วิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตรของเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีถั่วเหลือง = the influence of economic factors on acceptance to agricultural technology by farmer : a case study of soybean / Kriangsak Siripongsaroj...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Mungdee, Pissmai | Musikawatr, Kosol | Siripongsaroj, Kriangsak | Sukkasem, Prasert | พิศมัย มุ่งดี | โกศล มุสิกวัตร | เกรียงศักดิ์ ศิริพงษาโรจน์ | ประเสริฐ สุขเกษม | Thailand Institute of Scientific and Technological Research Techno-Economics Division
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 30-05 ; Rep. no. 1ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 1990 รายละเอียดตัวเล่ม: 64 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: วิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตรของเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีถั่วเหลืองหัวเรื่อง: Agro-technology acceptance | Chiang Mai | Soybean | Sukhothai | Technology transferสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: Even though soybean cultivation in Thailand has been intensively promoted, its produce is still insufficient to serve the gradual increase in domestic demand due to the low productivity. Therefore, a transfer of modern agro-technologies to farmers is needed and it is necessary to conduct a primary study concerning economic factors which influence the acceptance of agro-technologies of farmers in order to ensure success in technology transfer according to the set goals and objectives.สาระสังเขป: From the above mentioned study results, it could be concluded that the pull factors had a significant influence to the agro-technology acceptance of the farmers. These factors were increasing income, size of cultivation area, growing soybean as major crop, land ownership, and a special loan service for cultivation. On the contrary, the push factors: establishing of quality farm products to be sold and lack of workforces in some cropping seasons were less significant influence. Authorsสาระสังเขป: It should be noted herewith that the technology transfer in Sukhothai was higher than that of Chiang Mai. This might be caused by various factors as follows: firstly, irrigation in cultivation areas, in Sukhothai most of the cultivation areas were non-irrigated while in Chiang Mai were irrigated; secondly, the size of cultivation areas, the size of cultivation areas in Sukhothai was larger than that in Chiang Mai with an average value of 22.61 rai and 5.80 rai per household respectively; thirdly, land ownership, 73.3 percent of farmers in Sukhothai had their own land while in Chiang Mai were only 50 percent; fourthly, objectives in soybean cultivation, of 93 percent farmers in Sukhothai grew soybean as a major crop while that in Chiang Mai grew only 12.5 percent; fifthly, household income, the household income of the farmers in Sukhothai was much higher than that of the farmers in Chiang Mai with an average value of 38.317 B and 25,390 B respectively; finally, investment loan, 68.6 percent of the farmers in Sukhothai requested an investment loan when compared only 26.6 percent of the farmers in Chiang Mai.สาระสังเขป: Results from regression analysis, it was found that significant influencing factors to the farmers on agro-technology acceptance were the household income, size of cropping area, objectives, land ownership and investment loan.สาระสังเขป: Study research indicated that 5o percent of the farmers (by sampling of 64) in Chiang Mai accepted the agro-technologies application in soybean cultivation. These technologies were : using the suggested variety, soaking the seeds with Rhizobium sp., cropping in a ror, using a chemical spraying machine and a soybean thresher. The technologies accepted less than 50 percent were 1st and 2nd ploughing by a tractor, ploughing down, soaking the seeds with pesticides, using chemical fertilizers, herbicides and fungicides, applying large and small tractors and water pumps. In Sukhothai, it was found that agro-technologies accepted by the 50 percent of farmers (by sampling of 86) were : using the suggested variety, 1st and 2nd ploughing by a tractor, cropping in a row, applying chemical fertilizers, pesticides and fungicides and using large and samll tractors, a chemical spraying machine and a soybean thresher. The agro-technologies which were accepted less than 50 percent were : ploughing down, soaking the seeds with pesticides and the Rhizobium sp., using of manure and a water pump.สาระสังเขป: The objectives of this study are to know the existing general situation of agro-technologies being used in soybean cultivation and to find out the influence of economic factors to the acceptance of the farmers in Chiang Mai and Sukhothai Provinces.