การพัฒนาสารเร่งปฏิกิริยาชนิดของแข็งสำหรับกระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชัน = Development of solid calalysts for transesterification / Siriporn Larpkiattaworn...[et al.] (CONFIDENTIAL)

Contributor(s): Julaluk Phunnoi | Laksana Kreethawat | Rattikan Tongpan | Siriporn Larpkiattaworn | Siriporn Tongon | จุฬาลักษณ์ พันธ์น้อย | รัตติกาล ทองพันธ์ | ลักษณา กรีฑาเวทย์ | ศิริพร ลาภเกียรติถาวร | สิริพร ทองอ่อน | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
TRM: พลังงานและสิ่งแวดล้อม Language: Thai Series: Res. Proj. no. 50-07, Sub. Proj. no. 8Publisher: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2011 Other title: การพัฒนาสารเร่งปฏิกิริยาชนิดของแข็งสำหรับกระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชันSubject(s): Biodiesel | Catalysts | Jatropha oil | Palm oil | Transesterification | ไบโอดีเซล | ทรานสเอสเทอริฟเคชัน | น้ำมันปาล์ม | น้ำมันสบู่ดำOnline resources: Click here to access cover Summary: The research was to synthesize solid catalysts for biodiesel production from transesterification process. Biodiesel can be produced from palm and jatropha oil through the transesterification reaction using solid catalysts. In this experiment, several kinds of solid catalysts were synthesized such as K/Al2O3, K/Al(OH)3, Zn/Al2O3, Zn /Al(OH)3 and K/ Al2O3-SiO2. The variation parameters of K and Zn ratio on the support materials (Al2O3, Al(OH)3 and Al2O3-SiO2), calcining temperatures of 500, 800 and 1000oC, and soaking time in the range of 1-3 h were studied. Subsequently, the synthesized catalysts were characterized for physical and chemical properties. In addition, their performances were tested in the transesterification process with variation of several factors such as amount of catalyst, the ratio of oil and methanol, and the reaction temperature and time. It was found that K/Al2O3 and K/Al(OH)3 catalysts could be used to produce high quality methylester from palm and jatropha oil by using 5% catalyst in form of powder and 14.5% in form of pellet. The application of these catalysts in the reaction condition of 1:9 oil to methanol ratio, reaction temperature and time of 60oC and 3-5 h could result in high purity methylester upto 99% with the values of viscosity and glycerides contents satisfied to the biodiesel standard requirement. -AuthorsSummary: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยปฏิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชันจากน้ำมันปาล์มและน้ำมันสบู่ดำด้วยเมทานอลโดยใช้สารเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์. ได้ทำการทดลองสังเคราะห์สารเร่งชนิดต่างๆได้แก่ K/Al2O3, K/Al(OH)3, Zn/Al2O3, Zn/Al(OH)3 และK/Al2O3-SiO2 โดยการปรับอัตราส่วนผสมระหว่างโลหะ K และ Zn บนสารรองรับ (support) Al2O3, Al(OH)3 และ Al2O3-SiO2, อุณหภูมิในการเผาแคลไซน์ 500, 800 และ 1,000oซ. ที่เวลาในการเผาแคลไซน์ 1-3 ชั่วโมง และทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของสารเร่งที่สังเคราะห์ได้. จากนั้นนำสารเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ได้ไปใช้ในกระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชัน โดยทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชัน ได้แก่ ปริมาณสารเร่งปฏิกิริยา, อัตราส่วนน้ำมันต่อเมทานอล, อุณหภูมิและเวลาในการทำปฏิกิริยา. จากการทดลองพบว่า สารเร่งปฏิกิริยาที่สามารถนำไปใช้เร่งปฏิกิริยาระหว่างเมทานอลและสบู่ดำหรือน้ำมันปาล์ม ที่ได้ผลดีคือ สารเร่งปฏิกิริยากลุ่ม K/Al2O3 และ K/Al(OH)3 โดยใช้ปริมาณสารเร่งปฏิกิริยา 5% สำหรับแบบผง หรือ 14.5% สำหรับแบบเม็ด. ในสภาวะการทำปฏิกิริยาที่ใช้อัตราส่วนน้ำมันต่อเมทานอล เท่ากับ 1:9 ที่อุณหภูมิทำปฏิกิริยา 60o ซ. และเวลา 3-5 ชั่วโมง จะได้เมทิลเอสเทอร์ที่มีความบริสุทธิ์สูงถึง 99% และคุณสมบัติด้านความหนืด และปริมาณกลีเซอไรด์ที่วัดได้เป็นไปตามมาตรฐานการยอมรับสำหรับการใช้งานเป็นไบโอดีเซล. - ผู้แต่ง
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300