การปรับปรุงพันธุ์ผักและผลไม้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต สารไบโอฟลาโวนอยด์โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ Induced mutations in vegetable and fruit to improve bioflavonoids production มนฑิณี กมลธรรม

โดย: มนฑิณี กมลธรรม [et al.]
ผู้แต่งร่วม: Montinee kamoltham | Sabaitong Phumkonsan | Borworn Tontiworachai | Supavadee Chanapan | Sodsri Neamprem | Kusol Iamsub | มนฑิณี กมลธรรม | สะใบทอง ภูมิคอนสาร | บวร ตันติวรชัย | สุภาวดี ชนะพาล | สดศรี เนียมเปรม | กุศล เอี่ยมทรัพย์
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-03, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2020 รายละเอียดตัวเล่ม: 84 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยที่ ภ.57-03 วิจัยและพัฒนาเพิ่มสารไบโอฟลาโวนอยด์ในผักและผลไม้ เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพหัวเรื่อง: ผักและผลไม้ | สารไบโอฟลาโวนอยด์สารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: Improvable bioflavonoids production by using mutation technique inductions in Kaempferia parviflora Willich ex Baker, Lycopersicon esculentum Mill and Limnophila aromatic (Lam.) Merr. Mutation of Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.'s tuber could be induce by a range of gamma rays including 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 and 3.0 Krad. Surviving tubers were planted and harvested after 8 months prior to analyses for bioflavonoid's concentration. The results showed that only three plants could produce almost twice higher bioflavonoid content than the control group. After checking those trees genetic using random amplification of polymorphic DNA technique (RAPD), the results suggested that their genetics were different from the control group. Induced mutation in Lycopersicon esculentum Mill., seeds were treated with ethylmethanesulphonate (EMS) at 0, 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0% concentration, and it was found that only one plant could produce higher bioflavonoid than the control group but genetically checking by RAPD technique showed no difference from the control group. Mutation of Limnophila aromatic (Lam.) Merr. could be induced by using tissue culture medium supplemented with 0, 0.25, 0.5 and 1.0% colchicine cultured for 3 days before being transferred to MS medium culture for 30 days. After an analysis performed on bioflavonoid's concentration. The results presented that three plants could produce nearly twice more bioflavonoid content than controlled. After that, their genetics were examined by using RAPD technique with the results suggesting that their genetic data were different from the control group. Plant tissue culture was studied for micro propagation of mutant plants. Buds of K. parviflora were sterilized by bleaching with 15% Clorox for 15 minutes followed by 10% Clorox for 10 minutes and 5% Clorox for 5 minutes, and then cultured in MS medium supplemented with BA and NAA at different concentrations for 30 days. The results revealed that each K. parviflora bud produced 6 new shoots on MS medium supplemented with 8.0 mg/l BA and 0.5 mg/l NAA. Young leaves of L. esculentum were sterilized by bleaching with 10% Clorox for 10 minutes followed by 5% Clorox for 10 minutes, and then cultured on MS medium supplemented with BA and 2,4-D at different concentrations for 30 days. The results showed that young leaves could be regenerated on MS medium supplemented with 3.0 mg/l BA and their shoots were small and compact. Their small shoots could further be elongated and rooted in MS medium without a plant growth regulator. Shoot tips and lateral buds of