แปลงทดลองสาธิตวัสดุปรับปรุงดินจากสาหร่าย : การทดลองประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายในแปลงมันสำปะหลังของเกษตรกร = demonstration plot of soil conditioner from algae : efficacy testing of algal soil conditioner on cassava using grower's cultivation plots / Aparat Mahakhant...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Artjariyasripong, Suparp | Khantasopa, Suphansa | Kumyont, Arnont | Mahakhant, Aparat | Morpan, Charoenchai | สุพรรษา ขันธโสภา | อานนท์ คำยนต์ | อาภารัตน์ มหาขันธ์ | เจริญไชย หมอปาน | สุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 52-01 ; Rep. no. 3 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2013 รายละเอียดตัวเล่ม: จ, 70 p. : tables, col. ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: แปลงทดลองสาธิตวัสดุปรับปรุงดินจากสาหร่าย : การทดลองประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายในแปลงมันสำปะหลังของเกษตรกรหัวเรื่อง: Algae | Cassava | Soil amendments | Soil conditioners | มันสำปะหลัง | วัสดุปรับปรุงดิน | สาหร่ายสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: The efficiency of algal soil conditioner was tested on Cassava (Manihot esculenta) using grower's cultivation plots at Amphoe Muang Nakhon Rachasima, Nakhon Rachasima province. Completely randomized design of 5 treatments with 4 replications each was conducted on two varieties cassava, of Rayong 7 and Rayong 9, which were 1) control (CT), 2) chemical fertilizer 13-13-21 at 50 kg/rai (C), 3) algal soil conditioner at 200 kg/rai (AS1), 4) algal soil conditioner at 100 kg/rai combined with bio-fertilizers (phosphate-solubilizing microorganisms) at 100 kg/rai (AS2B), 5) algal soil conditioner at 100 kg/rai combined with bio-fertilizers at 100 kg/rai and chemical fertilizer at 25 kg/rai (AS2BC/2). The results revealed that AS2BC/2 was the most effective on cassava production of both varieties while AS2B was the most effective on improvement of soil properties. In Rayong 7, organic matter, total nitrogen, and water-holding capacity increased 6.84, 6.84 and 9.01%, respectively, compared to soil before testing, and increased 11.54, 20.51 and 5.41%, respectively, compared to control soil (CT). In the case of Rayong 9, organic matter, total nitrogen, cation exchange capacity, waterholding capacity and water-stable aggregate increased 21.35, 22.22, 22.20, 26.49 and 25.40%, respectively, compared to soil before testing, and organic matter, total nitrogen, water-holding capacity and water-stable aggregate increased 8.99, 8.89, 9.36 and 24.13%, respectively, compared to control soil (CT).สาระสังเขป: ทำการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายในแปลงทดสอบมันสำปะหลัง อ. เมืองนครราชสีมา จ. นครราชสีมา ในมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ คือ ระยอง 7 และ ระยอง 9 โดยวางแผนการทดลองทางสถิติแบบ completely randomized design ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (CT), 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ (C), 3) ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายในอัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ (AS1), 4) ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่าย ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพไบโอฟอสก้า (จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต) ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ (AS2B), 5) ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินจากสาหร่ายในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพไบโอฟอสก้า (จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต) ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (AS2BC/2). ผลการทดลองพบว่า ชุดการทดลองที่ใส่ AS2BC/2 มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ ในขณะที่ชุดการทดลองที่ใส่ AS2B มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงดินซึ่งให้ผล การทดลองเช่นเดียวกันทั้ง 2 พันธุ์ โดยแปลงทดสอบมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุ, ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และความสามารถในการอุ้มน้ำของดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.84, 6.84 และ 9.01 ตามลำดับ. เมื่อเทียบกับตัวอย่างดินก่อนการทดสอบและเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.54, 20.51 และ 5.41 ตามลำดับ. เมื่อเทียบกับตัวอย่างดินของชุดควบคุม ในขณะที่แปลงทดสอบมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุ, ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด, ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก, ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินและจำนวนของเม็ดดิน (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 0.25 มิลลิเมตร) และมีความเสถียรต่อแรงกระทำของน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.35, 22.22, 22.20, 26.49 และ 25.40 ตามลำดับ. เมื่อเทียบกับตัวอย่างดินก่อนการทดสอบและปริมาณอินทรียวัตถุ, ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด, ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และจำนวนของเม็ดดิน (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง มากกว่า 0.25 มิลลิเมตร) และมีความเสถียรต่อแรงกระทำของน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.99, 8.89, 9.36 และ 24.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับตัวอย่างดินของชุดควบคุม.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP2013/1512
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP2013/1512-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300