Testing and investigation of zingiberaceous plants as a source of anti-inflammatory การตรวจสอบหาสารออกฤทธิ์ที่มีคุณสมบัติ ในการต้านการอักเสบจากพืชในวงศ์ขิง Pramote Triboun [et al.] (CONFIDENTIAL)

ผู้แต่งร่วม: Pramote Triboun | Supatra Picmvaree | Tantima Kumlung | Rochana Tangkoonboribun | ปราโมทย์ ไตรบุญ | สุพัตรา เปี่ยมวารี | ตันติมา กำลัง | รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์
ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-06, Sub Proj. no. 2; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2019 รายละเอียดตัวเล่ม: 86 p. table; ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยงโรคเกาต์สาระสังเขป: One hundred and eight zingiberaceous plant species from throughout the country were collected and grown at Lumtakong Research Station in Pak Chong District in Nakhon Racha Sima Province. Of these only forty species can be grown and shown high potential to be cultivated plant as a source of medicinal material by giving a good yield within two years. The preliminary Curcumin testing by droping of 10 % of Boric acid solution direct to the pieces of the rhizomes of forty species and observe under the light microscopy, only Turmeric (Curcuma longa) from every sources gave the positive test by changing of the dominant yellow dots to be the darker orange-red dots. The high performance liquid chromatography (HPLC) chromatograms of the dominant three compounds (Bidemethoxycurcumin (Bisdesmethoxycurcumin), Demethoxycurcumin (Desmethoxycurcumin) and Curcumin) from three best known anti-inflammatory species: Turmeric (Curcuma longa), Ginger (Zingiber officinale) and Plai (Zingiber montanum) were compared with the selected species. The result shown that only six species from genus Curcuma: Wan Chakmodluk (C. sp.), Wan Maho (C. sp.), Wan Mahamek (C. aeruginosa), Wan Kuntamala (C. sp), Wan Nang Kham (C. aromatica), Wan Thongkham (C. sp.) and the first three species shown significant activity of Xanthine Oxidase Inhibitor more than in Ginger and Curcumin. สาระสังเขป: พืชในวงศ์ขิงที่รวบรวมได้จากทั่วประเทศจำนวน 108 ชนิด นำมาทดลองปลูกและประเมินศักยภาพในการใช้เป็นพืชปลูก พบว่า มีเพียง 40 ชนิด ที่สามารถปลูกได้ที่สถานีวิจัยลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และมีเพียง 10 ชนิด เท่านั้น ที่สามารถปลูกในแปลงปลูกและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ภายในช่วงระยะเวลา 2 ปี โดยในจำนวนที่รวบรวมได้ สุ่มทดลองตรวจสอบสาร Curcumin เบื้องต้น โดยใช้ส่วนของเหง้ามาตัดขวางนำมาทดสอบกับสารละลายโบรอนความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ โดยตรงและตรวจสอบปฏิกิริยาการติดสีใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า เกือบทั้งหมดไม่ให้ผลการมีสาร Curcumin เลย มีเพียงขมิ้นชัน (Curcuma longa) จากการรวบรวมจากทุกแหล่งและการปลูกจากทุกภาคเท่านั้น ที่ให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นจุดสีส้มแดงจำนวนมากกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อจากเหง้าอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังได้ทำการเปรียบเทียบโครมาโทแกรมด้วยเครื่อง HPLC จากสารสกัดของขมิ้นชัน, ขิง และไพล โดยการวิเคราะห์ผลจากโครมาโทแกรมเปรียบเทียบการปรากฏของสาร 3 ชนิด เป็นสารองค์ประกอบหลัก คือ Bidemethoxycurcumin (Bisdesmethoxycurcumin), Demethoxycurcumin (Desmethoxycurcumin) และ Curcumin ตามลำดับ ซึ่งมีรายงานว่ามีสารต้านการอักเสบในวิถีชีวสังเคราะห์ของ Curcumin ร่วมกับพืชในสกุลขมิ้นจำนวน 6 ชนิด คือ ว่านคันทมาลา, ว่านนางคำ, ว่านม้าห้อ, ว่านมหาเมฆ, ว่านชักมดลูก และว่านทองคำ พบว่า ทั้ง 6 ชนิด ดังกล่าวมีสารที่เป็นองค์ประกอบหลักสอดคล้องกับพืชทั้ง 3 ชนิดข้างต้น และการวิเคราะห์ Xanthine Oxidase Inhibitor ในพืช 3 ชนิด คือ ว่านชักมดลูก, ว่านมหาเมฆ และว่านม้าฮ่อ พบว่า ให้ผลตอบสนองด้วยวิธีดังกล่าวมากกว่าในขิงและขมิ้นชัน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300