L. aromatica were sterilized by bleaching with 4% clorox for 10 minutes followed by 2% Clorox for 5 minutes and then were cultured in MS medium supplemented with BA and NAA at different concentrations for 30 days. The suitable medium for multiple shoot formation of L. aromatica was MS medium supplemented with 0.4 mg/l BA and 0.1 mg/l NAA. สาระสังเขป: การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ในพืช 3 ขนิด คือ กระชายดำ, มะเขือ-เทศ และผักแขยง เพื่อให้สามารถสร้างสารไบโอฟลาโวนอยด์ได้สูงขึ้น การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในกระชายดำโดยใช้ส่วนหัวฉายด้วยรังสีแกมมาความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 กิโลแรด จากนั้นนำไปปลูก หลังจากการปลูกเป็นเวลา 8 เดือน เก็บผลผลิตหัวมาวิเคราะห์สารไบโอฟลา-โวนอยด์ พบว่า มี 3 ต้น ที่สามารถผลิตสารไบโอฟลาโวนอยด์ได้สูงกว่ากลุ่มควบคุมเกือบเท่าตัว และเมื่อตรวจเช็กความแตกต่างทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค RAPD (random amplification of polymorphic DNA) พบว่าต้นกลายพันธุ์มีพันธุกรรมแตกต่างจากกลุ่มควบคุม. การชักนำให้มะเขือเทศเกิดการกลายพันธุ์โดยการแช่เมล็ดในสารเคมี ethyl methanesulphonate (EMS) ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0% เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จากนั้นนำไปปลูกเป็นเวลา 7 เดือน เก็บผลมะเขือ-เทศมาวัดค่าไบโอฟลาโวนอยด์ พบต้นที่สามารถสร้างสารไบโอฟลาโวนอยด์ได้สูงกว่ากลุ่มควบคุม 1 ต้น แต่เมื่อตรวจเช็กความแตกต่างทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค RAPD พบว่าไม่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมแต่อย่างใด. การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในผักแขยงโดยการใช้สารเคมีโคลชิซีน ความเข้มข้น 0, 0.25, 0.5 และ 1.0% ใส่ลงในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นย้ายลงเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS เป็นเวลา 30 วัน หลังจากการวิเคราะห์ผลพบต้นกลายพันธุ์ที่ผลิตสารไบโอฟลาโวนอยด์ได้สูงกว่ากลุ่มควบคุมเกือบเท่าตัว 3 โคลน และเมื่อตรวจเช็กความแตกต่างทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค RAPD พบว่าต้นกลายพันธุ์มีพันธุกรรมแตกต่างจากกลุ่มควบคุม. จากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชพันธุ์กลายในพืชทั้ง 3 ชนิด คือ กระชายดำ, มะเขือเทศ และผักแขยง พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมในกระชายดำคือ ใช้หน่ออ่อนฟอกฆ่าเชื้อในคลอร็อกซ์ 3 ครั้ง คือ 15% 15 นาที, 10% 10 นาที และ 5% 5 นาที แล้วนำไปเพาะเลี้ยงในสูตรอาหาร MS ที่เติม 6-benzylaminopurine (BA) ร่วมกับ naphthalene acetic acid (NAA) ความเข้มข้นต่างๆ กันเป็นเวลา 30 วัน พบว่า กระชายดำสามารถเพิ่มจำนวนยอดจาก 1 เป็น 6 ยอด ได้ในอาหารสูตร MS ที่เติม BA 8.0 ไมโครกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA 0.5 ไมโครกรัม/ลิตร การฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมในมะเขือเทศคือใช้ใบอ่อนฟอกฆ่าเชื้อในคลอร็อกซ์ 2 ครั้ง คือ 10% 10 นาที และ 5% 10 นาที จากนั้นนำไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA ร่วมกับ 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) ความเข้มข้นต่างๆ กันเป็นเวลา 30 วัน พบว่า สูตรอาหารที่สามารถชักนำให้ใบอ่อนมะเขือเทศเกิดยอดใหม่ได้ดีที่สุดคือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 3.0 ไมโครกรัม/ลิตร โดยเกิดยอดขนาดเล็กและขึ้นหนาแน่นและสามารถชักนำให้ยอดเจริญเติบโตและเกิดรากได้ในอาหารสูตร MS ที่ไม่เติมฮอร์โมน. การฟอกฆ่าเชื้อผักแขยงที่เหมาะสมคือใช้ปลายยอดและตาข้างฟอกฆ่าเชื้อด้วยคลอร็อกซ์ 2 ครั้ง คือ 4% 10 นาที และ 2% 5 นาที, จากนั้นเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA ร่วมกับ NAA ความเข้มข้นต่างๆ กันเป็นเวลา 30 วัน พบว่าผักแขยงสามารถเพิ่มจำนวนต้นได้ปริมาณมากในอาหารสูตร MS ที่เติม BA 0.4 ไมโครกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA 0.1 ไมโครกรัม/ลิตร.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300