อนุสิทธิบัตรเรื่อง สูตรเครื่องดื่มสมุนไพรเสริมสารสกัดจากหอมหัวใหญ่สาหรับผู้บริโภคที่มีภาวะโรคอ้วนและเบาหวานและกรรมวิธีการผลิต= การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันนัล สำหรับผู้มีภาวะโรคอ้วนและเบาหวาน / Panida Banjongsinsiri [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Panida Banjongsinsiri
ผู้แต่งร่วม: Panida Banjongsinsiri | Supaporn Lekhavat | Nowwapan Noojuy | Jirawat Satiankomsorakrai | Krittalak Pasakawee | Anchun Anaket | ปนิดา บรรจงสินศิริ | สุภาภรณ์ เลขวัต | เนาวพันธ์ หนูจุ้ย | จิราวัฒน์ เสถียรคมสรไกร | กฤตลักษณ์ ปะสะกวี | อัญชัญ อาณาเขตร์ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
BCG: อาหาร TRM: อาหาร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-04, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2019 รายละเอียดตัวเล่ม: 119 p. table; ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันนัลสำหรับผู้มีภาวะโรคอ้วนและเบาหวาน | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:เครื่องดื่มสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ ผักแผ่นอบกรอบ โยเกริตอบกรอบ การนำไปต่อยอด: ได้สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสาหรับผู้มีภาวะโรคอ้วนและเบาหวาน - เครื่องดื่มชาสมุนไพรเสริมสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ - ผักแผ่นอบกรอบเสริมสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ - โยเกิร์ตฟักทองเสริมสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ /ผู้มีภาวะโรคอ้วนและเบาหวาน, ผู้ที่สนใจและห่วงใยในสุขภาพ,อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ที่สนใจ จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:ผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวานหัวเรื่อง: อาหารฟังก์ชันนัล | โรคอ้วน | Foodสาระสังเขป: Obesity and diabetes, a group of non-communicable diseases, causes by the metabolic syndrome are major problem of the health status of Thailand population. This research aimed to develop food products for reducing the risk of obesity and diabetes diseases. The research was carried out as followed. The development on formula and processed food and beverage product for obesity and diabetes was conducted by onion extract fortification. Onion extracts contained natural flavonoid compounds of quercetin groups which have antioxidant properties. Nutritional value and bioactive test of developed products was analyzed. The results showed that there were three types of products (basic formula); herbal tea drink, pumpkin yogurt, and crispy vegetable chips. The raw materials used in this research have the properties for reducing blood sugar and fat level. The alpha amylase inhibitory capacity of onion extract analyzed in terms of IC50 was 1.48%. The optimal concentration of 1% onion extract was added to herbal tea drink. The sensorial results showed the acceptability scores of fortified herbal tea drink with onion extract in terms of appearance, color, flavor, sweetness, taste, and overall liking were 'like slightly' to 'like moderately' (5.08-5.31 scores). Regarding bioactive test, this drink had 63.79% antioxidant activity with 57.26% alpha amylase inhibition. Pumpkin yogurt product which had 1% of the optimal concentration of onion extract fortified received overall liking ranged from 'like slightly' to 'like moderately' (5 - 5.8 scores) in terms of color, flavor, sweetness, sourness. The antioxidant activity, total phenolic compounds and alpha amylase inhibitory capacity of the yogurt were 14.59, 0.06 mg GAE/ g and 2.46 % with glycermic index >70. Crispy vegetable chips product was fortified with 1.48% optimal concentration of onion extract. It received overall liking ranged from 'like slightly' to 'like moderately' (5.36-6.08 scores) in terms of appearance, color, crispness, flavor, and taste. The bioactive test showed that this product had 29.87 % antioxidant activity, 0.11 mg GAE/g total phenolic compounds, 19.80% alpha amylase inhibitory capacity with glycermic index between 50-70. Based on this research, all of the developed healthy food products can be used as alternative products for consumers who likely to have obesity or develop diabetes including those value their health. Moreover, the technology of production can be transferred to private sectors both community enterprise and food industry. สาระสังเขป: โรคอ้วนและโรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรังกลุ่มหนึ่ง ที่เกิดจากภาวะ metabolic syndrome อันเป็นปัญหาสำคัญของภาวะสุขภาพของประชากรไทย ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่การพัฒนาสูตรและกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีผลต่อโรคอ้วนและเบาหวาน เสริมด้วยสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งมีสารประกอบฟลาโวนอยด์จากธรรมชาติในกลุ่มของเควอซิทิน (Quercetin) มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระ จากนั้นทำการวิเคราะห์คุณภาพทางโภชนาการและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการพัฒนา.ผลการทดลอง พบว่าสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 3 ผลิตภัณฑ์ (สูตรพื้นฐาน) ได้แก่ เครื่องดื่มน้ำชาสมุนไพร, โยเกิร์ตฟักทองและผักแผ่นอบกรอบ ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่เลือกใช้จะมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส (α- amylase inhibition) ของสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ พบว่า มีค่า IC50 = ร้อยละ 1.48 โดยปริมาณที่เหมาะสมของสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ที่เติมลงในเครื่องดื่มน้ำชาสมุนไพร คือ ร้อยละ 1 ผู้บริโภคในระดับห้องปฺฏิบัติการให้คะแนนการยอมรับ ด้านลักษณะปรากฏ, สี, กลิ่น, ความหวาน, รสชาติและความชอบโดยรวมในระดับชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง (5.08-5.32 คะแนน) จากการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระร้อยละ 63.79 ปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด 0.28 มิลลิกรัม GAE/กรัม และประสิทธิภาพการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสร้อยละ 57.26. ปริมาณที่เหมาะสมของสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ที่เติมลงในโยเกิร์ตฟักทอง คือ ร้อยละ 1 ผู้บริโภคในระดับห้องปฺฏิบัติการให้คะแนนการยอมรับด้านสี, กลิ่นโยเกิร์ต, ความหวาน, ความเปรี้ยว และความชอบโดยรวมในระดับชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง (5-5.8 คะแนน) จากการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระร้อยละ 14.59 ปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด 0.06 มิลลิกรัม GAE/กรัม ประสิทธิภาพการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสร้อยละ 2.46 และค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับสูง >70. ปริมาณที่เหมาะสมของสารสกัดจากหอมหัวใหญ่ที่เติมลงในผลิตภัณฑ์ผักแผ่นอบกรอบ คือ ร้อยละ 1.48 ผู้บริโภคในระดับห้องปฺฏิบัติการให้คะแนนการยอมรับด้านลักษณะปรากฏ, สี, ความกรอบ, กลิ่นรส, รสชาติและความชอบโดยรวมในระดับชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง (5.36-6.08 คะแนน) จากการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระร้อยละ 29.87 ปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด 0.11 มิลลิกรัม GAE/กรัม ประสิทธิภาพการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสร้อยละ 19.80 และค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับกลาง 50-70. จากผลงานวิจัยบ่งชี้ได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ได้จากการพัฒนาสามารถใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่มีภาวะความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน รวมทั้งผู้ที่รักสุขภาพโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคโนโลยีการผลิตที่ได้ถ่ายทอดสู่ภาคเอกชนทั้งในระดับวิสาหกิจชุมชนและระดับอุตสาหกรรมอาหารต่อไป.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Not For Loan 2022-07-20 IP00056

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300