ปฏิกรณ์ผลิตเมทานอลโดยกระบวนการออโตเทอร์มอลรีฟอร์มมิ่ง = The produced methanol reactor by auto-thermal reforming process/ Rujira Jitrwung (CONFIDENTIAL)

โดย: Rujira Jitrwung [et al.] (CONFIDENTIAL)
ผู้แต่งร่วม: Rujira Jitrwung | รุจิรา จิตรหวัง | Nittaya Sudsong | Chiraphat Kumpidet | Kuntima Kerkkietsakul | Anantachai Wannajampa | Thinnawong Benjapanyawong | Lalita Attanatho | Kittiphon Chraoenpornpithak | Kamonrat Leeheng | นิตยา สุดส่ง | จิราพัชร คำพิเดช | กันทิมา เกริกเกียรติสกุล | อนันตชัย วรรณจำปา | ธินวงศ์ เบญจปัญญาวงศ์ | ลลิตา อัตนโถ | กิตติภณ เจริญพรพิทักษ์ | กมลรัตน์ หลีเห้ง
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-08, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2018 รายละเอียดตัวเล่ม: 68 p. tables, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานหัวเรื่อง: ก๊าซเรือนกระจก | Greenhouseสาระสังเขป: Nowadays, energy is an important factor in the human life, and the energy consumption is rapidly increased each year. The more energy use causes more gas emissions. The release of greenhouse gases (mainly carbon dioxide followed by methane) which causes global warming. By turning greenhouse gases back to power or value products is one of the solution to this problem. Methanol is one of the promising possibilities that can be produced from greenhouse gases. Methanol is a chemical that is vital to the economy. It can be used as a substrate which helps generating a lot of products.This research aimed to study a reaction of biogas (composed of methane and carbon dioxide) transforming to methanol by Auto-Thermal Reforming (ATR) in a fixed bed reactor using catalyst under temperature and pressure. The process is conducted through two reactions: 1) biogas is converted to syngas (Hydrogen and Carbon monoxide) using Ni/Al2O3 catalyst, and 2) the syngas is transformed to methanol using Cu/ZnO/Al2O3 catalyst. The first step is conducted under conditions of 3 % nickel on alumina catalyst, using water as a steam reforming (occurred at 750 °C), and atmospheric pressure. The results showed that the percentage change of methane and carbon dioxide were about 90 and 70, respectively. The ratio of hydrogen gas to carbon monoxide was equaled to two, which is sufficient to use in methanol production in the next step. The last step was carried out the under conditions of Cu/ZnO/Al2O3 catalyst, temperature of 230 °C, and pressure of 40 bar. The results showed that the percentage change of carbon monoxide to a product was equaled to 60. The product is composed of 95-97 percent by weight of methanol and water. สาระสังเขป: ปัจจุบันพลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีแนวโน้มการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละปี. เมื่อมีการใช้ที่มากขึ้น การปลดปล่อยแก๊สซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานจึงมากขึ้นด้วย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก (ส่วนใหญ่ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์, รองลงมา คือ แก๊สมีเทน) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นแก๊สที่นำไปสู่สภาวะโลกร้อน และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ. การเปลี่ยนแก๊สเรือนกระจกกลับไปเป็นพลังงานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ. เมทานอลเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่สามารถผลิตจากแก๊สเรือนกระจก ซึ่งเมทานอลถือเป็นสารเคมีที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถใช้เป็นสารตั้งต้นก่อกำเนิดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ จำนวนมาก. งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาปฏิริยาการเปลี่ยนแก๊สชีวภาพ (องค์ประกอบหลักเป็นแก๊สมีเทนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ไปเป็นเมทานอล โดยผ่านกระบวนการออโตเทอร์มอลรีฟอร์มมิงในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิง โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ภายใต้อุณหภูมิ และความดัน. โดยกระบวนการนี้ดำเนินการผ่านการทำปฏิกิริยา 2 ขั้นตอน คือ 1) การเปลี่ยนแก๊สชีวภาพไปเป็นแก๊สสังเคราะห์ (องค์ประกอบหลักเป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์) และ 2) การเปลี่ยนแก๊สสังเคราะห์ไปเป็นเมทานอล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิด Ni/Al2O3 และ Cu/ZnO/Al2O3 ตามลำดับ. การทดลองกระทำที่สภาวะต่างๆ พบว่า สภาวะที่เหมาะสมสำหรับขั้นตอนที่ 1 คือ ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีปริมาณนิกเกิลร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก วางบนอะลูมินา ในปฏิกิริยาสตีมรีฟอร์มมิง ที่อุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดันบรรยากาศ ผลการทดลองได้ร้อยละการเปลี่ยนแปลงแก๊สมีเทนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณเท่ากับ 90 และ 70 ตามลำดับ และได้อัตราส่วนของแก๊สไฮโดรเจนต่อแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เท่ากับ 2 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เพียงพอต่อการนำไปผลิตเป็นเมทานอลในขั้นตอนที่ 2 โดยสภาวะการทดลองที่เหมาะสมสำหรับขั้นตอนที่ 2 คือ ที่อุณหภูมิ 230 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน 40 บาร์ โดยสภาวะนี้ให้ร้อยละการเปลี่ยนของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ไปเป็นผลิตภัณฑ์เท่ากับ 60 ผลิตภัณฑ์ที่ได้ประกอบด้วยเมทานอลและน้ำ โดยร้อยละ 95-97 โดยน้ำหนักเป็นเมทานอล.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300