การพัฒนาเทคโนโลยีและต้นแบบผลิตก๊าซไฮโดรเจนและมีเทนจากของเสีย และวัสดุเหลือใช้การเกษตรแบบครบวงจร = Development of technology and model for hydrogen and methane gas production from waste and agricultural residues / Patthanant Natpinit, Preecha Ploypatarapinyo, Rewadee Anuwattana (CONFIDENTIAL)

โดย: Natpinit, Patthanant
ผู้แต่งร่วม: Anuwattana, Rewadee | Ploypatarapinyo, Preecha | นาถพินิจ, พัทธนันท์ | ปรีชา พลอยภัทรภิญโญ | เรวดี อนุวัฒนา | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 49-20, Sub Proj. no. 1ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2010 ชื่อเรื่องอื่นๆ: การพัฒนาเทคโนโลยีและต้นแบบผลิตก๊าซไฮโดรเจนและมีเทนจากของเสีย และวัสดุเหลือใช้การเกษตรแบบครบวงจรหัวเรื่อง: Agricultural wastes | Hydrogen | Hydrogen as fuel | Methane | Waste utilizationสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover สาระสังเขป: The objective of this investigation was to develop the model for hydrogen and methane production from food wastes. The average values of COD, BOD, SS and O&G of food wastes were 111,551 mg/l, 55,776 mg/l, 12,355 mg/l and 2,312 mg/l as hexane, respectively. The started seed sludge from municipal wastewater treatment plant of Nong Khaem was heated at 90oC for 20 min prior to use as hydrogenproducing bacteria. While the started seed sludge from industrial wastewater treatment plant of Serm Suk Public Company Limited was used as methaneproducing bacteria. The MLSS of hydrogen and methane forming bacteria were 50,000 mg/l with 10 liters and 40 liters, respectively. The two semi-complete mix (SCM) digesters were used, each performing 3 stages of operation as feeding, stirring and settling. This study was focused on the diluted wastewater with the maximum influent COD of 57,075 mg/l. The hydrogen-producing system was started by gradual increase of COD loading rate from 5.68-55.10 kgCOD/m3.d at HRT 1.5 days and kept pH in 4.3-4.5 range. Similarly, in the methane-producing system, the COD loading rate was gradually fed from 0.44-12.47 kgCOD/m3.d at HRT 1.5-1.7 days without pH adjustment before feeding into the digester. The gas production rates were 0.11-0.12 L-H2/gCODr.d and 0.22-0.28 L-CH4/gCODr.d. The amounts of hydrogen and methane gas were 45% and 74%, respectively. In addition, the average efficiencies of COD and BOD removal were 96% and 98%, respectively. The ratios of VFAeff/inf from hydrogen production, VFA/Alk and HCO3 -/Alk from methane production were 1.78, 0.14 and 0.90, respectively. These ratios indicated the performance of hydrogen and methane production using sodium hydroxide of 2.5 molar or 10% concentration to remove carbon dioxide gas significantly at equal and more than 72 hrs. The ratio of sodium hydroxide per carbon dioxide gas was 11.39 g/l.สาระสังเขป: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตก๊าซไฮโดรเจนและมีเทนจากน้ำเสีย เศษอาหาร ที่มีค่าซีโอดีเฉลี่ย 111,551 มิลลิกรัมต่อลิตร, ค่าบีโอดี 55,776 มิลลิกรัมต่อลิตร, ปริมาณของแข็งแขวนลอย 12,355 มิลลิกรัมต่อลิตร, ปริมาณน้ำมันและไขมัน 2,312 มิลลิกรัมต่อลิตรในรูปเฮกเซน. ในการทดลอง ได้ใช้เชื้อจุลินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่โรงบำบัดน้ำเสียหนองแขมเป็นหัวเชื้อในถังหมักไฮโดรเจน ที่ผ่านการต้มที่อุณหภูมิ 90oซ. เป็นเวลา 20 นาที. ส่วนถังหมักมีเทนใช้เชื้อจุลินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) จำกัด. ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในถังหมักไฮโดรเจนและมีเทนเป็น 50,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ปริมาตร 10 ลิตรและ 40 ลิตร, ตามลำดับ. ถังหมักทั้งสองชนิดออกแบบเป็นแบบกึ่งกวนสมบูรณ์มีรอบการทำงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ป้อนน้ำเสีย, กวนผสม และตกตะกอน. ก่อนการทดลองได้เจือจางน้ำเสียเศษอาหารให้มีค่าซีโอดีสูงสุดที่ 57,075 มิลลิกรัมต่อลิตร และเริ่มป้อนน้ำเสียที่ อัตราภาระรับซีโอดี 5.68-55.10 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน, ที่ระยะเวลาเก็บกัก 1.5 วัน และรักษาระดับพีเอชที่ 4.3-4.5, ในถังหมักก๊าซไฮโดรเจน. ในทำนองเดียวกัน เริ่มป้อนน้ำเสียเข้าถัง หมักก๊าซมีเทนที่อัตราภาระรับซีโอดี 0.44-12.47 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน, ที่ระยะ เวลาเก็บกัก 1.5-1.7 วัน และไม่มีการปรับระดับพีเอชก่อนเข้าถังหมัก. ผลการทดลอง ได้อัตราการ เกิดก๊าซเป็น 0.11-0.12 ลิตรไฮโดรเจนต่อกรัมซีโอดี ที่ถูกกำจัดต่อวันและ 0.22-0.28 ลิตรมีเทนต่อ กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัดต่อวัน, มีปริมาณของก๊าซไฮโดรเจนและมีเทนร้อยละ 45 และ 74, ตามลำดับ. นอกจากนี้ยังพบว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีและบีโอดีเป็นร้อยละ 96 และ 98, ตามลำดับ. ส่วนอัตราส่วนของกรดอินทรีย์ออกและเข้าถังหมักก๊าซไฮโดรเจน, กรดอินทรีย์และความเป็นด่าง, และไบคาร์บอเนตและความเป็นด่างของถังหมักก๊าซมีเทนเป็น 1.78, 0.14 และ 0.90, ตามลำดับ. อัตราส่วนเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของการผลิตก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซมีเทนในระบบที่มีการใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 2.5 โมลาร์ หรือร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ 72 ชั่วโมงเป็นต้นไป. อัตราส่วนโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ใช้กำจัดต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกำจัดเป็น 11.39 กรัมต่อลิตร.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ไม่มีรายการทางกายภาพสำหรับระเบียนนี้

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300