การพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล = process development of food SMEs conforming to international standards / Kriangsak Siripongsaroj...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Boonnanida Sodha | Duangkamol Charoenwong | Jittra Wannawichitra | Kanda Panpetch | Kriangsak Siripongsaroj | Narongdej Asa | Nuntiya Wongmongkol | Orapen Nusuwan | Panida Siribangkeadpol | Peesamai Jenvanitpanjakul | Phichai Wongharn | Porapol Pinthong | Prapun Piyakuldumrong | Rattana Chansong | Rewadee Meesat | Samphan Srisuriyawong | Somchai Dararat | Sopon Prohmsuwan | Sorada Wanlapa | Srisak Trangwacharakul | Sujinda Natpint | Supaporn Jirakraikosol | Thanes Utistham | Wirachai Soontornrangson | เกรียงศักดิ์ ศิริพงษาโรจน์ | เรวดี มีสัตย์ | โศรดา วัลภา | โสภณ พรหมสุวรรณ | กานดา ปั้นเพชร | จิตรา วรรณจิตร | ณรงค์เดช อาษา | ดวงกมล เจริญวงษ์ | ดำรงชัย สิทธิสำอางค์ | ต่อศักดิ์ นวลใย | ธเนศ อุทิศธรรม | นันทิญา วงษ์มงคล | บุณณนิดา โสดา | ปรพล ปิ่นทอง | ประพันธ์ ปิยะกุลดำรง | พนิดา ศิริบังเกิดผล | พิชัย วงศ์หาญ | พิศมัย เจนวนิชปัญจกุล | รัตนา จันทร์ส่ง | วีรชัย สุนทรรังสรรค์ | ศรีศักดิ์ ตรังวัชรกุล | สมชาย ดารารัตน์ | สัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ | สุจินดา นาถพินิจ | สุภาพร จิรไกรโกศล | สุมาลัย ศรีกำไลทอง | อรเพ็ญ หนูสุวรรณ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 47-23 ; Rep. no. 2ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2006 รายละเอียดตัวเล่ม: ง, 224 p. : tables, col. ill. ; 30 cm.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ได้มาตรฐานสากลหัวเรื่อง: Food industry and trade | Small enterprises | SMEs | กระบวนการผลิต | ธุรกิจขนาดย่อม | อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ | อุตสาหกรรมอาหาร | อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง | อุตสาหกรรมอาหารพร้อมบริโภคสารสนเทศออนไลน์: Click here to access cover | Click here to access full-text สาระสังเขป: โครงการพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล เป็นโครงการภายใต้การจัดทำโครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการศึกษาสถานภาพภาคการผลิต ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารพร้อมบริโภค, อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง, และอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยวิธี SWOT Analysis และกำหนดแนวทางการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม.สาระสังเขป: นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการการพัฒนาห้องปฏิบัตการชีวเคมีและจุลชีววิทยาให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ได้เริ่มดำเนินการตามลำดับ ดังนี้ การฝึกอบรมในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ให้แก่พนักงานของห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา การกำหนดขอบข่ายรายการทดสอบที่จะทำการยื่นขอการรับการรับรอง ได้แก่ การทดสอบหาปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในผลิตภัณฑ์อาหาร และการทดสอบหาชนิดและปริมาณของกรดไขมันในน้ำมันพืช การจัดทำร่างเอกสารคู่มือคุณภาพ (Quality manual) และขั้นตอนการดำเนินงาน (Quality procedure) ซึ่งเป็นเอกสารหลักที่จำเป็นของระบบคุณภาพ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องครบถ้วนตามข้อกำหนด เพื่อพร้อมสำหรับการนำไปปฏิบัติจริงต่อไป และยื่นขอการรับรองเมื่อ 1 มีนาคม 2548 การฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านวิชาการที่จำเป็นสำหรับข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ได้แก่การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการทดสอบ (Method validation) และการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty of measurement) ให้แก่พนักงานของห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา นอกจากนี้ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ 3 สาขา ได้แก่ อาหารพร้อมบริโภค, อาหารแช่แข็ง, และน้ำผลไม้ ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ดังนี้คือ หลักสูตรที่ 1 การจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัตรการ ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025, หลักสูตรที่ 2 การควบคุมคุณภาพของการทดสอบและวิเคราะห์ทางเคมี, หลักสูตรที่ 3 การประกันคุณภาพผลการทดสอบทางจุลชีววิทยา นอกจากนี้ยังมีการอบรมด้านเทคนิคการนำระบบคุณภาพ GMP HACCP และ ISO 9001:2000 ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจำนวน 3 ครั้ง, การอบรมด้านเทคโนโลยีสะอาด 2 เรื่อง คือ สถานภาพน้ำเสียและการเลือกระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และการอบรมเทคโนโลยีการผลิตน้ำผลไม้และผัก รวมจำนวนผู้ได้รับการอบรมมากกว่า 500 คน.- ผู้แต่งสาระสังเขป: สำหรับงานด้านการวิจัยและพัฒนาของพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล ได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร โดยเน้นผลิตภัณฑ์ 3 สาขา ได้แก่ อาหารพร้อมบริโภค, อาหารแช่แข็ง และน้ำผลไม้ ซึ่งได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรให้กับอุตสาหกรรมอาหารจำนวน 5 เครื่องได้แก่ เครื่องขัดผิวมันฝรั่ง, เครื่องม้วนขนมทองม้วน, เครื่องตัดขนมขบเคี้ยวพร้อมบริโภค, เครื่องหั่นผักและผลไม้ให้เป็นรูปทรง, และเครื่องขึ้นรูปขนมกวน, และมีการดำเนินการออกแบบเครื่องแยกกากน้ำมะขาม ซึ่งให้บริการแก่ 3 โรงงานเรียบร้อยแล้ว งานด้านการใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อหาแนวทางลดการสูญเสียในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยใช้กลุ่มโรงงานตัวอย่างจำนวน 10 แห่ง ที่ครอบคลุมทั้ง ขนาด ประเภท และสถานที่ตั้ง เพื่อเป็นตัวแทนในการวิเคราะห์หาศักยภาพที่จะลดการสูญเสีย ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 แนวทางคือ ตามการใช้เทคโนโลยีและตามขนาดของโรงงาน จากผลการตรวจวัดและวิเคราะห์โรงงานทั้ง 10 แห่ง มีศักยภาพที่จะลดการสูญเสียได้รวมทั้งสิ้น 10,577,700 บาท/ปี ถ้าพิจารณาตามเทคโนโลยีที่ใช้ระบบหม้อไอน้ำเป็นส่วนซึ่งมีศักยภาพที่จะลดการสูญเสียได้ 9,782,250 บาท/ปี คิดเป็นร้อยละ 92.48 ของทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาตามขนาดของโรงงาน โรงงานขนาดกลางมีศักยภาพที่จะลดการสูญเสียได้ 10,035,350 บาท/ปี คิดเป็นร้อยละ 94.87 ของทั้งหมด ด้วยศักยภาพที่จะลดการสูญเสียในโรงงานขนาดกลางนี้ ระบบหม้อไอน้ำเป็นส่วนที่จะลดการสูญเสียได้สูงสุด 9,347,700 บาท/ปี คิดเป็นร้อยละ 88.37
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP2006/1315
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP2006/1315-2
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 3 RP2006/1315-3

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300