อนุสิทธิบัตรเรื่อง : เครื่องอบความชื้นเมล็ดพันธุ์พืชแบบปรับทิศทางลมร้อน และอนุสิทธิบัตรเรื่อง :เครื่องอบลดความชื้นเมล็ดพืช = อนุสิทธิบัตรเลขที่ : 1501004896 /1501004897 / Samphan Srisuriyawong...[et al.]

โดย: Samphan Srisuriyawong
ผู้แต่งร่วม: Chankamma, Noppamas | Inchoorun, Natsacha | Promjan, Weerayuth | Sithisam-ang, Damrongchai | Srisuriyawong, Samphan | Wanlapa, Sorada | นพมาศ จารย์คำมา | วีรยุทธ พรหมจันทร์ | โศรดา วัลภา | สัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ | ดำรงชัย สิทธิสำอางค์ | ณัฐศชา อินทร์ชูรัญ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 56-05, Sub. Proj. no. 2ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: 119 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง : การพัฒนาเครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกระดับเกษตรกร | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี : เครื่องต้นแบบลดความชื้นข้าวเปลือกระดับชุมชน การนำไปต่อยอด : เครื่องอบลดความชื้น ข้าวเปลือกเพื่อบริโภค และเครื่องอบลดความชื้น ข้าวเปลือกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์/กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา ,จ.สงขลา ,จ.พัทลุง ,จ.ลำปาง ,จ.อุบลราชธานี จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์ : - ลดความชื้นข้าวเปลือก ระดับเกษตรกรสำหรับอบข้าวบริโภค และระดับเกษตรสำหรับอบข้าวเมล็ดพันธุ์หัวเรื่อง: Paddy dryer | ข้าวเปลือก | เครื่องลดความชื้นสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover สาระสังเขป: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบลดความชื้นข้าวเปลือกระดับเกษตรกรขนาด 2 ตัน สำ หรับอบข้าวเมล็ดพันธุ์ และขนาด 5 ตัน สำ หรับอบข้าวบริโภคเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ ราคาเครื่องไม่แพง, วัสดุทนทาน, สามารถถอดประกอบง่ายเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากแก๊สหุงต้ม (LPG) เป็นพลังงานเชื้อเพลิง โดยจัดตั้งทดลองสาธิตและฝึกอบรมนำร่องเผยแพร่ให้กลุ่มเกษตรกรทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้. จากการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง โดยทำการศึกษาจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวสดด้วยเครื่องอบแห้งระดับเกษตรกรที่พัฒนาขึ้น เพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงของความชื้นในระหว่างการอบแห้งและระยะเวลาในการอบแห้ง เมื่อใช้สภาวะในการอบแห้งต่างๆ โดยได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าอัตราส่วนความชื้นของข้าวเปลือกในระหว่างการอบแห้งที่ระดับอุณหภูมิ 2 ระดับ คือ 50 และ 60°ซ และความสูงของชั้นข้าวเปลือก 3 ระดับ คือ 20, 30 และ 35 ซม. โดยมีความเร็วลมร้อน 2 เมตรต่อวินาที จากการทดลองพบว่า ข้าวเปลือกมีอัตราส่วนความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 30 นาทีแรก ก่อนมีอัตราการอบแห้งลดลง โดยมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงแบบเอกซ์โพเนนเชียลแบบลดลงตามเวลา ซึ่งสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยแบบจำลอง Newton โดยที่อัตราการอบแห้งของข้าวเปลือกจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของลมร้อนและความสูงของชั้นข้าวเปลือก โดยอุณหภูมิการอบแห้งที่สูงขึ้นจะส่งผลทำให้อัตราการอบแห้ง สูงขึ้นซึ่งแปรผกผันกับชั้นความสูงของข้าวเปลือก โดยค่าคงที่ในสมการอบแห้งสามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองที่มีตัวแปร คือ อุณหภูมิในการอบแห้ง และความสูงของชั้นข้าวเปลือก ที่มีค่า R2 เท่ากับ 0.98.สาระสังเขป: This research aimed to design and develop the small-scale paddy dryer with 2 tons capacity of paddy seeds and 5 tons capacity of the paddy consumption. Its technology was not complicated so that farmers could access with affordable price. The machine was durable, easily movable and assembled with simple maintenance. The heat source came from LPG. Its manual working had already been shown in the pilot training to the farmer groups of the whole country including, Northern, Central, Eastern, Northeastern and Southern regions. From the efficiency working test by developing the drying equation for predicting the drying kinetic of freshly harvested paddy using the small-scale paddy dryer developed by TISTR, paddy was dried at different drying temperatures of 50 degree celsius and 60 degree celsius and bed heights of 20, 30 and 35 cm. The results showed that moisture ratio of paddy decreased rapidly during the first 30 min of the drying process and then decreased slower. The experiment data were fitted to the Newton's exponential drying model. Both drying temperature and bed height showed the significant effect on the rate of drying. The drying rate increased with drying temperatures or decrease in bed heights, resulting in the increase of drying rate. It should be possible to predict the drying constant with a generalized model that showed the effect of drying air temperatures and bed height, which had a good fit with R2 = 0.98.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-08-31 IP00074

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300