การศึกษาปัญหาน้ำทิ้งโรงงานกระดาษบางปะอิน = Treatment of wastewaters from Bang Pa-in paper mill / Sermpol Ratasuk...[et al.] (CONFIDENTIAL)

โดย: Ratasuk, Sermpol
ผู้แต่งร่วม: Chavadej, Sumaeth | Klinsukont, Chaiyuth | Ploypatarapinyo, Preecha | Sunthornsarn, Wachara | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Class. Invest. no. 20-46ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 1978 รายละเอียดตัวเล่ม: 101 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การศึกษาปัญหาน้ำทิ้งโรงงานกระดาษบางปะอินหัวเรื่อง: Bang Pa-in paper mill | Waste treatment | กระดาษ | Waste waterสาระสังเขป: At present production conditions, the total volume of sludge generated was 2,553 m3/day, out of which 1,912 m3 from the pulp mill waste and 641 m3 from the paper mill waste. If the paper production capacity was increassed to 80 tonnes/day in future, the total sludge volume would be increased to about 3,194 m3/d. This amount of sludge must be treated by gravity sludge thickening to reduce the sludge volume to only about 1/6 of the original volume. The thickened sludge would be dewatered by centrifugation or vacuum filtration. The investment cost of the sludge treatment and disposal system would be about 3,400 baht/m3 with the operating cost of 3.16 baht/m3. For 3,194 m3/day of sludge, the investment cost would be 16,566 million baht with the operating cost of 11,347 baht/day. In addition, there would be about 100 tonnes of sludge cake which need daily disposal. Consequently, it was necessary to reduce as much as possible the SS load of the pulp mill and the paper mill wastes to minimize the sludge disposal problems. - Authors.สาระสังเขป: In the operation of the paper mill, the wastewater volume was about 8,544 m3/day, or 213.6 m3/tonne of paper. The wastewater appeared white in colour, containing vary high concentration of solid particles with an average SS value of 840 mg/1. It had 140 mg/1 BOD, and 0.027 mg/1 of mercury. The total pollution loads were therefore, 1,196 kg/d of BOD, 7,177 kg/d of SS, and 0.231 kg/d of mercury. Production of one tonne of paper generated 213.6 m3 of wastewater, 29.9 kg of BOD, and 179.4 kg of SS. These figures were comparable to those of other paper mills.สาระสังเขป: The Bang Pa-in paper mill as an integrated pulp and paper mill which produces 40 tonnes/day of writing paper from atraw and grass (Pennisetum sp.) using the sulphite process. Three major process wastewaters are pulp-mill waste, paper-mill waste, and chemical plant waste from production of caustic soda and hypochlorites. Of all these three types of wastewaters, the pulp-mill waste was the most important from pollution control aspect, because it was dark-brown in clolour containing 1,335 mg/1 of BOD, 4,297 mg/1 of COD, 1,098 mg/1 of SS and 0.038 mg/1 of mercury. The daily total pollution loads of this particular waste were 21,819 kg BOD, 17,946 kg SS and 0.621 kg mercury. For the normal pulp production of 40 tonnes/day the volume of wastewater per tonne of pulp was 408.6 m3, and the BOD and DD loads per tonne of pulp were 546 and 449 kg respectively. These figures were relatively high compared with those of other pulp mills. It indicated that there might be excessive use of water and significant production loss.