อนุสิทธิบัตรเรื่อง:กรรมวิธีการผลิตซีโอไลต์ชนิดโซเดียมเอ จากตอซังข้าว. 2559= อนุสิทธิบัตรเลขที่:1601002993 Patthanant Natpinit...[et al.] (CONFIDENTIAL)

ผู้แต่งร่วม: Patthanant Natpinit | Thitirat Ditkeaw | Rewadee, Anuwattana | Tawee Sappinunt | Khanok-on Amprayn | พัทธนันท์ นาถพินิจ | เรวดี อนุวัฒนา | ฐิติรัตน์ ดิษฐ์แก้ว | กนกอร อัมพรายน์ | ทวี สัปปินันท์
BCG: สิ่งแวดล้อม TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 57-01, Sub Proj. no. 3; no.1 (Final report) (CONFIDENTIAL)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani Thailand Institute of Scientific and Technological Research 2017 รายละเอียดตัวเล่ม: 143 p. table 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง:การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยจุลินทรีย์ และตัวดูดซับ | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี:พัฒนาจุลินทรีย์ซีโอไลต์ตอซัง เพื่อใช้ในการย่อยสลาย ลด Co2 การนำไปต่อยอด:1.จุลินทรีย์กระตุ้นการย่อยสลายตอซังข้าว/ชาวนาในพื้นที่ปทุมธานี, นครราชสีมา, ศรีสะเกษ 2.ซีโอไลต์ตอซังข้าว/เกษตรกร/ชาวนา ทุกพื้นที่ จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์:กรรมวิธีการผลิตซีโอไลต์ชนิดโซเดียมเอ จากตอซังข้าวหัวเรื่อง: ก๊าซเรือนกระจกสาระสังเขป: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยจุลินทรีย์และตัวดูดซับ การทดลองแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คัดเลือกจุลินทรีย์สำหรับย่อยสลายตอซังข้าว ส่วนที่ 2 สังเคราะห์ซีโอไลต์จากตอซังข้าว ส่วนที่ 3 ศึกษาการดูดซับและปลดปล่อยแร่ธาตุปุ๋ย ส่วนที่ 4 ศึกษาประสิทธิภาพการลดก๊าซเรือนกระจก และส่วนที่ 5 ศึกษาการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ปุ๋ยละลายช้าที่มีซีโอไลต์ผสมในการปลูกข้าวที่แปลงนาคลอง 4 ปทุมธานี เป็นเวลา 110 วัน ในการปลูกข้าวการทดลองได้ออกแบบเป็น 3 ชุดทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม (I) ชุดเติมซีโอไลต์ 4A 30 กรัม (II) และชุดเติมซีโอไลต์ตอซัง 80 กรัม (III) ก๊าซเรือนกระจกที่ศึกษา ได้แก่ ก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการย่อยสลายตอซังข้าวเป็นแอคติโนมัยซิส Streptomyces spp. , ซึ่งใช้เวลาในการย่อยสลาย 4 วัน สำหรับการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากตอซังข้าว พบว่า ได้ซีโอไลต์ที่ได้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับซีโอไลต์ทางการค้า ชนิด 4A ซึ่งมีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนไออนในช่วง 644-700 มิลลิกรัมแคลเซียมคาร์บอเนตต่อกรัมซีโอไลต์. การดูดซับและปลดปล่อยแร่ธาตุปุ๋ย ทำให้ได้สัดส่วนซีโอไลต์ 4A ต่อปุ๋ยเคมีที่ 3:1 หรือซีโอไลต์สังเคราะห์ต่อปุ๋ยเคมีที่ 8:1, จากการทดลองประสิทธิภาพการลดก๊าซเรือนกระจก พบว่าซีโอไลต์ตอซัง มีประสิทธิภาพในการลดก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสภาวะที่มีน้ำขังเป็นร้อยละ 8.91 และ 24.25 ตามลำดับ และซีโอไลต์ 4A เป็นร้อยละ 9.14 และ 19.10 ตามลำดับ. สำหรับการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว พบว่า ทั้งก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการปลดปล่อยอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูการปลูก โดยชุดควบคุมมีการปลดปล่อยก๊าซแต่ละชนิดเป็น 42.57 กรัมมีเทนต่อตารางเมตรต่อฤดูการปลูกและ 86.40 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตรต่อฤดูการปลูก ส่วนชุดที่มีการเติมซีโอไลต์ตอซังมีประสิทธิภาพในการลดก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 27.87 และ 33.14 ตามลำดับ. ส่วนซีโอไลต์ 4A มีร้อยละ 49.47 และ 62.70 ตามลำดับ. สรุปได้ว่าซีโอไลต์ทั้งสองชนิดสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ และประสิทธิภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกขึ้นกับปริมาณซีโอไลต์ที่ใช้ อัตราการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของซีโอไลต์ตอซังเป็น 0.148 กรัมมีเทนต่อตารางเมตรต่อกรัมซีโอไลต์ และ 0.358 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตรต่อกรัมซีโอไลต์ เช่นเดียวกัน อัตราการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของซีโอไลต์ 4A เป็น 0.702 กรัมมีเทนต่อตารางเมตรต่อกรัมซีโอไลต์ และ 1.806 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตรต่อกรัมซีโอไลต์. สาระสังเขป: The objective of this investigation aims to study the reduction of greenhouse gasses (GHGs) emission by utilization of microorganism and adsorbents. The experiments were divided into 5 parts. The part I was the selectivity of microorganism for rice stubble decomposition. The part II was the synthesis of zeolite from rice stubble and the part III was the study of adsorbing and releasing fertilizer. The part IV was the study of the efficiency of GHGs reduction and the part V was the application of slow released fertilizer to reduce the cumulative GHGs emission from rice cultivation in a rice paddy field at Khlong 4, Pathum Thani province for 110 days. In rice cultivation, the experiments were designed in 3 treatments as a control (I), zeolite 30 g addition (II) and rice stubble synthesized zeolite 80 g addition (III). The GHGs in this research were concerned with CH4 and CO2 gases. The results were shown that the rice stubble decomposing microorganism was Actinomyces called Streptomyces spp. The decomposing time was remained only 4 days. For rice stubble synthesized zeolite, the chemical property was the same as commercial zeolite as 4A. The cation exchanged capacity was in the range 644-700 mg CaCO3/g zeolite. So the adsorbing and releasing fertilizer had the ratio between zeolite and chemical fertilizer as 3:1 for zeolite 4A and 8:1 for synthesized zeolite. In addition, the results of GHGs reduction efficiency demonstrated synthesized zeolite had the efficiency of CH4 and CO2 reduction in the irrigation condition of 8.91% and 24.25% as well as 9.14% and 19.10% for zeolite 4A respectively. For reduction GHGs emission in the rice field, the footprints analysis showed that both CH4 and CO2 gas were continuously emitted during planting and transplanting. Besides, the result of the control treatment showed that the cumulative of each gas emission was at 42.57 g CH4/m2.crop and 86.40 g CO2/m2.crop. For synthesized zeolite addition, the reduction efficiency of CH4 and CO2 were 27.87% and 33.14% as well as 49.47% and 62.70% for zeolite 4A addition respectively. So it can conclude that the both of zeolites were capable of reducing GHGs significantly and the efficiency of reducing GHGs depended on the amount of zeolite. It was clearly that the GHGs emission reduction rate of synthesized zeolite was 0.148 g CH4/m2. g zeolite and 0.358 g CO2/m2 g zeolite as well as 0.702 g CH4/m2.g zeolite and 1.806 g CO2/m2 g zeolite for zeolite 4A respectively.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-07-01 IP00044

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300