อนุสิทธิบัตรเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้จากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae และ Acanthaceae เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สิทธิบัตรเรื่อง:1701005444 Khanitha Chawananorasest [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Khanitha Chawananorasest
ผู้แต่งร่วม: Khanitha Chawananorasest | ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์ | Praphakorn Kaemchantuek | Bhusita Wannissorn | Tuanta Sematong | Wipaporn Phatvej | Thanchanok Muangman | Ubon Rerk-Am | Amonrat Khayungarnnawee | Sitthiphong Soradech | Worawan Tiatragoon | Sawai Nakakaew | Anchisa Promta | Thanisorn Sornsom | Wichian Kheynok | Patsuda Saengtongdee | Sirinan Thubthimthed | ประภากร แค่มจันทึก | ภูษิตา วรรณนิสร | เตือนตา เสมาทอง | วิภาพร พัฒน์เวช | ธัญชนก เมืองมั่น | อุบล ฤกษ์อ่ำ | อมรรัตน์ ขยันการนาวี | สิทธิพงศ์ สรเดช | วรวรรณ เตียตระกูล | ไสว นาคาแก้ว | อัญชิสา พรมทา | ธนิสร ศรสม | วิเชียร เขยนอก | ภัทรสุดา แสงทองดี | ศิรินันท์ ทับทิมเทศ
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-05, Sub Proj. no. 5; no.5 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2018 รายละเอียดตัวเล่ม: 144 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้จากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae และ Acanthaceae เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:ผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันจากจุลินทรีย์เพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หัวเรื่อง: โรคมะเร็ง | โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สาระสังเขป: ปัจจุบันปัญหาการเป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งได้อุบัติขึ้นแล้วทั่วโลก มีผลทำให้ประชากรได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิตเป็นจำนวนที่มากขึ้น ในประเทศไทยได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความเสี่ยง การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ สมุนไพรไทยเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้รักษาโรค ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน พืชสมุนไพรในวงศ์ Zingiberaceae และ Acanthaceae มีประวัติการใช้เป็นทั้งยา, เครื่องเทศ และอาหาร มีหลักฐานรายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้านการต้านมะเร็งและการก่อกลายพันธุ์ ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยละพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์จากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวน 3 ชนิดของเซลล์ อาทิ HT-29, CACO-2, HCT-15 เซลล์ปกติ FHC และ HaCaT, ฤทธิ์การต้านอักเสบในสัตว์ทดลอง, ฤทธิ์การต้านเชื้อ Helicobacter pylori, สกัดแยกสารสำคัญบริสุทธิ์, พิสูจน์โครงสร้างและการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญด้วยวิธี HPLC จากวัตถุดิบส่วน rhizome ของพืชสมุนไพรทั้งสองวงศ์ดังกล่าวจำนวน 13 ชนิด ซึ่งพืชสมุนไพร 6ชนิดได้จากวงศ์ Zingiberaceae อันได้แก่ กระชายเหลือง, กระชายดำ, ว่านนางคำ, ว่านพญางูตัวเมีย, ต้นเข้าพรรษาสุปราณี และไอยริศ ส่วนรางจืดเป็นพืชชนิดเดียวจากวงศ์ Acanthaceae โดยมีวิธีการด้วยวิธีสกัดเย็น, สกัดร้อน, สกัดด้วยเครื่องมือ Accelerated Solvent Extraction (ASE) ได้สารสกัดเพื่อทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวนสารสกัด 32 ชนิดตามลำดับความมีขั้วของตัวทำละลาย การสกัดแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีทางโครมาโตกราฟฟีและด้วยเครื่องมือ High Performance Centrifugal Partition Chromatography (HPCPC) พิสูจน์โครงสร้างด้วยเครื่องมือ Nuclear Magnetic Resonance (NMR) เป็นหลัก วิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่องมือ แก็สโครมาโตกราฟี พบว่า กระชายเหลืองมีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดและทวารหนักชนิด CACO-2 โดยวิธี WST assay สารบริสุทธิ์ที่สกัดแยกได้จากกระชายเหลือง, Pinostrobin และสารบริสุทธิ์จากรางจืด มีค่ามีค่ายับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ IC50 170.75±1.76 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และ 200.26 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนขมิ้น, ว่านนางคำและว่านพญางูตัวเมียมีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT-15 โดยวิธี SRB assay มีค่า IC50 15.84±2.34, 39.18±0.40 และ 40.71±0.69 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ. จากนั้นได้นำพืชสมุนไพรมีมีฤทธิ์ดังกล่าวมาผสมเป็นสูตรสมุนไพรไและทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HT-29 โดยวิธี MTT assay พบว่า 7 สูตรมีค่า IC50 น้อยกว่า 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ดังนี้ KC-HT01, KC-HT02, KC-HT05, KC-HT06, KC-HT09, KC-HT11 และKC-HT12 มีค่า IC50 85±2, 82±4, 66±2, 64±3, 75±3, 86±4 และ 88±3 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ. สาระสังเขป: การคัดเลือกสมุนไพรเดี่ยวเพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์พบว่าว่านนางคำมีศักยภาพที่จะนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เนื่องจากมีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HT-29 ใกล้เคียงกับขมิ้นแต่มีค่าสูงกว่าว่านพญางูตัวเมียและว่านนางคำมีค่า selectivity เท่ากับว่านพญางูตัวเมียแต่ค่า selectivity สูงกว่าขมิ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ จึงได้ทดสอบความเป็นเฉียบพลันทางปากในหนูขาว (LC50) ของผงว่านนางคำแห้งบดละเอียดในปริมาณ 2,000 และ 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว การศึกษาความคงตัวของผงว่านนางคำที่อุณภูมิ 30 องศาเซลเซียส และ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 และ 6 เดือน พบว่าว่านนางคำมีความคงตัวขององค์ประกอบสำคัญทางเคมีจากการวิเคราะห์ NMR และ HPLC การสกัดแยกสารสำคัญพบว่ามี cucuminoids เป็นองค์ประกอบหลักเช่นเดียวกับขมิ้นแต่ยังมีสาระสำคัญในกลุ่ม terpenoids และ polyphenol นอกจากนี้พบว่านนางคำมีค่า Total antioxidant activity (DDPH) เฉลี่ยเท่ากับ 16,648.38 mgAA ไม่พบ Benzoic acidและSynthetic food colour, ไม่พบ Salmonella spp., Clostridium perfringens /0.1 กรัม, Straphylococcus aureus/0.1 กรัม, Bacillus cereus ในผงว่านนางคำคณะวิจัยจึงได้พัฒนาสูตรกาแฟและชาสมุนไพรว่านนางคำลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดว่านนางคำและพืชชนิดอื่นรวมถึงสารสำคัญบริสุทธิ์ชนิดต่างๆ จากการวิจัยนี้เพื่อประโยชน์ในด้านเครื่องสำอาง, Drug design และ Drug discovery เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคจากพืชสมุนไพรในอนาคต. สาระสังเขป: Cancer diseases have emerged worldwide especially; colon cancer caused increasing rate mortality of patients. This has been realized to protect population from the disease and decrease the rate and risks of colon cancer in Thailand. Medicinal plants have been used as traditional medicine for more than hundred years in Asian countries including Thailand. Those in the Zingiberaceae and Acanthaceae families have reported as medicine, herbal ingredients and food and biological activity investigation on anti-cancer and anti-mutation. This work was aimed to research and development of dietary supplement for lowing risk of colon cancer in human adenocarcinoma cell lines such as HT-29, CACO-2, HCT-15, and normal cell lines; FHC and HaCaT, anti-inflammation in rats, anti-microbial; Helicobacter pylori inhibition, extraction pure compounds and their structure elucidation as well as quantitative analysis of flavonoids in plant materials rhizomes by HPLC from 13 medicinal plants in the Zingiberaceae and Acanthaceae families. They were selected 6 plants from the Zingberaceae and one plant from the Acanthaceae for example Boesenbergia pandurata, Kaempfolia parviflora, Curcuma aromatica, Curcuma zedoaroides, Smithatris supraneeana W.J.Kress&K. Larsen, Zingiber sirindhorniae and Thunbergia laurifolia from the Acanthaceae. The plants extraction in perculation and hot extraction as well as Accelerated Solvent Extraction (ASE) instrument yielded 32 extracts from difference solvents have used in the process. Isolation and purification were performed by chromatographic methods together with High Performance Centrifugal Partition Chromatography (HPCPC) instrument and elucidated their structure by mainly Nuclear Magnetic Resonance (NMR). Chemical constituents analysis in essential oil by using Gas Chromatograph (GC) instrument. The results illustrated that B. pandurata extract possessed cytotoxicity on colon adenocarcinoma cell lines; CACO-2 by WST assay 170.75±1.76 µg/mL of its pure compound, Pinostrobin and 200.26±26 µg/mL pure compound purified from B. pandurata and T. laurifolia extracts, respectively. Curcuma aromatic extract exhibited its higher activity on colon adenocarcinoma cell lines ; HCT-15 inhibition (SRB assay) than Curcuma zedoaroides extract, but that was less than C. longa extract. Interestingly, the selectivity of C. aromatica extract in normal cell lines; FHC and HaCaT, were better than C. longa extract. Mixed 7 formula from active plants extract found their IC50 were less than 100 µg/mL such as KC-HT01, KC-HT02, KC-HT05, KC-HT06, KC-HT09, KC-HT11 and KC-HT12; 85±2, 82±4, 66±2, 64±3, 75±3, 86±4 and 88±3 µg/mL, respectively. Acute oral toxicity test C. aromatica was tested on dose 2,000 and 5,000 mg/kg body weight of rats. Its stability test at 300C and 450C for three and six months found no change in its chemical constituents by using NMR and HPLC techniques. Curcuminoids were found as major compounds in C. aromatic, including terpenoids and polyphenol, similarly in those in C. longa. Biological activities of dried powder of C. aromatic rhizome on Total antioxidant activity (DDPH) showed its average activity as 16,648 mgAA and they were not detected of Benzoic acid, synthetic food colour, Salmonella spp., Clostridium perfringens/0.1g, Straphylococcus aureus/0.1g, Bacillus cereus. Therefore, C. aromatic is a good potential medicinal for product development, tea and a freeze-dried coffee for lowering risk of colon cancer disease. Moreover, outputs and other products from this project such as pure compounds isolated, other active plants species can be used as cosmetics, drug design and drug discovery for future drug development for mankind from natural sources.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-08-31 IP00094

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300