สาระสังเขป: The biological treatment processes previouslt mentioned, could achieve approximately 96% of BOD removal. The final effluent would have an average BOD value of 80 mg/1 which was still higher than the 20 mg/1 standard enforced by the Ministry of Industry. Further treatment of the final effluent to reduce the BOD value to 20 mg/1 needed coagulation with FeCl3 to remove about 61.4% of BOD and activated carbon adsorption. This advanced treatment would be very expensive and would not be economic considering a small reduction of BOD achived and the factory might not be able to bear the burden.สาระสังเขป: The paper mill waste could easily treated by chemical coagulation with alum. It could remove 75% of BOD and 99.5% of SS, resulting in 0.075 m1/1 or 641 m3/d of sludge. The effluent was very clear containing only 6 mg/1 of SS and 27 mg/1 of BOD. The investment for a chemical coagulation plant was estimated at about 3.2 million baht and the operating cost would be 2,779 baht/day excluding the investment and operating cost for sludge treatment and disposal. For further expansion of paper mill to 80 tonnes/day capacity, the investment for waste treatment would increase to about 5.6 million baht and operating cost would increase to 5,520 baht/day. Because the mercury load of the chemical plant wastewaters was only 0.252 kg/d or approximately 34% of the total mercury load of the pulp mill waste and paper mill waste; treatment of this chemical plant waste to remove the mercury using such methods as chelate resin filtration would not solve the mercury problem. Treatment of the pulp mill and paper mill waste to remove the mercury would be very costly. The best solution would be to improve the caustic soda production process to minimize the mercury loss, or to replace the existing mercury cells with deaphram cells. Which solution would be most appropriate depending on technological and economic feasibility.สาระสังเขป: The three waste streams must be separately treated. For the pulp mill waste, the treatment would begin with primary sedimentation which could remove about 73.4% of SS, 17% of COD, and 17.8% of BOD. The sludge generated was approximately 117 mg/1 or 1,912 m3/d which must be separated for further treatment. The primary effluent containing 1,097 mg/1 of BOD and 292 mg/1 of SS must be further biologically treated in the 4 existing lagoons. Two alternatives of treatment were considered. The first alternative was a series of 3-anaerobic logoons followed by the activated sludge process. The second alternative needed to purchase about 20 rais of land for expansion of the last 2 lagoons, the process use was therefore, a series of 2-anaerobic lagoons followed by a series of 2-aerated lagoons. The first alternative would need approximately 24.5 million baht for investment, 22,881 baht/day for operation, excluding the investment and operating cost of sludge treatment and disposal. The second alternative would need approximately 15.15 million baht for investment and 13,700 baht/day for operation. Consequently, the factory should seriously attempt to minimize the volume of wastewaters through various in-plant measures such as replacing the spray chamber with multicyclones, improving efficiency of the pulping process and multiple use of water in pulp washing. These in-plant measure should be able to significantly reduce volume of the pulp mill waste to only 6,000 m3/day. This small volume of wastewater could be easily treated using the 4 existing lagoons which operated as 2-anaerobic lagoons, followed by 2 aerated lagoons. The investment cost would be reduced to only 7.7 million baht and the operating cost would be about 8,899 baht/day.