โครงการศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทางกระบวนการจุลชีวะ : การผลิตอาหารสัตว์จากมันสำปะหลังและของเหลือทิ้งทางการเกษตร = protein enrichment of cassava for animal feeding : production on animal feed from cassava and agriculture by-products / Poonsook Atthasampunna...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Atthasampunna, Poonsook | Hanbanchong, Ankana | Opatpatanakit, Yanin | Pattanavibul, Siriphong | Sheevacharoen, Uraiwan | Sirianuntapiboon, Suntud | โอภาสพัฒนกิจ, ญาณิน | ชีวเจริญ, อุไรวรรณ | ศิริพงษ์ พัฒนวิบูลย์ | ศิริอนันต์ไพบูลย์, สันทัด | หาญบรรจง, อังคณา | พูนศุข อัตถะสัมปุณณะ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research Biotechnology Department
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 26-28 ; Rep. no. 1ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 1990 รายละเอียดตัวเล่ม: 73 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production on animal feed from cassava and agriculture by-products | โครงการศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทางกระบวนการจุลชีวะ การผลิตอาหารสัตว์จากมันสำปะหลังและของเหลือทิ้งทางการเกษตร | การผลิตอาหารสัตว์จากมันสำปะหลังและของเหลือทิ้งทางการเกษตรหัวเรื่อง: Agricultural wastes | Cassava | Cattle | Feeds | Fermentation | Fermented product | Leuceana leaves | Poultry -- Manure | Rice bran | Rice straw | Silage | Ureaสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: 1. การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของฟางข้าวด้วยด่าง: เป็นการศึกษาหาระดับความเข้มข้นของด่างคือโซเดียมไฮดรอกไซด์และระยะเวลาการบ่มฟางข้าวที่เหมาะสม โดยใช้ระดับความเข้มข้นของด่าง 6 ระดับด้วยกัน คือ 0, 2, 3, 4, 5 และ 6% และระยะเวลาในการบ่ม 4 ระยะเวลา คือ 0, 1, 2 และ 3 วัน. ผลการวิเคราะห์การย่อยได้ในหลอดทดลอง พบว่าการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุดีที่สุด เมื่อฟางข้าวปรับปรุงด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ระดับความเข้มข้น 5% และใช้เวลาบ่มฟางข้าวนาน 2 วัน.สาระสังเขป: 1. Pretreatment of rice straw: The experiment was designed to determine the optimum level and reaction time of alkali treatment on rice straw to improve digestibility. The rice straw was treated with 6 levels of NaOH (0, 2, 3, 4, 5, 6 percent) by allowing the straw to react with alkali for 1 - 3 days. The results on in vitro organic matter digestibility of the alkali-treated straw suggested that in order to increase the nutritive value of rice straw the optimum level of NaOH was 5 percent while the reaction time was 2 days.สาระสังเขป: 2. การหาสูตรอาหารหมัก : เริ่มจากการศึกษาหาอัตราส่วนของวัตถุดิบและระยะเวลาการหมักอาหารสัตว์ที่เหมาะสม. อาหารสัตว์มีสัดส่วนของฟางข้าวปรับปรุงแล้ว, มันเส้นและมูลไก่ ในแต่ละสูตรต่างระดับกันดังนี้ คือ 60, 50, 40% ; 40, 30, 20% และ 30, 20, 10% ตามลำดับ และระยะเวลาการหมัก 7 ระยะเวลาคือ 0, 10, 20, 30, 40, 50 และ 60 วัน. พบว่าความเป็นกรดด่างของอาหารหมักทุกสูตรจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 10 วันแรกของการหมัก, และต่อจากนั้นไปจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักคืออยู่ระหว่าง 4.9-5.5. การเปลี่ยนแปลงของการย่อยได้ของวัตถุอินทรีย์วัตถุมีแนวโน้มในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของค่าความเป็นกรดด่าง, ส่วนระยะเวลาการหมักไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณโปรตีนในอาหารหมักทุกสูตร. จากการเปรียบเทียบสูตรอาหารหมัก 7 สูตร ได้คัดเลือก 2 สูตร ไว้ศึกษาต่อไป คือ สูตรที่มีอัตราส่วนของฟางข้าวปรับปรุงแล้ว : มันเส้น : มูลไก่ เท่ากับ 50:30:20 และ 40:30:30.สาระสังเขป: 2. Feed formulation: The experiment was carried out to determine the level of ingredients to be included in the preparation of the silage and the time for ensiling. Variables of main ingredients on NaOH-treated rice straw, cassava and poultry manure were : 60, 50, 40 percent; 30, 20 percent; and 30, 20, 10 percent, respectively, and the ensiling time ranged from one day to 60 days. From the results, two combination (NaOH-treated rice straw, cassava, and poultry manure) of 50:30:20 and 40:30:30 at the ensiling period of 60 days were tentatively selected fro further study.