การพัฒนาระบบการกำจัดเมือกกาแฟแบบอินทรีย์ ด้วยจุลินทรีย์ท้องถิ่น Development of coffee demucilaging by organic method using indigenous microorganisms ณัฐหทัย สุทธิวงษ์

โดย: ณัฐหทัย สุทธิวงษ์ [et al.]
ผู้แต่งร่วม: Nuthathai Sutthiwong | Ratana Tantisiriwit | Cholticha Niwatprakrit | Prasit Bumrungsook | Narin Chansawang | Napassawan Sunthorn | รัตนา ตันติศิริวิทย์ | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | ประสิทธิ์ บำรุงสุข | นารินทร์ จันทร์สว่าง | นภัสวรรณ สุนทร | ณัฐหทัย สุทธิวงษ์
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 60-21, Sub Proj. no. 1; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 53 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาระบบการกำจัดเมือกกาแฟแบบอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ท้องถิ่นหัวเรื่อง: กาแฟ | เอนไซม์เพกทิเนสสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Indigenous pectinase producing microorganisms were examined in the present work in order to be applied for the removal of mucilage in the coffee production process. Samples collected from coffee cultivation and production areas were screened for microbial isolates which secreted pectinases. After screening on crystal violet pectate medium, six strains comprising Neurospoda crassa, Rhizopus oryzae, Lentinus squarrosulus Mont., Lentinus edodes (Berk.) Sing., Lentinus polychrous Lev. and Auricularia auricular-judae (Bull.) J.Schröt displayed the ability to produce pectinase. With regard to the halo zone on the medium, L. squarrosulus Mont. secreted the highest amount of pectinase; thus, it was assumed to be the most effective strain for the production of pectinase and was used in following experiments. The optimal conditions for pectinase production by L. squarrosulus Mont. was determined. The strain was subjected to different conditions including pH, temperature, carbon sources and nitrogen sources. Results showed that the maximum enzyme activity was found when cultivated L. squarrosulus Mont. on pH 5.5 solid medium containing 1% lactose and 1% peptone as carbon source and nitrogen source, respectively, at 30oC for 21 days. Optimization of pH and temperature conditions for maximum activity of pectinase was also carried out. The maximum pectinase activity was found at pH 9. Temperature also significantly affected the production of pectinase by the strain. It was observed that the highest enzyme activity was at 50oC. In addition, agricultural residues consisting of coffee pulp, rice bran, orange peel and vegetable waste were utilized for meaningful purpose to produce pectinase by L. squarrosulus Mont. Among different wastes studied, high yield of pectinolytic enzyme, 20.14±2.14 U/ml, was achieved when the fermentation slurry had coffee pulp as a substrate. The agro-waste media supplemented with pasteurized milk as additional carbon source under fermentation process L. squarrosulus Mont. presented the preeminent enzymatic production. Compared to the one without milk, the pectinase production by this strain submerged in a coffee-pulp slurry containing pasteurized milk showed an enzyme yield (99.96±6.29 U/ml) about 3 folds higher. The use of the enzyme for coffee demucilage was studied, and it was found that the removal of mucilage from coffee beans was similar to the use of alkaline solution under studied condition; this therefore, indicates the potential application in coffee processing.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่จุลินทรีย์ท้องถิ่นที่ผลิตเอนไซม์เพคติเนสเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กำจัดเมือกในกระบวนการผลิตกาแฟ ตัวอย่างที่เก็บจากพื้นที่เพาะปลูกและผลิตกาแฟถูกนำมาแยกและคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตเพคติเนส หลังการคัดเลือกบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Crystal violet pectate medium (CVP) พบจุลินทรีย์ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ Neurospoda crassa, Rhizopus oryzae, Lentinus squarrosulus Mont, Lentinus edodes (Berk.) Sing. Lentinus polychrous Lev. และ Auricularia auricular-judae (Bull.) J.Schröt ผลิตเพคติเนส จากการพิจารณาวงใสบนอาหาร CVP พบเชื้อ L. squarrosulus Mont หลั่งเพคติเนสมากที่สุด จึงถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเพคติเนสซึ่งถูกนำไปใช้ในการทดลองต่อไป การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตเพคติเนสของเชื้อ L. squarrosulus Mont ภายใต้สภาวะที่ต่างกัน เช่น pH อุณหภูมิ แหล่งคาร์บอน และแหล่งไนโตรเจน พบว่ากิจกรรมของเอนไซม์สูงสุดเมื่อเพาะเลี้ยงเชื้อบนอาหารแข็ง pH 5.5 ที่มีแลคโตส 1% และเปปโตน 1% เป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจน ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21 วัน การศึกษาผลของ pH และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงานของเพคติเนส พบว่ากิจกรรมของเอนไซม์สูงสุดเมื่อบ่มที่ pH 9 นอกจากนั้นยังพบว่าอุณหภูมิส่งผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์เพคติเนสอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยการบ่มที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสส่งผลให้กิจกรรมของเอนไซม์สูงสุด การวิจัยนี้ได้ทดลองนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ เปลือกกาแฟ รำข้าว เปลือกส้ม และเศษผัก มาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเพคติเนสจากเชื้อ L. squarrosulus Mont. จากผลการทดลองพบว่าเชื้อให้ผลผลิตเพคติเนสสูงสุดเมื่อหมักในของเหลวที่มีเปลือกกาแฟเป็นสารตั้งต้น โดยมีกิจกรรมของเอนไซม์ เท่ากับ 20.14 ± 2.14 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และการเติมนมพาสเจอไรซ์ลงในสารตั้งต้นดังกล่าวทำให้กิจกรรมของเพคติเนสสูงขึ้น (99.96±6.29 ยูนิตต่อมิลลิลิต) ประมาณ 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่เติมนมพาสเจอไรซ์ การทดลองใช้เอนไซม์นี้ในการกำจัดเมือกกาแฟ พบว่าสามารถกำจัดเมือกได้ใกล้เคียงกับการใช้สารละลายด่าง ภายใต้สภาวะที่ทำการศึกษา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตกาแฟ
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300