สาระสังเขป: The total volume of wastewater from the chemical plant was estimated at about 1,078 m3/d. The most important pollutant in this particular wastewater was mercury which resulted from occasional washing of mercury cells. However, the mercury load of this wastewater was only 0.252 kg/day which was much less than that of the pulp mill waste and slightly higher than that of the paper mill waste.สาระสังเขป: เนื่องจากสารปรอทที่ปนติดอยู่ในน้ำทิ้งจากการผลิตเคมีภัณฑ์เพียง 0.252 กก./วัน หรือประมาณ 34% ของปริมาณปรอททั้งหมดในน้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อ และจากการผลิตกระดาษ, การที่จะนำน้ำทิ้งมากำจัดปรอทด้วยวิธีการเคมี เช่น กรองด้วย chelate resin จึงไม่มีผลเท่าใดนัก. การกำจัดปรอทในน้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อและการผลิตกระดาษต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเช่นกัน. ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาปรอทที่ดีที่สุดจึงควรมุ่งไปที่การแก้ไขปรับปรุงขบวนการผลิตโซดาไฟ เพื่อให้มีการสูญเสียปรอทน้อยที่สุด, หรือเปลี่ยนจากเซลล์ปรอทมาเป็นเซลล์ไดอาแฟรม, ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์.สาระสังเขป: โรงงานกระดาษบางปะอินผลิตกระดาษเขียนวันละประมาณ 40 ตัน จากเยื่อกระดาษที่ผลิตเองโดยใช้ขบวนการซัลไฟท์, โดยมีฟางข้าวและหญ้าขจรจบเป็นวัตถุดิบ. น้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงานขณะนี้มีหลายสาย แต่รวมได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ น้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อ, น้ำทิ้งจากการผลิตกระดาษ, และน้ำทิ้งจากการผลิตเภมีภัณฑ์ ซึ่งได้แก่โซดาไฟและไฮโปคลอไรท์. น้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อ เป็นน้ำทิ้งที่สำคัญที่สุดเพราะมีปริมาณมากถึง 16,344 ม.3/วัน หรือประมาณ 408.6 ม.3/ตันเยื่อ; และมีความสกปรกมาก มีสีน้ำตาลเข้ม มีค่า COD 4,297 มก./ล., BOD 1,335 มก./ล., SS 1,098 มก./ล. คิดเป็นปริมาณ BOD ได้ 21,819 กก./วัน, ปริมาณ SS 17,946 กก./วัน, และปริมาณปรอท 0.621 กก./วัน. ประมาณน้ำทิ้ง 408.6 ม3./ตันเยื่อ, ปริมาณ BOD 546 กก./ตันเยื่อ, และปริมาณ SS 449 กก./ตันเยื่อ ของน้ำทิ้งนี้นับว่าสูวมากเมื่อเทียบกับปริมาณ BOD และปริมาณ SS ต่อตันเยื่อของโรงงานอื่น ๆ. แสดงว่าในขบวนการผลิตอาจมีการสูญเสียมากและมีการใช้น้ำมากเกินควร.สาระสังเขป: ในการผลิตกระดาษ น้ำทิ้งรวมที่เกิดขึ้นมีประมาณ 8,544 ม.3/วัน หรือประมาณ 213.6 ม.3/ตันกระดาษ. น้ำทิ้งนี้มีตะกอนขุ่นขาววัดค่า SS ได้ 840 มก./ล., แต่มีค่า BOD เพียง 140 มก./ล. และมีความเข้าข้นของปรอท 0.027 มก./ล. คิดปริมาณ BOD ได้ 1,196 กก./วัน, ปริมาณ SS กก./วัน, และปริมาณปรอท 0.231 กก./วัน. ปริมาณน้ำทิ้ง 213.6 ม.3/ตันกระดาษ, ปริมาณ BOD 29.9 กก./ตันกระดาษ, และปริมาณ SS 179.4 กก./ตันกระดาษ นับว่าใกล้เคียงกับตัวเลขของโรงงานอื่น ๆ. น้ำทิ้งจากการผลิตเคมีภัณฑ์นั้นมีทั้งหมด 1,078 ม.3/วัน, สิ่งสกปรกที่สำคัญที่สุดในน้ำทิ้งนี้คือปรอทซึ่งปนติดออกมากับน้ำล้างเซลล์ปรอท ทำให้ความเข้มข้นของปรอทในน้ำทิ้งนี้สูงถึง 0.271 มก./ล., แต่คิดเป็นปริมาณได้เพียง 0.252 กก./วัน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณปรอทในน้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อ และมากกว่าปริมาณปรอทในน้ำทิ้งจากการผลิตกระดาษเล็กน้อย.