สาระสังเขป: 3. การทดลองเลี้ยงโคระยะยาว : เป็นการศึกษาผลของการใช้อาหารหมักต่อการเจริญเติบโตของโคทดลอง โดยใช้โคลูกผสมพันธุ์โฮลสไตน์ อายุ 6 เดือน. แบ่งโคออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว, โคแต่ละกลุ่มเป็นเพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 3 ตัว. โคกลุ่ม 1 เลี้ยงด้วยอาหารข้นและหญ้าขนสด, โคกลุ่ม 2 และ 3 เลี้ยงด้วยอาหารข้นและอาหารหมักสูตร 3 และ 5 ตามลำดับ. การทดลองเลี้ยงโคใช้เวลา 22 สัปดาห์. ผลการทดลองพบว่า อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของโคกลุ่ม 1-3 ตลอดการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน คือ เท่ากับ 0.43, 0.36 และ 0.48 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน. ประสิทธิภาพการใช้อาหารในการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เฉลี่ยในรูปวัตถุแห้งและโปรตีน ก็ไม่มีความแตกต่างกันในโคทั้ง 3 กลุ่ม คือ เท่ากับ 14.00, 1.61; 13.17, 1.42; และ 11.44, 1.35 กิโลกรัม ตามลำดับ. ส่วนประสิทธิภาพการใช้อาหารในรูปยอดโภชนะย่อยได้ของโคกลุ่ม 3 มีค่า 5.82 กิโลกรัม ซึ่งดีกว่าโคกลุ่ม 1 (8.17 กิโลกรัม) และกลุ่ม 2 (7.44 กิโลกรัม) แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม 1 และ 2. โคทั้ง 3 กลุ่มมีสุขภาพปกติโดยดูจากผลวิเคราะห์ของค่าปริมาตรเม็ดโลหิตแดง อัดแน่น, ค่ายูเรีย ไนโตรเจน และค่าความเข้มฮีโมโกลบิน.สาระสังเขป: 3. Feeding trials: An experiment was carried out at an experimental station to study the effect of the two selected silage, formulae 3 and 5, on the growth performance of crossbred (3/4 Holstein Friesian x 1/4 Native) growing dairy cattle for a period of 22 weeks. Fifteen animals were assigned to 3 treatments with 5 replications according to randomized completely block design. Animals in treatment 1 were fed with para grass (Brachiaria mutica) as a control group. Those in treatment 2 and 3 were fed with formulae 3 and 5 silage, respectively. The animals also received different amounts of concentrate mix, which was added and adjusted to make isonitrogenous intake in all treatments.สาระสังเขป: 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร : ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารหมัก และวิธีการเลี้ยงโคด้วยอาหารหมักให้แก่เกษตรกรในอำเภอบ้านโป่งเป็นผลสำเร็จ เรียบร้อยแล้ว. อาหารหมักสูตรปรับปรุงใหม่ที่เกษตรกรผลิตขึ้นใช้เลี้ยงโคประกอบด้วย ฟางข้าว ปรับปรุงแล้ว, มันเส้น, มูลไก่, ยูเรีย, รำข้าว และใบกระถินในสัดส่วน 25:20:25:1:10:19 ระยะเวลาการเลี้ยง 29 สัปดาห์, โดยแบ่งโคออกเป็น 2 กลุ่ม ผลการเลี้ยงโค พบว่า โคกลุ่ม 1 มีการเพิ่มน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 0.6 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ซึ่งไม่แตกต่างกับโคกลุ่ม 2 ที่กินอาหารหมัก ซึ่งมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเฉลี่ย 0.57 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน. ประสิทธิภาพการใช้อาหารในการเพิ่มน้ำหนักตัว 1กิโลกรัมเฉลี่ยในรูปกิโลกรัมของวัตถุแห้งของโคกลุ่ม 2 สูงกว่ากลุ่ม 1 ตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 11.19 และ 12.74 กิโลกรัม ตามลำดับ.สาระสังเขป: 4. Technology transfer: The technology developed has been transferred successfully to farmers in rural community. Feeding trials using new formulated silage containing NaOH-treated straw:cassava:manure:urea:rice bran:leuceana leaves at the combination of 25:20:25:1:10:19 were carried out under farm condition in the village for a period of 29 weeks. Ten male cattle: ¾ Holstein Friesian x¼ Native (8) and ¾ Brown Swiss x ¼ Native (2), age between 9-15 months, were assigned to 2 treatments with 5 replications according to randomized completely bloxk design. Animals in treatment a were fed with rice straw and concentrate mix as a control group whereas in treatment 2 received only silage.สาระสังเขป: 5. การเปลี่ยนแปลงจำนวนของจุลินทรีย์ต่างชนิดในระหว่างการหมักอาหารสัตว์ : พบว่าปริมาณของแบคทีเรีย, ยีสต์, รา และ coliform จะเปลี่ยนแปลงในทางลดต่ำลงเมื่อระยะเวลาการหมักเพิ่มขึ้น. และจะไม่มียีสต์, รา และ Coliform หลงเหลืออยู่เลยเมื่อเสร็จสิ้นการหมักซึ่งเป็นเวลา2 เดือน. ส่วนแลกติกแอซิดแบคทีเรีย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการหมักจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นจาก 1x103 เซลล์ต่อกรัมอาหารหมักเมื่อเริ่มต้นการหมัก 8x103 เซลล์ต่อกรัมอาหารหมัก เมื่อสิ้นสุดการหมักเวลา 2 เดือน. -ผู้แต่งสาระสังเขป: 5. Microbiological study: The change of microbial population in the silage during ensiling was determined quantitatively. The