อนุสิทธิบัตรเรื่อง กระบวนการผลิตเส้นใยเห็ดในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว= สิทธิบัตรเลขที่1601004868 Bundit Fungsin [et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: บัณฑิต ฝั่งสินธุ์
ผู้แต่งร่วม: Bundit Fungsin | Punnathorn Taveethapthaikul | Lawan Chatanon | Aphinan Srichuai | Bhusita Wannissorn | บัณฑิต ฝั่งสินธุ์ | ปัณณธร ทวีเทพไทกุล | ลาวัลย์ ชตานนท์ | อภินันท์ ศรีช่วย | ภูษิตา วรรณิสสร
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-03, Sub Proj. no. 8; no.1 (Final report) (Confidential)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2019 รายละเอียดตัวเล่ม: 46 p. table, ill. 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตสารแสดงฤทธิ์ที่มาจากมวลเส้นใยเห็ดพื้นเมืองที่มีศักยภาพ (Bio-process) | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:ได้สูตรอาหารเหลวเลี้ยงเส้นใยเห็ดและกระบวนการเลี้ยงเส้นในเห็ด การนำไปต่อยอด:สูตรอาหารเหลวเลี้ยงเส้นใยเห็ดและกระบวนการลัยงเส้นใยเห็ด/ผู้ผลิต,ภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหรือภาคอุตสาหกรรมการผลิตเห็ด จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:1.สูตรอาหารเหลวเลี้ยงเส้นใยเห็ด กระบวนการเลี้ยงเส้นใยเห็ด ใช้ทดแทนการใช้ดอกเห็ดตามธรรมชาติ 2.เครื่องจักรสำหรับปอกเปลือกเงาะ ประหยัดเวลาในการปอกเปลือกเงาะมากขึ้น ลดการช้ำของเงาะสาระสังเขป: The study aimed to develop a production of bioactive compounds from mycelium of potential Isan mushroom to be used in health product industry. A constraint of the production was an insufficient of mushroom fruiting body to produce active compounds in health products. The study on mycelium production of three strains of mushroom (Lentinus edodes, Phillinus igniarius, and Fomitopsis bcanjaderi) was carried out to examine a growth rate in the various fungal cultivation mediums. It was found that the three strains have similar result of the highest growth in Sabouraud Dextrose Agar (SDA) and in liquid medium of Sabouraud Dextrose Broth (SDB). The yields of the highest dried weight of mushroom mycelium of Lentinus edodes, Phillinus igniarius and Fomitopsis canjaderi were 0.232, 0.349 and 0.221g/100 ml, respectively. The results from the substitute medium for cultivation of mushroom mycelium showed that three mushroom mycelium of Lentinus edodes, Phillinus igniarius and Fomitopsis canjaderi have the best growth rate on the substituted liquid medium of Sucrose Whey broth (SW), Sucrose Yeast extract (SY) and Glucose Yeast extract broth (GY). The yields of dried weight of mycelium were 0.220, 0.287 and 0.264 g/100 ml, respectively. The study on an appropriate content of whey and sucrose in the substituted medium of Sucrose Whey broth (SW) indicated that the appropriate amount of whey and sucrose was 20%(w/v). The best trace elements formula in the liquid medium SW was K2HPO4 1.0, MgSO4.7H2O 0.5, and CaCl2 0.5 g/L. The optimum amount of sucrose and yeast extract in substituted liquid medium Sucrose Yeast Extract (SY) was 10% and 20% (w/v), respective. An appropriate initial pH in liquid medium three strains of mushroom was 5.5, 5.5 and 5.0, respectively. Three weeks cultivation of Lentinus edodes mycelium in 5 liter fermenter using liquid medium of SDB and SW showed the highest dried weight of mycelium obtained at 0.284, 0.372 g/ 100 ml, respectively. Three weeks cultivation of Phillinus igniarius mycelium in 5 liter fermenter using liquid medium of SDB and SW showed the highest mycelium dried weight obtained at 0.331, 0.396 g/100 ml, respectively. The investigation on active compounds in mushroom mycelium revealed that triterpene compound was found in the mycelium of mushroom, as well as in mushroom fruiting body.