การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาดและการลงทุนของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดการสูบบุหรี่ (การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการลงทุน) = Market feasibility study and investment opportunity for smoking reduction herb products / Seksak Chouichom...[etal.]

ผู้แต่งร่วม: ChouichomS, eksak | เศกศักดิ์ เชยชม | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 54-03, Sub proj. no. 2 ; Rep. no.1 (Final Report)ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาดและการลงทุนของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดการสูบบุหรี่ (การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการลงทุน)หัวเรื่อง: Smoking reduction herb products | การสูบบุหรี่ | สมุนไพร | สมุนไพรเพื่อลดการสูบบุหรี่สารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: The results of this study illustrated that most smokers believed that cigarettes could cause cancer (86.00%) Most of them had idea and intention to quit smoking but it was not successful (62.00%). They knew that nicotine gum could help decrease cigarette smoking (45.91%) and was informed by their friends (38.66%). They mentioned that the price of smoking quitting product should be cheaper than regular cigarette that they bought (52.33%) and should help quit smoking within 3 months (36.31%). Thirty-two percent of the sample smokers had tried nicotine gum, 49.30% bought it at convenience store, 21.00% from drug store at the price of not more than 300 Thai baht. Most of smokers did not attend the training for smoking quitting (74.30 %) and they had little knowledge in herbs for smoking quitting (53.70%). The smokers had great decision making in cleanliness of the product (mean=3.18) for buying the pilot products developed by TISTR researchers.สาระสังเขป: ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูบบุหรี่มีทัศนคติและความเชื่อว่าบุหรี่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง ร้อยละ 86.00, มีแนวคิดและวิธีการที่อยากเลิกสูบบุหรี่ ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า เคยลองเลิกมาแต่ไม่สำเร็จ ร้อยละ 62.00, สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ผู้สูบส่วนใหญ่จะรู้จักหมากฝรั่งนิโคติน ร้อยละ 45.91 และจะรู้จักจากเพื่อนๆ ร้อยละ 38.36 ผู้สูบให้ความเห็นว่าราคาของผลิตภัณฑ์ควรต่ำกว่าราคาของบุหรี่ที่ซื้อเป็นประจำ ร้อยละ 52.33 และใช้เวลาให้เลิกได้อยู่ระหว่าง 1-3 เดือน ร้อยละ 36.31 ผู้สูบเคยใช้หมากฝรั่งนิโคติน ร้อยละ 32.00 โดยจะซื้อตามร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 49.30 และ ระบุว่าซื้อที่ร้านขายยา ร้อยละ 21.00 โดยใช้จ่ายแต่ละครั้งที่ซื้อไม่เกิน 300 บาท และส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าอบรมการช่วยเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 74.30 และส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีสารสกัดที่ช่วยการลดสูบบุหรี่น้อยมาก ร้อยละ 53.70 (หญ้าดอกขาว, กานพลู, รางจืด และใบกะเพรา) ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เม็ดอมเพื่อลดการสูบบุหรี่ที่มีสารกะเพราเป็นส่วนประกอบ ส่วนใหญ่มีความชอบโดยรวม ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 3.18, รองลงมา คือ ความสะอาด ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 3.53, ด้านการตลาดและการลงทุนของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดการสูบบุหรี่ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยลดการสูบบุหรี่ (ไม่ใช่ตัวอย่างต้นแบบ วว.) ร้อยละ 88.00, มีความชอบผลิตภัณฑ์ช่วยลดการสูบบุหรี่ จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 74.00, ส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดการสูบบุหรี่ บ่อยถึง 8-9 ครั้ง/เดือน คิดเป็นร้อยละ 56.00, ผู้ตอบแบบสอบถามซื้อผลิตภัณฑ์ช่วยลดการสูบบุหรี่ที่ร้านขายยามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.00, ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาของผลิตภัณฑ์ช่วยลดการสูบบุหรี่ พบว่า ราคาของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดการสูบบุหรี่ ราคาที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 100-150 บาท คิดเป็นร้อยละ 69.00 ผู้ตอบแบบสอบถามตัดสินใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ ร้อยละ 72.00 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ โดยรวมสนใจที่จะลงทุน คิดเป็นร้อยละ 61.00 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดการสูบบุหรี่ ด้านสินค้า ส่วนใหญ่ให้ความคิดอยู่ในระดับมากที่สุด ว่าการมีเครื่องหมายรับรอง และความสะอาด/ความปลอดภัยในการบริโภค ในตัวผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.77 และ 4.76) ด้านราคา สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพิจารณาจาก ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.66) ด้านช่องทางการจำหน่าย สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มีให้เลือกแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.66) ด้านการส่งเสริมการตลาด สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด โดยรวมคิดว่าการมีผลิตภัณฑ์ให้ทดลอง อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.87) ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับปรุงรสชาติไม่ให้ขมจนเกินไป ให้มีสีสันน่ารับประทาน มีการระบุสูตรและส่วนผสมอย่างชัดเจนว่ามีส่วนประกอบใดบ้าง พร้อมทั้งมีการรับรองจากหน่วยงานทางด้านสมุนไพรไทยที่ถูกต้อง หรือทดสอบกับสัตว์ทดลองในเรื่องความปลอดภัยก่อนนำมาทดสอบแก่ผู้สูบบุหรี่ นอกจากนี้ นักวิจัยต้องมีการศึกษาถึงองค์ประกอบของสารสกัดสมุนไพรในกะเพราอย่างชัดเจน ทั้งใบ, ดอก และลำต้น รวมทั้งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เม็ดอมสาระสังเขป: ที่นักวิจัยทำเป็นรูปหัวใจ (heart beat) และมีความอ่อนตัวง่ายนั้น ให้มีขนาดที่เล็กลง อมหมดง่าย และอมได้บ่อยครั้ง รวมทั้งพัฒนาความแข็งตัวของเม็ดอม.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
Available 2019-06-21 1 RP2016/1620
General Book
Available 2019-06-21 2 RP2016/1620-1

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300