สาระสังเขป: ในสภาวะการผลิตในปัจจุบัน ตะกอนจากการผลิตเยื่อมีมากถึง 1,912 ม.3/วัน, เมื่อรวมกับตะกอนจากการผลิตกระดาษอีก 641 ม.3/วัน จะมีตะกอนที่ต้องกำจัดถึง 2,553 ม.3/วัน ซึ่งจะเพิ่มเป็น 3,194 ม.3/วัน ถ้าการผลิตกระดาษเพิ่มเป็น 80 ตัน/วัน. ตะกอนนี้ต้องนำมากำจัด โดยขั้นแรกนำมาเพิ่มความเข้มข้นให้ปริมาณลดลงประมาณ 6 เท่า แล้วนำมาแยกน้ำออกโดยใช้เครื่อง centrifuge หรือ vacuum filters. ระบบกำจัดตะกอนนี้จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3,400 บาท/ม.3 และเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3.16 บาท/ม.3 การกำจัดตะกอน 3,194 ม.3/วัน จึงต้องลงทุนถึง 16.566 ล้านบาท และเสียค่าใช้จ่าย 11,347 บาท/วัน. นอกจากนี้ยังมีกากตะกอนชื้นที่เป็นภาระต้องขนไปทิ้งอีกประมาณ 100 ตัน/วัน, ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาทางลดปริมาณ SS ในน้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อและจากการผลิตกระดาษให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดปัญหาการกำจัดตะกอนให้เหลือน้อยที่สุด.สาระสังเขป: การกำจัดน้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อด้วยวิธีชีววิทยาดังกล่าวข้างต้น จะกำจัด BOD ได้ประมาณ 96%, น้ำทิ้งที่ได้จะมีค่า BOD เฉลี่ยประมาณ 80 มก./ล. ซึ่งยังสูงเกินมาตรฐาน 20 มก./ล. ของกระทรวงอุตสาหกรรม. หากจะลดให้เหลือ 20 มก./ล. จะต้องนำน้ำทิ้งมาตกตะกอนด้วยสารเคมี เช่น เฟอรอคคลอไรด์ ซึ่งพบว่าลดค่า BOD ได้อีกประมาณ 61.4% แล้วกรองต่อด้วย activated carbon, ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจนโรงงานรับภาระไม่ไหว และไม่คุ้มค่าเมื่อคำนึงถึงปริมาณ BOD ที่ถูกจำกัดไปอีกไม่มากนัก.สาระสังเขป: การกำจัดน้ำทิ้งจากการผลิตกระดาา ทำได้ง่ายโดยการตกตะกอนด้วยสารส้ม จะกำจัด BOD ได้ 75% และ SS 99.5%. ตะกอนที่เกิดขึ้นมีประมาณ 0.075 มล.ล. หรือ 641 ม.3/วัน, น้ำทิ้งที่ได้ใสมากมีค่า SS เพียง 6 มก./ล., ค่า BOD เฉลี่ย 27 มก./ล. ระบบกำจัดจะใช้เงินทุนประมาณ 3.2 ล้านบาท และเสียค่าใช้จ่าย 2,979 บาท/วัน, ไม่รวมการกำจัดตะกอน. หากขยายกำลังการผลิตเป็น 80 ตัน/วัน ค่าก่อสร้างระบบกำจัดจะเพิ่มเป็น 5.6 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 5,520 บาท/วัน.สาระสังเขป: น้ำทิ้งทั้งสามประเภทนี้ต้องแยกกันจำกัด, สำหรับน้ำทิ้งจากการผลิตเยื่อจะต้องนำมาตกตะกอนเสียก่อนในถังตกตะกอนซึ่งจะลดค่า SS ได้ 73.4%, COD 17%, และ BOD 17.8%. ตะกอนที่เกิดขึ้นมีประมาณ 117 มล./ล. หรือ 1,912 ม.3/วัน ซึ่งจะต้องแยกออกไปจำกัด. น้ำทิ้งจากถังตกตะกอนจะมีค่า BOD 1,097 กก./ล. และ SS 292 มก./ล. จะต้องนำมากำจัดต่อโดยใช้บ่อดินที่มีอยู่ 4 บ่อ. การกำจัดมีทางเลือก 2 ทางคือ ใช้บ่อ 3 บ่อแรกเป็นบ่อหมัก และบ่อสุดท้ายเป็นบ่อเติมอากาศของระบบ Activated Sludge, หรือซื้อที่ดินเพิ่มอีกประมาณ 20 ไร่ เพื่อขยาย 2 บ่อสุดท้ายเป็นบ่อเติมอากาศ. วิธีแรกจะต้องลงทุนถึง 24.5 ล้านบาท และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีก 22,881 บาท/วัน; วิธีหลังจะลงทุนประมาณ 15.15 ล้านบาท และเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 17,700 บาท/วัน, ทั้งนี้ไม่รวมเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายในการกำจัดตะกอน. ดังนั้นจึงควรหาทางลดปริมาณน้ำทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด เช่น เปลี่ยนระบบกำจัดฝุ่นในโรงตัดฟางจากการใช้น้ำดับฝุ่นมาเป็น multicyclones, ปรับปรุงขบวนการผลิตและหาวิธีใช้น้ำหมุนเวียนซึ่งน่าจะลดปริมาณน้ำทิ้งให้เหลือประมาณ 6,000 ม.3/วัน ได้. การกำจัดน้ำทิ้งนี้จะทำได้ง่ายที่สุดในบ่อดินที่มีอยู่ 4 บ่อ. โดยใช้ระบบบ่อหมัก 2 บ่อ และระบบบ่อเติมอากาศ 2 บ่อ, จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 7.7 ล้านบาท และค่าใช้จ่าย 8,899 บาท/วัน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP1978/571-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300