การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก = Research and development to correct low produces quality limitation of fresh fruit and vegetable for export / Anawat Suwanagul...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Anawat Suwanagul | Apinya Wisutiamonkul | Borworn Tontiworachai | Maneerat Meeploy | Montinee Kamoltham | Rujira Deewatthanawong | Sodsri Neamprem | Supavadee Chanapan | บวร ตันติวรชัย | มณีรัตน์ มีพลอย | มนฑิณี กมลธรรม | รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ | สดศรี เนียมเปรม | สุภาวดี ชนะพาล | อนวัช สุวรรณกุล | อภิญญา วิสุทธิอมรกุล | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 52-08, Sub Proj. no. 1ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2013 รายละเอียดตัวเล่ม: ช, 92 p. : tables, ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออกหัวเรื่อง: Aminoethoxyvinylglycine (AVG) | Annona squamosa | Cycloheximide | Durian | Durio zibethinus | Ethylene | Fruit | Gamma rays | Garcinia mangostana | Mangosteen | Nitrous oxide | Postharvest diseases | Postharvest technology | Postharvest treatment | Storage life | Vegetablesสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access Full-text สาระสังเขป: Tropical fruit and vegetable normally deteriorate rapidly after harvest resulting in short storage life and poor quality. This research aims to develop postharvest technologies to prolong the storage life and control postharvest diseases of freshly harvested tropical produce. In this report, evaluation of ethylene inhibitors and gamma irradiation for postharvest treatments were described. Effects of aminoethoxyvinylglycine (AVG), cycloheximide, and nitrous oxide on ethylene production in fruit tissues were studied. Our results showed that an application of 2 mm AVG slightly reduced ethylene production in tissue discs of banana fruit cv. Hom Thong (Musa acuminate, AAA Group). In durian cv. Mon Thong (Durio zibethinus L.), ethylene production in rind tissue was much greater than that of pulp tissue. Because of low ethylene production, applications of AVG, cycloheximide, or a combination of both had no effect on ethylene production in durain pulp. Treatments of AVG, cycloheximide, and a combination of both reduced ethylene production in durian rind, and a reduction rate in AVG treated tissue discs was greater than in cycloheximide treated tissues while a combination of AVG and cycloheximide had a similar effect as an individual application of AVG or cycloheximide. AVG at concentrations of 250, 1000, and 4000 mg/l reduced ethylene production in durian rind and the greatest reduction was found in tissue discs treated with 1000 mg/l AVG. Nitrous oxide treatment ent at concentrations of 40, 60, and 80 % reduced ethylene production, and the lowest ethylene production was observed in 80 % nitrous oxide treated tissue discs of durian rind. Inhibition of ethylene production by AVG in sugar apple cv. Nang (Annona squamosa) was investigated. Results showed that treatment with 1000, 2000, and 4000 ppm AVG for 5 min lowered ethylene production and delayed climacteric peak in sugar apple fruit. Additionally, a decline in respiration rate was found in sugar