number of yeasts, molds and coliform decreased with the increasing ensiling time and were not detected at the end of ensiling period of 2 months. The lactic acid bacteria became dominant at the end of ensiling period with the population of 8 x 10 8 per gram of silage. Authorsสาระสังเขป: Average daily gain of animals for treatments 1, 2 and 3 did not show significant difference. Also little difference was found on feed efficiency per kilogram weight gain in terms of dry matter and crude protein. The feed efficiency in term of total digestible nutrients of treatment 3 was 5.82 kilograms which was significantly higher than that of treatment 1 and treatment 2 but there was no difference between treatments 1 and 2. The health of the animals in all treatments was found to be normal as evaluated from the results on the average packed cell volume, blood urea nitrogen and haemoglobin.สาระสังเขป: The objective of the study was to develop high quality cattle feed from cassava and other agricultural by-products and to use the feed for long term feeding trials. The study was divided into 5 parts:สาระสังเขป: The total digestible nutrients and the dry matter digest bility of formulae 1 and 3 were significantly higher than those of formulae 2, 4 and 5. The crude protein digestibility of foumulae 3 was highest but there was no significant difference among formulae 3, 4 and 5. Based on the results obtained from the digestion trial with rams, fourmulae 3 and 5 were selected to conduct long term feeding trials with cattle.สาระสังเขป: There was no significant difference on the weight gain between the 2 treatments. The average daily weight gain was 0.6 kilogram per head for the straw plus concentrate mix fed and 0.57 kilogram per head for the silage fed. The feed efficiency per kilogram weight gain in term of dry matter of the silage fed (11.19 kilograms) was significantly higher than that of straw plus concentrate mix fed (12.74 kilograms). The average cost of consumed feed over 29-week period was 5,794.66 and 1,303.34 baht per head or 48.55 and 11.74 baht per kilogram weight gain in straw plus concentrate mix fed and silage fed, respectively.สาระสังเขป: To compare the nutritive value, digestibility and acceptability of the tested animals, five varying formulae of the two selected combinations of straw-cassava-manure silage with or without the addition of urea and rice bran were used in the digestion trial. Fifteen rams, age approximately 18 months, were assigned to 5 treatments with 3 replications. The animals in each treatment were fed with different silage containing the following combination of NaOH-treated rice straw:cassava:manure:rice: bran: 1) 50:30:20:0:0, 2) 40:30:30:0:0, 3) 49:30:20:1:0, 4) 39:30:30:1:0, and 5) 39.5:20:25:0.5:15. The experimental period was 37 days, starting with 20 days of adaptation period, followed by 10 days of preliminary period and 7 days of fecal collection.สาระสังเขป: โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและทดลองผลิตอาหารหมักจากมันสำปะหลังและของเหลือทิ้งทางการเกษตร และทดลองใช้อาหารหมักที่ผลิตได้เลี้ยงโคระยะยาว การศึกษาแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้ :สาระสังเขป: การทดลองเลี้ยงแกะด้วยอาหารหมักสูตรต่าง ๆ เพื่อศึกษาคุณค่าทางอาหารและการย่อยได้โดยแบ่งแกะออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 3 ตัว, เป็นแกะเพศผู้อายุประมาณ 18 เดือน. แกะแต่ละกลุ่มเลี้ยงด้วยอาหารหมักที่มีสัดส่วนของฟางข้าวปรับปรุงแล้ว คือ มันเส้น, มูลไก้, ยูเรีย และ รำข้าว ดังนี้ สูตร 1) 50:30:20:0:0, สูตร 2) 40:30:30:0:0, สูตร 3) 49:30:20:1:0, สูตร 4) 39:30:30:1:0 และ สูตร 5) 36.5:20:25:0.5:15. ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 7 วัน (หรือ 37 วัน), ผลการทดลองพบว่า สูตร 1 และ 3 มีค่ายอดโภชนะย่อยได้ และการย่อยได้ของวัตถุแห้งสูงกว่าสูตรอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. การย่อยได้ของโปรตีนของสูตร 3 มีค่าสูงสุดแต่ไม่แตกต่างจากสูตร 4 และ 5. จากการพิจารณายอดโภชนะย่อยได้ การย่อยได้ของวัตถุแห้ง และโปรตีนพบว่าอาหารหมักสูตร 3 มีค่าดังกล่าวสูงสุด. ฉะนั้นจึงได้คัดเลือกสูตร 3 และ 5 เป็นสูตรอาหารหมักที่จะใช้ในการทดลองเลี้ยงโคระยะยาวต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300