of 0.294 mg/100 g dry weight, clone 01_01 for fructose content of 0.418 mg/100 g dry weight, and clone 37_24 for total phenolic content, flavonoid content and antioxidant property. The selected tamarind clones will be used as commercial planting for the uses in relation to the chemical properties.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300