apple fruit treated with 4000 ppm AVG. However, AVG treated fruit at all concentrations had no effect on fruit softening, color change, and fruit ripening. Effects of fumigation with 1-MCP on fruit quality of mangosteen (Garcinia mangostana) were studied. Application of 1-MCP at concentrations of 1000 and 2000 ppb for 6, 12, and 18 hours delayed color change and extended storage life up to 16 days. 1-MCP treated fruit were more difficult to peel with harder pulp. However, fruit became softer and had normal taste on day 25. When the concentration was reduced to 500 ppb, fumigation of 500 ppb 1-MCP for 18 hours delayed color change and extended storage life to 17 days. Treated fruit were relatively difficult to peel, but fruit texture and taste became normal on day 22. Application of AVG at concentrations of 125, 250, 500, 1000, and 2000 ppm. had no effect on ethylene production and color change. Control of postharvest diseases of mango fruit cv. Nam Dok Mai Sri Thong by gamma radiation was investigated. Our results showed that gamma irradiation at 0.4, 1.0 and 1.5 kGy reduced the incidence of anthracnose and stem-end rot in mango fruit. Irradiated fruit showed normal ripening, faster softening, higher electrolyte leakage, lower ethylene production, and higher respiration rate.สาระสังเขป: จากการทดลองควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองด้วยการฉายรังสีแกมมาที่อัตรา 0, 0.4, 1.0 และ 1.5 กิโลเกรย์ พบว่า การฉายรังสีอัตรา 1.0 และ 1.5 กิโลเกรย์ ช่วยลดการเกิดโรคแอนแทรกโนสและโรคขั้วผลเน่าในผลมะม่วงได้ โดยผลมะม่วงที่ได้รับรังสีในทุกๆ อัตรามีการสุกปกติ เนื้อผลมะม่วงนิ่มลงเร็วกว่าผลที่ไม่ได้รับการฉายรังสี, มีการรั่วไหลของประจุมากขึ้น, มีการสร้างเอทิลีนลดลง และมีอัตราการหายใจเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณรังสีที่ได้รับ.สาระสังเขป: ผักและผลไม้เขตร้อนหลังการเก็บเกี่ยวมักเน่าเสียง่าย ทำให้มีอายุการเก็บรักษาภายหลังการเก็บเกี่ยวสั้นและคุณภาพต่ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษาและลดการเน่าเสียของผลิตผลสด โดยงานวิจัยมุ่งเน้นการใช้สารยับยั้งเอทิลีนชนิดต่างๆ และการใช้รังสีแกมมาในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว. จากการศึกษาผลของสาร aminoethoxyvinylglycine (AVG), cycloheximide และ nitrous oxide ต่อการสร้างเอทิลีนในระดับเนื้อเยื่อพบว่า สาร AVG ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล ลดอัตราการสร้างเอทิลีนในเนื้อเยื่อของเนื้อกล้วยหอมได้เพียงเล็กน้อย สำหรับการทดลองในเนื้อเยื่อทุเรียนนั้นพบว่า เปลือกทุเรียนมีอัตราการสร้างเอทิลีนมากกว่าในเนื้อหลายเท่า และเนื่องจากเนื้อ ทุเรียนมีการสร้างเอทิลีนน้อยมาก การใช้สาร AVG, cycloheximide หรือการใช้สารทั้งสองชนิดร่วมกันไม่มีผลต่อการลดการสร้างเอทิลีน ส่วนในเปลือกทุเรียนซึ่งมีอัตราการสร้างเอทิลีนสูงนั้น การใช้ AVG, cycloheximide หรือการใช้สารทั้งสองชนิดร่วมกัน สามารถลดการสร้างเอทิลีนได้มากกว่า cycloheximide ขณะที่การใช้สารทั้งสองชนิดร่วมกันสามารถยับยั้งการสร้างเอทิลีนได้ใกล้เคียงกับการใช้ AVG หรือ cycloheximide เพียงอย่างเดียว จากการทดลองแช่เปลือกทุเรียนในสารละลาย AVG ความเข้มข้น 250, 1000 และ 4000 มิลลิกรัม/ลิตร นั้น พบว่า การแช่เปลือกทุเรียนในสารละลาย AVG 1000 มิลลิกรัม/ลิตร ทำให้เปลือกทุเรียนมีอัตราการสร้างเอทิลีนน้อยที่สุด เมื่อทดสอบผลของแก๊ส nitrous oxide พบว่า เปลือกทุเรียนมีอัตราการสร้างเอทิลีนลดลงเมื่อได้รับแก๊ส