Synthesis of catalyst for bio-jet production from dimethyl ether (dme) and alcohol การสังเคราะห์สารเร่งปฏิกิริยาสำหรับกระบวนการผลิตเชื้อเพลิง อากาศยานจากไดเมทธิลอีเทอร์ (DME) และแอลกอฮอล์ 2018

โดย: Siriporn Larpkiattaworn [et al.] (CONFIDENTIAL)
ผู้แต่งร่วม: Siriporn Larpkiattaworn | ศิริพร ลาภเกียรติถาวร | Supranee Lao-ubol | Phunthinee Somwongsa | Wasana Khongwong | Pracha Lao-auyporn | Pasinee Panith | Rungsinee Khunlad | Sirirak Jariyaphinyo | สุปราณี เหล่าอุบล | พันธ์ฐิณี สมวงศ์ษา | วาสนา ฆ้องวงศ์ | ประชา เหล่าอวยพร | ภาสินี พานิช | รังศินีย์ ขุนหลัด | ศิริรักษ์ จริยภิญโญ
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 55-08, Sub Proj. no. 5; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2018 รายละเอียดตัวเล่ม: 130 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานหัวเรื่อง: น้ำมันอากาศยาน | Bio-jet applicationสาระสังเขป: This research aimed to develop the silica and aluminosilicate catalyst of SBA-15 and ZSM-5. The catalysts were synthesized using hydrothermal method by varying parameters of temperature, time, pressure and ratio of precursor. It was found that the synthesized ZSM-5 has monoclinic structure with surface area of 320-360 m2/g which was closed to commercial ZSM-5. The synthesized catalysts were used to test the catalytic performance to transform methanol to kerosene. It was found that ZSM-5 showed better catalytic performance than SBA-15, the higher ratio of SiO2/Al2O3 of ZSM-5 can produced kerosene with more content of paraffin and cycloparaffin. In addition, the catalytic performance of ZSM-5 can be improved by coating with some noble metal such as Ni and Co. In this study, the best condition to transform methanol to kerosene or paraffin was the process of using Ni20%-ZSM-5 and Co20%-ZSM-5 as catalysts and dehydrated methanol fed together with nitrogen at flow rate of 50 ml/min at temperature of 300oC. The oil product was analyzed using GC-MS and the result showed that 20% of paraffin and cycloparaffin as the composition in kerosene which can be upgraded for bio-jet application.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์สารเร่งปฏิกิริยากลุ่มซิลิกาและกลุ่มอะลูมิโนซิลิเกต ชนิด SBA-15 และ ZSM-5 ตามลำดับ ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอล ที่ปรับตัวแปรในสภาวะการสังเคราะห์ ได้แก่ อุณหภูมิ, เวลา, ความดัน และสัดส่วนปริมาณสารตั้งต้น พบว่า สารเร่งปฏิกิริยาชนิด ZSM-5 ที่สังเคราะห์ได้ซึ่งใกล้เคียงกับซีโอไลต์ชนิด ZSM-5 ทางการค้า มีค่าพื้นที่ผิวในช่วง 320-360 ตารางเมตรต่อกรัม และโครงสร้างผลึกเป็นโมโนคลินิก. เมื่อนำสารเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ได้มาทดสอบประสิทธิภาพในปฏิกิริยาการเปลี่ยนเมทานอลเป็นสารกลุ่มคีโรซีน พบว่า ZSM-5 ให้ผลต่อปฏิกิริยาที่ดีกว่า SBA-15 โดย ZSM-5 ที่มีสัดส่วนของ SiO2/Al2O3 สูงกว่าสามารถผลิตน้ำมันที่มีองค์ประกอบของพาราฟินและไซโคพาราฟินมากกว่า. นอกจากนี้ การเคลือบผิวของ ZSM-5 ด้วยโลหะชนิด Ni และ Co ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารเร่งปฏิกิริยาได้. สภาวะที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นคีโรซีนหรือพาราฟินในงานวิจัยนี้ คือ การใช้สารเร่งปฏิกิริยาชนิด 20%Ni-ZSM-5 และ 20%Co-ZSM-5 โดยป้อนเมทานอลในรูปของก๊าซที่ใช้ไนโตรเจนเป็นตัวพา ด้วยอัตราการไหลของไนโตรเจนเท่ากับ 50 มิลลิลิตรต่อนาที ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เมื่อนำน้ำมันที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วย GC-MS พบว่า คีโรซีนที่ได้มีองค์ประกอบของพาราฟินและไซโคลพาราฟินอยู่ประมาณ 20% ซึ่งสามารถนำไปปรับเพิ่มคุณภาพต่อให้เป็นน้ำมันอากาศยาน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300