การวิจัยและพัฒนาการผลิตซีโอไลต์จากของเสียอุตสาหกรรมผลิตเหล็กในระดับห้องปฏิบัติการ = research and development of technology for zeolite production from iron industrial waste in lab scale / Rewadee Anuwattana...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Anuwattana, Rewadee | Chouichom, Seksak | Ditkaew, Thitirat | Grdpratoom, Sawaeng | Natpinit, Patthanant | Ploypattarapinyo, Preecha | Roddeang, Songkiat | Suppinunt, Tawee | แสวง เกิดประทุม | เศกศักดิ์ เชยชม | ปรีชา ดิษฐเสถียร | นาถพินิจ, พัทธนันท์ | ปรีชา พลอยภัทรภิญโญ | ทรงเกียรติ รอดแดง | สัปปิน้นท์, ทวี | เรวดี อนุวัฒนา | สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 53-08, Sub Proj. no. 1 ; Rep. no. 1 (Final report)ข้อมูลการพิมพ์: ปทุมธานี : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2556 รายละเอียดตัวเล่ม: ญ, 112 p. : tables, col. ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การวิจัยและพัฒนาการผลิตซีโอไลต์จากของเสียอุตสาหกรรมผลิตเหล็กในระดับห้องปฏิบัติการหัวเรื่อง: ของเสีย | ซีโอไลต์ | ตะกรันเหล็ก | อุตสาหกรรมสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: The objective of this project was to study the capacity of zeolite from slag. The optimum condition was determined by evaluating calcium ion exchange capacity (CEC) and percentage yield of zeolite. The starting raw materials were in the form of aluminosilicate obtained from fusing the slag with NaOH and Al(OH)3 in a ratio of 1:3:1 by weight at 550oC for 1h as the zeolite 4A precursor and the fusing the slag with NaOH in a ratio of 1:3 by weight at 550oC for 1 h as the zeolite X precursor. The fused slag was activated by 3M NaOH solution in a closed system at 105 oC for 3 hrs. The product was Na-A around 90.2% zeolite that contained 788.3 mg CaCO3/g zeolite. For zeolite X production, the fused slag was aging at the room temperature for 1 day and activated by 1M NaOH solution in a closed system at 105 oC for 10 hrs. The product was zeolite X around 82% zeolite that contained 866.9 mg CaCO3/g zeolite. The produced zeolite X made into the pellets by wet granulation technique. The optimum conditions for granulation were varied the pore forming agent with zeolite, bentonite and talcum around 15, 10 and 0.5%, respectively. The diameter of the granule zeolite (pellet zeolite) was 1 cm. The heavy metal removal was studied in batch experiment in synthetic wastewater by varied pH, concentration of heavy metal, contact time and mass (adsorption isotherm). The results showed the optimum for adsorption efficiency of heavy metal in synthetic wastewater with concentration of 6 mg/l at pH 5 for 120 minutes is the best condition. The heavy metal percentage removal of zeolites synthesized from slag were 58.3% of Zn, 62.4% for Cd, 23.6% for Ni, 98.8% for Cr and 98.6% of Cu, respectively. Langumuir model was fitted to explain the equilibrium of adsorption which maximum capacity of 102.6 mg/g. The study of heavy metal adsorption in continuous experiment with the anodize wastewater (dilute 10% w/w), flow rate of 0.9 l/ hr with 50 g of the zeoltie pellets is the best condition. The COD removal of the zeolite pellet is 84%. The dye removal was study in batch experiment in Mohom wastewater. The results showed the optimum for dye adsorption efficiency of 100 mL of basic dye wastewater with 1 g of zeolite powder for 120 minutes was 99.1% and 150 g of zeolite pellets in continuous experiment, flow rate of 0.9 L/hr is 99.15%. The biogas production via using 2g of zeolite pellet for 30 minutes can reduce the ammonia nitrogen. The average biogas was 1.92 L-CH4/g CODr. The percentage of 70.4% of CH4, 28.6% of N2 and 1.0%, respectively. The cost of synthesis zeolite from slag was around 568.8 bath/ Kg.