nitrous oxide 40, 60 และ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเปลือกทุเรียนที่ได้รับ nitrous oxide 80 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการสร้างเอทิลีนน้อยที่สุด. การทดลองการใช้สารยับยั้งเอทิลีนในน้อยหน่า โดยการแช่น้อยหน่าพันธุ์หนังในสาร AVG ความเข้มข้น 500, 1000, 2000 และ 4000 ppm นาน 5 นาที พบว่า ผลน้อยหน่าที่ได้รับสาร AVG ความเข้มข้น 1000, 2000 และ 4000 ppm มีอัตราสร้างเอทิลีนลดลง และชะลอการเกิด climacteric peak นอกจากนี้ยังพบว่า ผลน้อยหน่าที่ได้รับสาร AVG ความเข้มข้น 4000 ppm มีอัตราการหายใจลดลงตลอดการทดลอง โดยผลน้อยหน่าที่ได้รับสาร AVG ทุกความเข้มข้นมีการสุกปกติและไม่มีผลในการชะลอการอ่อนนุ่มและการเปลี่ยนสีของผิวผล. สำหรับการทดลองใช้สารยับยั้งเอทิลีนในมังคุดพบว่า การรมมังคุดด้วยสาร 1-methylcyclo propene (1-MCP) ที่ความเข้มข้น 1,000 และ 2,000 ppb เป็นเวลา 6, 12 และ 18 ชั่วโมง พบว่าการใช้ 1-MCP ทั้ง 2 ความเข้มข้น ชะลอการเปลี่ยนแปลงสี และผลมังคุดที่รมด้วย 1-MCP มีอายุการเก็บรักษานานขึ้นสองเท่า (16 วัน) พบว่า มังคุดที่รมด้วยสาร 1-MCP มีเนื้อแข็งกว่าปกติและการปอกเปลือกทำได้ยาก แต่เมื่อทิ้งไว้ที่จนถึงวันที่ 25 พบว่า ผลมังคุดปอกเปลือกง่ายขึ้นและมีรสชาติและเนื้อสัมผัสปกติ เมื่อทำการลดความเข้มข้นของสาร 1-MCP เป็น 500 ppb และทำการรมเป็นเวลา 6, 12 และ 18 ชั่วโมง พบว่า การรมสาร 1-MCP นาน 18 ชั่วโมง ชะลอการเปลี่ยนสีนานที่สุด และมีอายุการเก็บรักษานาน วัน 17 แต่การปอกเปลือกยังค่อนข้างยาก แต่เมื่อทิ้งไว้จนถึงวันที่ 22 จะทำให้ปอกเปลือกง่ายขึ้น, เนื้อสัมผัสไม่แข็ง และมีรสชาติปกติ, ส่วนการใช้สาร AVG ที่ความเข้มข้น 0, 125, 250, 500, 1000 และ 2000 ppm ไม่มีผลต่อการสร้างเอทิลีนและการเปลี่ยนแปลงสีในมังคุด.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP2013/1522
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP2013/1522-2
Browsing วว. เทคโนธานี shelves, Shelving location: วว. เทคโนธานี Close shelf browser
ไม่มีภาพปก
ไม่มีภาพปก
ไม่มีภาพปก
ไม่มีภาพปก
ไม่มีภาพปก
ไม่มีภาพปก
ไม่มีภาพปก
แปลงทดลองสาธิตวัสดุปรับปรุงดินจากสาหร่าย : การทดลองประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายในแปลงมันสำปะหลังของเกษตรกร = demonstration plot of soil conditioner from algae : efficacy testing of algal soil conditioner on cassava using grower's cultivation plots / โครงการศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเงาะ = feasibility study on marketing of rambutan's product process / โครงการศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเงาะ = feasibility study on marketing of rambutan's product process / การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก = Research and development to correct low produces quality limitation of fresh fruit and vegetable for export / การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก = Research and development to correct low produces quality limitation of fresh fruit and vegetable for export / วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปรับสมดุลเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV = Research and development of adaptogen for HIV patient immunity / วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปรับสมดุลเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV = Research and development of adaptogen for HIV patient immunity /

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300