อนุสิทธิบัตรเรื่อง : กรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ลดอาการทางระบบประสาทด้วยสารสกัดจากกะทกรก (สิทธิบัตร 2557)= อนุสิทธิบัตรเลขที่ : 1401005450 / Krittiya Thisayakorn...[et al.]

โดย: Krittiya Thisayakorn
ผู้แต่งร่วม: Charus Thisayakorn | Chuleratana Banchonglikitkul | Krittiya Thisayakorn | Pongsatorn Limsiriwong | Rattanasiri Giwanon | Sarunya Laovitthayanggoon | Sawai Nakakaew | Sinn Tangstirapakdee | Tuanta Sematong | Wicheian Khoeynuak | เตือนตา เสมาทอง | ไสว นาคาแก้ว | กฤติยา ทิสยากร | จรัส ทิสยากร | ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล | พงศธร หลิมศิริวงษ์ | รัตนศิริ จิวานนท์ | วิเชียร เขยนอก | ศรัญญา เหล่าวิทยางค์กูร | สิน ตั้งสถิรภักดี | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
BCG: สารสกัด TRM: สุขภาพ กลุ่มสมุนไพร Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 52-10, Sub Proj. no. 11ข้อมูลการพิมพ์: Pathumthani : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2016 รายละเอียดตัวเล่ม: ฎ, 101 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: โครงการวิจัยเรื่อง : วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนาภัณฑ์เพื่อบรรเทาอาการทางระบบประสาทจากโรคพาร์กินสันในผู้ป่วยสูงอายุจากพืชตระกูลเสาวรส | ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี : ศึกษา กะทกรก หมามุ่ย เสาวรส เน้นไปที่หมามุ่ย ได้ Product เป็นยาเม็ดบรรเทาอาการพากินสันในผู้สูงอายุ 2 ชนิด 1จากกะทกรก 2.จากหมามุ่ยกล้วยแขก (วัตถุดิบมีปัญหาเนื่องจากเป็นพิชประจำถิ่น)3.อยู่ระหว่างทำ clinical trial การนำไปต่อยอด : ผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์สำหรับบรรเทาอาการทางระบบประสาท จากโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุด้วยสารสกัดจากพืชสกุลเสาวรส/บริษัทเอกชนผู้ผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจากสมุนไพร จุดเด่นของเทคโนโลยี/ ผลิตภัณฑ์ : - รับประทานง่าย และมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากโรคพาร์กินสัน - ทดแทนการใช้ยาที่เป็นสารเคมี หรือนำมาใช้ร่วมกับยาเพื่อลดอาการข้างเคียงของยาที่เป็นสารเคมีหัวเรื่อง: Mucuna | Mucuna gigantea | Neutraceuticals | Parkinson's disease | Passiflora foetida | Passion flowerสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover สาระสังเขป: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนาภัณฑ์ในการบรรเทาอาการจากโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุด้วยพืชสกุลเสาวรสให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบยาเม็ด รับประทานง่าย และมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากโรคพาร์กินสัน โดยพืชสกุลเสาวรสที่เลือกมาศึกษาคือ กะทกรก ซึ่งพบว่า มี 5 สารหลักที่สำคัญอยู่ในกลุ่ม harmala alkaloids และยังได้เลือกเอาเมล็ดหมามุ่ยกล้วยแขกมาศึกษาด้วย เนื่องจากพบว่า มีสารส าคัญ คือ L-Dopa ที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท Dopamine ซึ่งมีหน้าที่ส าคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหนูทดลอง พบว่า สารสกัดใบกะทกรก ขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสาร สกัดเมล็ดหมามุ่ยกล้วยแขก ขนาด 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถบรรเทาอาการสั่นเกร็งของร่างกาย (tremor) ในหนู C57BL/6 mice ที่เหนี่ยวนำด้วย MPTP และในหนูขาวสายพันธุ์ Wistar rat ที่เหนี่ยวนำด้วย rotenone ได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p<0.05) เช่นเดียวกับ Sinemet ที่เป็นยามาตรฐานในการใช้รักษาโรคพาร์กินสัน และยังสามารถบรรเทาอาการเคี้ยวปาก (chewing) ในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการด้วย tacrine ได้เช่นเดียวกับ Sinemet อีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อนำสมอง มาศึกษากลไกการออกฤทธิ์ พบว่า สารสกัดทั้ง 2 ชนิด สามารถเพิ่มระดับสารสื่อประสาท dopamine และลดระดับเอนไซม์ MAO-B ในสมองหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เช่นเดียวกับ Sinemet จึงได้นำเอามาพัฒนาสูตรตำรับเป็นยาเม็ดเคลือบฟิล์มชนิดธรรมดา และให้ชื่อผลิตภัณฑ์จากสารสกัดใบกะทกรกว่า "ParkinPas" และผลิตภัณฑ์จากสารสกัดเมล็ดหมามุ่ยกล้วยแขกว่า "MucuTab" แล้วนำมาประเมินความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง พบว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด มีค่า LD50>6,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเมื่อให้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด ต่อเนื่องกันนาน 90 วัน เพื่อศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง พบว่า ไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติ อย่างมีนัยสำคัญทั้งในส่วนของน้ำหนักตัว, อัตราการกินอาหาร, ค่าทางโลหิตวิทยา, ค่าทางเคมีคลินิกในเลือดและปัสสาวะ รวมถึงพยาธิสภาพของอวัยวะหลักต่างๆ แต่เนื่องจากหมามุ่ยกล้วยแขกเป็นพืชพื้นถิ่น จึงมีปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบจำนวนมาก จึงได้เลือกเอาแต่ผลิตภัณฑ์ "ParkinPas" มาศึกษาต่อในส่วนของการควบคุมคุณภาพ ซึ่งพบว่า ไม่มีการปนเปื้อนของทั้งเชื้อก่อโรคและโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ แล้วจึงนำมาศึกษาต่อในส่วนของความปลอดภัยและประสิทธิผลต่อการบรรเทาอาการจากโรคพาร์กินสันในอาสาสมัครเปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่า "ParkinPas" ไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงในอาสาสมัคร และในส่วนของผลการรักษาอาการของโรคสนับสนุนว่า ผลิตภัณฑ์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางด้าน mentation-behavior-mood, activity daily living (ADL), และ total scores ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ดี การศึกษาทางคลินิกใน phase III โดยการเพิ่มจำนวนอาสาสมัคร และระยะเวลาในการติดตามผล จะช่วยยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ในมนุษย์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น.สาระสังเขป: The research aims to develop a nutraceutical product to relieve the symptoms of Parkinson's disease (PD) in older people using Passiflora genus in a tablet form, which is easy to consume and is effective in relieving the PD symptoms. Passiflora foetida L. (passionflower) was selected to study. We found five major substances belonging to the harmala alkaloids in the leaves of passionflower. In addition, Mucuna gigantea (Willd.) DC. (mucuna) was selected and investigated. We found that the seeds of mucuna contained L-DOPA, a natural levodopa, which is a precursor of dopamine. Dopamine is a neurotransmitter playing a major role in controlling body movements. Pharmacological studies in rodents showed that the leaf extract of passionflower (200 mg/kg) and the seed extract of mucuna (400mg/kg) statistically significant relieved body tremor and spasticity in C57BL/6 mice induced by MPTP and in Wistar rats induced by rotenone, as well as sinemet, a PD treatment standard drug, did. Besides, these two extracts markedly improved jaw movement (chewing) effect induced by tacrine in Wistar rat corresponding to sinemet. The mechanism of action revealed that both passiflora and mucuna clearly noticeable increased the levels of dopamine and decreased MAO-B levels in the rat's brain. Possibly, the mechanism of action of these two extracts related to the pathway of dopamine and could act as dopamine agonist and MAO-B inhibitor. Hence, the extracts from passionflower and mucuna were formulated in the form of film coated tablets. The product from passionflower was named as "ParkinPas" and from mucuna was "MucuTab". The safety evaluation of the both products was assessed in rats, and was found to have LD50>6,000 mg/kg. The consecutive 90-day toxicity study (subchronic toxicity) showed that these two products did not cause any significant disorders in rats in terms of body weight, food consuming rate, hematology, the clinical chemistry in blood and urine, and the pathology of major organs. Since mucuna is a local plant, it will have problems in the supply of raw materials. Therefore, "ParkinPas" was the only product for the rests of this study. The quality control exhibited no contamination of pathogens and heavy metals in the product of "ParkinPas". The studies of safety and effectiveness to relieve symptoms of PD of the product in volunteers compared to placebo revealed that "ParkinPas" did not cause any serious side effects in volunteers. The treatment of the disease supported that the product significantly improved mentation-behavior-mood, activity daily living (ADL), and total scores. However, phase III study of clinical trial by increasing the number of volunteers and times of following-up could be helpful to ensure its efficacy and safety for using in human.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number Unit สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
Intellectual Property
Available 2022-08-31 IP00078
General Book
วว. เทคโนธานี
2016 Available 2018-08-31 1 RP2016/1607
General Book
วว. เทคโนธานี
2016 Available 2018-08-31 2 2016/1607-2

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300