สาระสังเขป: งานวิจัยนี้เป็นโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากตะกรันเหล็ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถผลิตภัณฑ์ซีโอไลต์จากตะกรันเหล็ก ด้วยค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคลเซียมไอออน และร้อยละความสมบูรณ์ของผลึกซีโอไลต์. โดยเตรียมวัตถุดิบเริ่มต้นจากตะกรันเหล็กที่ผ่านการย่อยสลายต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่ออะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ในอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 1:3:1, ที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง, ในการผลิตเป็นซีโอไลต์ชนิด 4 เอ. การเตรียมวัตถุดิบเริ่มต้น โดยการผสมตะกรันเหล็กที่ผ่านการย่อยสลายต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ในอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 1:3 ที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง. ในการผลิตเป็น ซีโอไลต์ชนิดเอกซ์, วัตถุดิบที่ได้จากการหลอมถูกกระตุ้นด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 3 โมลาร์ อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง พบว่า สามารถผลิตเป็นซีโอไลต์ ชนิดเอ ที่ให้ค่าความสมบูรณ์ของผลึกเท่ากับร้อยละ 90.2, ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคลเซียมไอออนเท่ากับ 788.3 มิลลิกรัมแคลเซียมคาร์บอเนตต่อกรัมซีโอไลต์. การผลิตซีโอไลต์ชนิด เอกซ์โดยการนำซีโอไลต์จากการหลอม (1:3) ตั้งกวนเป็นเวลา 1 วัน และกระตุ้นด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 1 โมลาร์ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง, พบว่า สามารถผลิตเป็นซีโอไลต์ชนิดเอกซ์ได้ร้อยละ 82 และมีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคลเซียมไอออนเท่ากับ 866.9 มิลลิกรัม แคลเซียมคาร์บอเนตต่อกรัมซีโอไลต์. ผลิตภัณฑ์ซีโอไลต์ดังกล่าวถูกขึ้นรูปแบบเปียก โดยพบว่า อัตราส่วนซีโอไลต์ต่อเบนโทไนต์ต่อทัลคัม ร้อยละ 15:10:0.5 ตามลำดับ และสามารถขึ้นรูปเม็ดที่มี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร. ผลการศึกษาค่าความสามารถในการดูดซับโลหะหนักในระบบไม่ต่อเนื่องด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 6 มิลลิกรัมต่อลิตร, พีเอชเท่ากับ 5, กวนเป็นเวลา 120 นาที, พบว่า ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักได้สูงสุด. โดยมีร้อยละการดูดซับสังกะสี 58.3, แคดเมียม 62.4, นิกเกิล 23.6, โครเมียม 98.8 และทองแดง 98.6. เมื่อศึกษาผลการดูดซับโลหะหนักในระบบต่อเนื่อง (เจือจางร้อยละ 10 โดยมวล), อัตราการไหล 0.9 ลิตรต่อชั่วโมง ด้วยซีโอไลต์เม็ดปริมาณ 50 กรัม สามารถลดค่าความสกปรกของน้ำเสียจริงได้ร้อยละ 84. การดูดซับสีย้อมชนิดสีประเภทเบสิกในน้ำเสียฟอกย้อมผ้าทอม่อฮ่อมในระบบไม่ต่อเนื่องด้วยน้ำเสียปริมาตร 100 มิลลิลิตร ด้วยซีโอไลต์ผงปริมาณ 1 กรัม กวนเป็นเวลา 120 นาที สามารถกำจัดสีย้อมได้ร้อยละ 99.1 และในระบบต่อเนื่องโดยการใช้ซีโอไลต์เม็ดปริมาณ 150 กรัม ด้วยอัตราการไหล 0.9 ลิตรต่อชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพการกำจัดสีได้ร้อยละ 99.15. การผลิตก๊าซชีวภาพด้วยน้ำเสียที่มีปริมาณแอมโมเนีย ไนโตรเจนสูงโดยการใช้ซีโอไลต์เม็ดปริมาณ 2 กรัม กวนเป็นเวลา 30 นาที พบว่า สามารถลดค่าปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนได้สูงสุด โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.92 ลิตรมีเทน/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด-วัน โดยให้ร้อยละก๊าซมีเทนเป็น 70.4 ก๊าซไนโตรเจนร้อยละ 28.6 และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 1 ตามลำดับ ต้นทุนในการผลิตซีโอไลต์จากตะกรันเหล็กพบว่ามีต้นทุนประมาณ 568.8 บาทต่อกิโลกรัมซีโอไลต์.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2021-08-24 1 RP2013/1502
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP2013/1502-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300