อนุสิทธิบัตรเรื่อง : กระบวนการผลิตเจลบีดสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขาม. (สิทธิบัตร 2558)= สิทธิบัตรเลขที่ : 1501003839 / Thanchanok Muangman...[et al.]

โดย: Thanchanok Muangman
ผู้แต่งร่วม: Eiamwat, Jirawat | Klungsupya, Prapaipat | Kongchinda, Papitchaya | Muangman, Thanchanok | Pathtubtim, Intira | Phantanaprates, Wimonsri | Phumpuang, Methika | Reungpatthanaphong, Sareeya | Sani, Piyanut | Sematong, Tuanta | Soradech, Sitthiphong | Thongdon-a, Jeerayu | อินทิรา เพชรทับทิม | ธัญชนก เมืองมั่น | สรียา เรืองพัฒนพงศ์ | เตือนตา เสมาทอง | จิระวัฒน์ เอี่ยมวัฒน์ | ปพิชญา กองจินดา | ประไพภัทร คลังทรัพย์ | จีรายุ ทองดอนเอ | วิมลศรี พรรธนประเทศ | พุ่มพวง, เมทิกา | ปิยนุช สนิ | สิทธิพงศ์ สรเดช | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
BCG: อาหาร TRM: อาหาร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-02, Sub. Proj. no. 5ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: 106 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง : วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อความงามจากกากเมล็ดมะขาม | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี : 1.สารสกัด 3 ชนิด (TSCH TSC3395 TSC95)มีผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เจลบีดสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขาม เป็น ingradienceสามารถพัฒนาเป็นเจลลี่หรือเครื่องดื่มเสริมเหมาะกับนักกีฬา จะใช้ในรูปแบบสารสกัด(ยังไม่ดำเนินการตอนนี้) | จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์ : - เพิ่มมูลค่าของเมล็ดมะขามที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม - ลดการนำเข้าของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากต่างประเทศเพราะสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามที่ได้มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่เทียบเท่ากับกับสารออกฤทธิ์ในกลุ่มเดียวกันหัวเรื่อง: Antioxidant activity | Anti-tyrosinase | Cellular toxicity | Supercritical extraction | Tamarind seedสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover สาระสังเขป: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากเมล็ดมะขาม ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งที่ได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะขาม ทำการสกัดสารจากเปลือกเมล็ดมะขามด้วยวิธีต่างๆ คือ สกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์วิกฤตยิ่งยวดร่วมกับเอทานอล สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่ 50 และ 95 เปอร์เซ็นต์ และสกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ จากนั้นนำมาทำการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพคือ ฤทธิ์ต้านต่อเอนไซม์ไทโรซิเนสฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและความเป็นพิษต่อเซลล์ และศึกษา องค์ประกอบทางพฤกษเคมีด้วยวิธี THL HPLC และ Spectrophotometric คัดเลือกสารสกัดจำนวน 11 ตัวอย่าง ที่ได้จากตัวทำละลายต่างๆ กันมาศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพต่อไป เมื่อทำการทดสอบองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัด พบว่า มีองค์ประกอบของฟินอลิกแทนนินเป็นองค์ประกอบหลัก และนอกจากนั้นบางตัวอย่างยังมีปริมาณของสารพฤกษเคมีเฉพาะ คือสารกลุ่ม oligomeric proanthocycnidid (OPC) ในปริมาณสูง เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ คือ ฤทธิ์ต้านต่อเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่า สารสกัดที่ได้จากการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์วิกฤตยิ่งยวดร่วมกับเอทานอลที่ 10 เปอร์เซ็นต์ (TSC3310) และ 95 เปอร์เซ็นต์ (TSC3395) มีฤทธิ์ดีตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่า สารสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์วิกฤตยิ่งยวดร่วมกับเอทานอลที่ 95 เปอร์เซ็นต์ (TSC3395) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด และสารสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่ 95 เปอร์เซ็นต์ (TSC95) ตามลำดับ. จากนั้นนำสารสกัด TSC3395 และ TSC95 มาทำการศึกษาฤทธิ์ต้านต่อการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์จากภาวะออกซิเดชัน พบว่า ทั้งสองสารสกัดสามารถต้านต่อความเสียหายของเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียได้ใกล้เคียงกันแต่พบว่าสารสกัด TSC95 สามารถป้องกันการเสียหายของเยื่อหุ้มเซลล์ได้มากกว่า TSC3395, จากนั้นทำการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดพบว่าสารสกัดเกือบทั้งหมดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ยกเว้นสารสกัดจากตัวทำละลายน้ำ (TSCH) มีความเป็นพิษต่อเซลล์สูงโดยเฉพาะในเซลล์มะเร็งจากนั้นทำการทดสอบฤทธิ์การเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนซ์ พบว่า สารสกัด TSCH มีฤทธิ์ในการทำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเทียบเท่ากับยาคีโม คือ valinomycin. จากผลการทดลองของงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านต่ออนุมูลอิสระและต้านต่อการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ในภาวะออกซิเดชัน และมากกว่านั้นยังพบว่า สารสกัดจากน้ำสามารถทำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ดังนั้น จึงมีความเหมาะสมที่จะนำสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามไปใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในการพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง และโครงการวิจัยนี้ก็ได้พัฒนาการกักเก็บสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามด้วยพอลิเมอร์เพื่อให้พร้อมใช้สำหรับเป็นสารออกฤทธิ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ.สาระสังเขป: The purpose of this project was to conduct research and development on a healthy product from Tamarind seed coat which are the by products from Tamarind processi industry. The extracts were obtained by supercritical fluid CO2 extraction and conventional extraction technique. This study was to investigate the extraction condition and bioactivity of Tamarind seed coat extracts with supercritical CO2 with ethanol co-solvent as well as with ethanol and water extraction. The supercritical extraction was performed with various ethanol co-solvents. The solvent extracts were obtained from 50 and 95% ethanol and water used as a polar phase of extraction. The effects of Tamarind seed coat extracts on anti-tyrosinase, antioxidant activity and cellular toxicity were determined. The content of phytochemical were determined by TLC, HPLC and spectrophotometric. Various extracts from supercritical CO2 with ethanol co-solvent, ethanol and water were obtained and further study was conducted on phytochemical analysis and biological activities. Phytochemical content of extracts consisted of total phenolic and total tannin. Moreover, some extract showed high content of oligomeric proanthocyanidin (OPC). The strong anti-tyrosinase activity exhibited on the extract from supercritical CO2 with 10% (TSC3310) and 95% (TSC3395) ethanol co-solvent, respectively. The highest free radical scavenging activity determined by superoxide dismutase (SOD)-like activity assay were shown on the extract from supercritical CO2 with 95% ethanol co-solvent (TSC3395), followed by extract from 95% ethanol (TSC95). Both TSC3395 and TSC95 were studied on anti-oxidative cellular membrane damage by LDH (cell membrane) and MMP (mitochondrial membrane) assay. The result showed similar effects on antioxidative mitochondrial membrane but TSC95 showed stronger effect on anti-oxidative cell membrane than TSC3395. The cellular and mitochondrial toxicity was analyzed by mitochondrial dehydrogenase activity (WST assay) and mitochondrial membrane potential (MMP assay). WST assay was analyzed on various cell cultures as well as Caco-2, HepG2, Hela, L929 and HK-2. All extracts did not show cytotoxicity except the extract from water (TSCH). Interestingly, the tamarind seed coat with water extract showed the highest toxicity to cancer cells but not to normal cells. The MMP assay representing cellular apoptosis was further investigated on Hela cells using fluorescence technique. The toxicity of water extract on mitochondrial membrane was as strong as valinomycin (chemotherapeutic agent). From the findings, it was concluded that tamarind seed coat extracts had strong effects of anti-oxidative cellular damage and especially the water extract (TSCH) might have strong toxic effect on cancer cells via mitochondrial membrane degradation or apoptosis pathway while having no toxic effect on normal cells. Therefore, the extracts from tamarind seed coat were used as an active ingredient to develop healthy products such as dietary supplement and cosmetic. Moreover, the method to prepare extract by encapsulated with polymer was developed. This encapsulated extract should be used as an ingredient in healthy product development.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-08-30 IP00065

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300