สาระสังเขป: การศึกษากระบวนการผลิตมวลเส้นใยเห็ดเพื่อผลิตสารแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพของเห็ด เพื่อที่จะส่งเสริมความเป็นไปได้ในภาคอุตสาหกรรมในกรณีที่ต้องใช้ดอกเห็ดที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เนื่องจากข้อจำกัดของวัตถุดิบดอกเห็ดที่มีไม่เพียงพอ เนื่องจากเป็นเห็ดตามฤดูกาลหรือดอกเห็ดใช้เวลานานในการสร้างดอกเห็ด การเลี้ยงเส้นใยเห็ดมีความรวดเร็วและสามารถขยายกำลังการผลิตรองรับในภาคอุตสาหกรรมได้ การศึกษากระบวนการเลี้ยงมวลเส้นใยเห็ด 3 ชนิด คือ เห็ดหอม (Lentinus edodes) เห็ดอุ้งตีนหมีขม (Phillinus igniarius) และเห็ดหิ้งสีชมพูหรือเห็ดหิ้งกุหลาบ (Fomitopsis canjaderi) จากการศึกษาการเจริญของเส้นใยเห็ดในอาหารแข็งที่ใช้สำหรับเลี้ยงเชื้อรา พบว่า เส้นใยเห็ดทั้ง 3 ชนิด สามารถเจริญได้ดีสูงสุดในอาหารแข็งที่เหมือนกันคือ Sabouraud Dextrose Agar (SDA) และในอาหารเหลว Sabouraud Dextrose Broth (SDB) โดยได้มวลของเส้นใยเห็ดแห้งของเห็ดหอม เห็ดอุ้งตีนหมีขมและ เห็ดหิ้งสีชมพูที่ 0.232, 0.349 และ 0.221 กรัม/100 มิลลิลิตร ตามลำดับ การศึกษาการเจริญของเส้นใยเห็ด ในอาหารเหลวทดแทนพบว่าเส้นใยเห็ด เห็ดหอม เห็ดอุ้งตีนหมีขมและ เห็ดหิ้งสีชมพู เจริญได้ดีในอาหาร Sucrose Whey broth (SW), Sucrose Yeast extract (SY) และ Glucose Yeast extract broth (GY) ตามลำดับ โดยสามารถผลิตได้มวลของเส้นใยเห็ดแห้งเท่ากับ 0.220, 0.287 และ 0.264 กรัม/100 มิลลิลิตร ตามลำดับ การแปรผันปริมาณหางนม (whey) และน้ำตาลซูโครสในอาหารเหลวทดแทน Sucrose Whey broth (SW) ในการเลี้ยงเห็ดหอม พบปริมาณ น้ำตาลซูโครสและหางนมที่เหมาะสมที่ค่าเดียวกัน คือ 20% (w/v) การศึกษาสูตรแร่ธาตุที่เหมาะสมในอาหารทดแทน SW คือ K2HPO4 1.0 กรัม + MgSO4.7H2O 0.5 กรัม+CaCl2 0.5 กรัม/ลิตร การทดลองการหาปริมาณน้ำตาลซูโครสและยีสต์สกัด (yeast extract) ที่เหมาะสมในอาหารเหลวทดแทน Sucrose Yeast Extract (SY) ในการเลี้ยงเห็ดอุ้งตีนหมีขมเท่ากับ 20% และ 10% (w/v) ตามลำดับ การศึกษาค่า pH ของอาหารเริ่มต้นในการลี้ยงเส้นใย เห็ดหอม เห็ดอุ้งตีนหมีขมและ เห็ดหิ้งสีชมพู พบว่า pH ที่ให้มวลเส้นใยเห็ดแห้งสูงสุดของเห็ดทั้ง 3 ชนิด คือ 5.5, 5.5 และ 5.0 ตามลำดับ การทดลองเลี้ยงเส้นใยเห็ดหอมในถังหมักขนาด 5 ลิตร เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยใช้อาหารเหลว SDB และอาหารเหลวทดแทน SW ได้มวลของเส้นใยเห็ดแห้งสูงสุดเท่ากับ 0.284, 0.372 กรัม/ 100 มิลลิลิตร ตามลำดับ และการทดลองเลี้ยงเส้นใยเห็ดอุ้งตีนหมีขมในถังหมักขนาด 5 ลิตร เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยใช้อาหารเหลว SDB และอาหารเหลวทดแทน SY ได้มวลของเส้นใยเห็ดแห้งสูงสุดเท่ากับ 0.331, 0.396 กรัม/100 มิลลิลิตร ตามลำดับ การสกัดหาสารแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพในเส้นใยเห็ดหิ้งสีชมพู ด้วยวิธี Thin-layer Chromatography พบว่า เส้นใยเห็ดมีสารไทร-เทอร์พีนส์เช่นเดียวกันในดอกเห็ด.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Not For Loan 2022-07-20 IP00052

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300