สาระสังเขป: แม้ประเทศไทยจะมุ่งส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองแก่เกษตรกรอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ก็ยังผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ซึ่งนับวันจะยิ่งมีความต้องการสูงขึ้นเป็นลำดับ, ทั้งนี้เพราะผลผลิตต่อไร่ที่เกษตรกรผลิตได้ยังอยู่ในระดับต่ำ. ดังนั้นโอกาสที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นก็โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรแผนใหม่แก่เกษตรกร ซึ่งในการนี้ต้องทราบถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนดลยีเกษตรของเกษตรกรเพื่อให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้.สาระสังเขป: การที่เกษตรกรในจังหวัดสุโขทัยมีการรับเอาเทคโนโลยีเกษตรมาใช้มากชนิดกว่า หรือมีระดับของการใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ อาจเป็นเพราะอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ. ประการแรก คือ ลักษณะความแตกต่างของพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลือง, โดยที่พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองในสุโขทัยส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ในขณะที่เชียงใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน. ประการที่สอง ขนาดพื้นที่เพาะปลูกที่แตกต่างกัน, ขนาดพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ยของเกษตรกรในจังหวัดสุโขทัยสูงกว่าจัดหวัดเชียงใหม่, เฉลี่ยครอบครัวละ 22.61 ไร่ และ 5.80 ไร่ ตามลำดับ. ประการที่สาม คือ สภาพการถือครอบที่ดินแตกต่างกัน, กล่าวคือ เกษตรกรจังหวัดสุโขทัยมีอัตราส่วนของการเป็นเจ้าของที่ดินเอง ร้อยละ 73.3 ในขณะที่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่มีที่ดินเป็นของตนเองเพียงร้อยละ 50. ประการที่สี่ คือ จุดประสงค์ของการปลูก ถั่วเหลืองแตกต่างกัน กล่าวคือ เกษตรกรจังหวัดสุโขทัย ปลูกถั่วเหลืองเป็นพืชหลักร้อยละ 93 ในขณะที่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ปลูกเพียงร้อยละ 12.5. ประการที่ห้า คือ รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองแตกต่างกัน กล่าวคือ เกษตรกรจังหวัดสุโขทัยมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 38,217 บาท ในขณะที่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ได้ประมาณ 25,390 บาท. ประการสุดท้าย คือ การกู้เงินมาลงทุนปลูกถั่วเหลืองแตกต่างกัน กล่าวคือ เกษตรกรจังหวัดสุโขทัยมีการกู้เงินมาลงทุนปลูกถั่วเหลือง ร้อยละ 68.6 ในขณะที่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่กู้เพียงร้อยละ 26.6.สาระสังเขป: จากผลของการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอย (regression analysis) พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีเกษตรของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ รายได้ต่อครอบครัวของเกษตรกร, ขนาดพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลือง, วัตถุประสงค์ในการปลูกถั่วเหลือง สภาพการถือครองที่ดิน, และการกู้เงินมาลงทุนปลูกถั่วเหลือง.สาระสังเขป: ดังนั้น กล่าวโดยสรุปจากผลการศึกษาใน 2 ลักษณะ พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ทั้งที่เป็นปัจจัยผลักดัน (push factors) และปัจจัยดึง (pull factors) มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง. ปัจจัยผลักดัน ได้แก่ การกำหนดคุณภาพของผลผลิตในการรับซื้อ ส่วนการขาดแคลนแรงงานในบางฤดูกาลนั้น มีอิทธิพลน้อยมากจนกล่าวได้ว่า ไม่มีอิทธิพลเลย. ส่วนปัจจัยดึง ได้แก่ รายได้ที่เพิ่มขึ้น, ขนาดพื้นที่เพาะปลูกที่มากขึ้น, การปลูกถั่วเหลืองเป็นพืชหลัก, สภาพการถือครองที่ดินปลูกถั่วเหลืองเป็นของตนเอง, และการได้รับบริการสินเชื่อเกษตรนั้นมีผลต่อการยอมรับใช้เทคโนโลยีเกษตร. -ผู้แต่ง.สาระสังเขป: ผลการศึกษาสภาพทั่วไปของการใช้เทคโนโลยีเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ว่า เทคโนโลยีเกษตรที่เกษตรกรยอมรับมาใช้ในระดับมากกว่าร้อยละ 50 ของเกษตรกรทีทำการสุ่มตัวอย่าง (จำนวน 64 ราย) คือ กรใช้พันธุ์แนะนำ, การคลุกเมล็ดด้วยเชื่อไรโซเบียม, การปลูกพืชเป็นแถวเป็นแนว, การใช้เครื่องพ่นยา และการใช้เครื่องนวดถั่วเหลือง. ส่วนเทคโนโลยีเกษตรที่เกษตรกรยอมรับมาใช้ในระดับน้อยกว่าร้อยละ 50 ของเกษตรกรที่ทำการสุ่มตัวอย่าง คือ การไถ, การคราด, พรวนด้วยรถไถ, การไถกลบหญ้า หรือพืชเดิม, การคลุมเมล็ดด้วยยาฆ่าแมลง, การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์, การใช้ปุ๋ยคอก, การใช้ยาป้องกันวัชพืช, การใช้ยาป้องกันโรคพืช, การใช้รถไถใหญ่, การใช้รถไถเล็ก และการใช้เครื่องสูบน้ำ. สำหรับผลการศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีเกษตรของเกษตรกรจังหวัดสุดขทัย พบว่า เทคโนโลยีเกษตรที่เกษตรกรยอมรับมาใช้ในระดับมากกว่าร้อยละ 50 ของเกษตรที่ทำการสุ่มตัวอย่าง (จำนวน 86 ราย) คือ การใช้พันธุ์แนะนำ, การไถ, คราด, พรวนดินด้วยรถไถ, การปลูกพืชเป็นแถวเป็นแนว, การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์, การใช้ยาฆ่าแมลง, การใช้ยาป้องกันวัชพืช, การใช้ยาป้องกันโรคพืช, การใช้รถไถใหญ่, การใช้รถไถเล็ก, การใช้เครื่องพ่รยา และการใช้เครื่องนวดถั่วเหลือง. และเทคโนโลยีเกษตรที่เกษตรกรยอมรับมาใช้ในระดับน้อยกว่าร้อยละ 50 ของเกษตรกรที่ทำการสุ่มตัวอย่าง คือ การไถกลบด้วยหญ้าหรือพืชเดิม, การคลุกเมล็ดด้วยยาฆ่าแมลง, การคลุมเมล็ดด้วยเชื้อไรโซเบียม, การใช้ปุ๋ยคอก และการใช้เครื่องสูบน้ำ.สาระสังเขป: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อให้ทราบถึงภาวะทั่วไปของการใช้เทคโนโลยีเกษตรของเกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลือง และศึกษาถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ, อันมีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีในการปลูกและเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในจังหวัดเชียงใหม่และสุโขทัย.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP1990/864
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP1990/864-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300