การจัดการน้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล = ปรีชา พลอยภัทรภิญโญ...[และคนอื่นๆ] Wastewater management system from biodiesel production /

ผู้แต่งร่วม: เรวดี อนุวัฒนา | ทวี สัปปินันท์ | ปรีชา พลอยภัทรภิญโญ | พัทธนันท์ นาถพินิจ | วิญญา พิทักษ์สิน | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2008 รายละเอียดตัวเล่ม: 155 p.หัวเรื่อง: ไบโอดีเซล | น้ำเสีย -- การบำบัด | น้ำมันปาล์มสารสนเทศออนไลน์: Click here to access Full-text สาระสังเขป: The objective of this study is to find out the optimum treatment method of wastewater from TISTR's biodiesel pilot plant from crude palm oil without recovery of methanol from biodiesel before washing. The pilot plant generated wastewater of ratio wastewater : biodiesel = 1 : 1. The COD concentration was as high as 250,000 mg/l and BOD 84,000 mg/l. The preliminary treatment of this wastewater using chemical coagulation by adjusting the pH of the solution to 2.0-2.5 by 5% H2SO4 could remove COD of 47%, BOD 69% and O&G, SS and VSS of 99%, respectively. The supernatant was further treated in the laboratory. It was found that the BOD removal coefficient by anaerobic process was 0.105 day-1 whereas the aerobic process was 1.0 day-1 . The suitable wastewater treatment and biogas production system was acid fermentation tank + hybrid reactor. The HRT of the acid tank was 1 days and the seed sludge used was obtained from an acid fermentation reactor. The HRT of the hybrid reactor was 2 days and the seed sludge used was obtained from an UASB reactor. At the optimum conditions, the influent COD of the hybrid reactor was 8,000 mg/l or equivalent to the COD loading of 4.0 kg/m3 -day and the COD and BOD removal efficiency was 80% and 95%, respectively. Biogas production was 0.23 m 3 /kgCODr and methane content was 70%. Finally, the wastewater treatment system was preliminarily designed to treat the wastewater from a 1,000 l/d - biodiesel production plantสาระสังเขป: โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากเครื่องต้นแบบผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบของ วว. ซึ่งกระบวนการผลิตไม่มีการแยกกลับเมทานอลก่อนทำการล้างไบโอดีเซล จากการทดลองพบว่า เครื่องต้นแบบนี้ มีปริมาณน้ำเสียเกิดขึ้นใบอัตราส่วน น้ำเสีย : ไบโอดีเซล = 1 : 1 มีค่าซีโอดีสูงถึง 250,000 มิลลิกรัม/ลิตร และบีโอดี 84,000 มิลลิกรัม/ลิตร เมื่อทำการบำบัดขั้นต้นด้วยการตกตะกอนไขมันโดยใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้น 5% ที่ค่าพีเอช 2.0-2.5 สามารถลดซีโอดีได้ 47%, บีโอดี 69% และกำจัดน้ำมันและไขมัน, ของแข็งแขวนลอยและของแข็งแขวนลอยระเหยง่ายได้ 99% เมื่อนำน้ำใสที่ได้ไปทดลองบำบัดต่อในห้องปฏิบัติการพบว่า น้ำใสหลังตกตะกอนไขมัน มีค่าสัมประสิทธิ์การทำลายบีโอดีโดยจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศเท่ากับ 0.105 วัน-1และโดยจุลินทรีย์ใช้อากาศมีค่า 1.0 วัน-1 ระบบบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพที่เหมาะสมได้แก่ ระบบบำบัด 2 ขั้นตอน ชนิดระบบถังหมักกรด+ระบบถังหมักลูกผสม โดยถังหมักกรดมีค่าระยะเวลาเก็บกัก 1 วัน และใช้หัวเชื้อเป็นจุลินทรีย์ชนิดสร้างกรด ส่วนถังหมักลูกผสม มีระยะเวลาเก็บกักที่เหมาะสม 2 วัน ใช้หัวเชื้อเป็นตะกอนจุลินทรีย์ลักษณะเม็ด ที่สภาพเหมาะสม พบว่าน้ำเสียเข้าเฉลี่ย 8,000 มิลลิกรัม/ลิตร หรืออัตราภาระรับซีโอดี 4 กิโลกรัม/เมตร3-วัน ระบบมีประสิทธิภาพในการก าจัดซีโอดี 80% และบีโอดี 95% ปริมาณก๊าซชีวภาพเกิดขึ้น 0.23 เมตร3/กิโลกรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด เป็นก๊าซมีเทน 70% และสุดท้ายผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบขั้นต้นระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตไบโอดีเซลระดับชุมชน ขนาดกำลังผลิตไบโอดีเซล 1,000 ลิตร/วัน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300