การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษ = technology transfer on toxic free vegetables planting / Parinya Vilairatana...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Artchawakom, Taksin | Kavilaves, Prayut | Niwaspragrit, Cholticha | Tanpanich, Sayan | Vilairatana, Parinya | ประยุทธ กาวิละเวส | สายันต์ ตันพานิช | ชลธิชา นิวาสประกฤติ | ปริญญา วิไลรัตน์ | ทักษิณ อาชวาคม | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Tech. Tran. Proj. no. 43-01/4 ; Report no.1(PA)ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok: Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 2000 รายละเอียดตัวเล่ม: 9 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษหัวเรื่อง: Organic crops | Technology transfer | Vegetablesสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: The demonstration plots of integrated methods of producing vegetables free from toxic residues were set up both inside and outside the nylon-net-houses, utilizing locally-available farm manure, as well as farm or industrial waste as organic fertilizer. Vegetables planting inside the three white-nylon-net-houses of 10x30x2.50 m. dimension and outside on a three-rai plot of land was demonstrated. The popular vegetables such as kale, chinese cabbage, broccoli, cauliflower, yard long bean, cucumber and cantaloupe were grown in both types of the demonstration plots. Vegetables, which were generally less annoyed by pest such as chinese convolvulus, chinese leek, lettuce, lemon grass and egg plant were planted to demonstrate the vegetables planting without or less chemical use. The micro-sprinkler and drip irrigation system were installed in the nylon-net-houses, while the mini-sprinkler system was installed outside. Two training courses were organized at Lam Takong Research Station, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima province for total of 199 participants who were vegetable growers and extension people in Pak Chong and Si Khiu Districts within the Lam Takong watershed. The lectures provided the participants with negative effects of chemical substances; the impact of chemical substance to user, consumer, and environment; production of vegetables free from toxic residues; the importance of organic fertilizer; the biological control and extraction and the safe-use of chemicals. Such training allowed the participants to practice biological extract technique, organic pesticides from plants and sticky trap. A visit to demonstration plots was also arranged. -Authors.สาระสังเขป: ได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษในระบบเรือนโรงชนิดมุ้งตาข่ายไนลอนสีขาว ขนาด 10 x 30 x 2.50 เมตร จำนวน 3 หลัง และนอกเรือนโรงเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ด้วยการประยุกต์วิธีการผลิตผักปลอดสารพิษโดยวิธีผสมผสาน โดยการนำอินทรียวัตถุและวัสดุเหลือใช้ชนิดต่างๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ มูลโค, มูลสุกร, มูลไก่, กากมันสำปะหลัง แกลบสด และแกลบเผา มาทำเป็นปุ๋ยหมักใช้ในแปลงปลูก ร่วมกับการใช้ชีวินทรีย์และสารสกัดจาก ธรรมชาติ. ได้ทำการปลูกผักชนิดที่นิยมผลิตและบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกวางตุ้ง, บร็อคคอลี, กระหล่ำดอก, ถั่วฝักยาว, แตงร้าน และแตงแคนตาลูป โดยเปรียบเทียบการผลิตทั้งในเรือนโรงและนอกเรือนโรง. รวมทั้งได้นำพืชผักที่มีโรคและศัตรูรบกวนน้อยมาปลูกสาธิตในระบบนอกเรือนโรง เพื่อเป็นตัวแทนในการผลิตผักที่ไม่ต้องใช้สารเคมีหรือพืชผักที่มีการใช้สารเคมีน้อย อาทิ ผักบุ้งจีน, กุยช่าย, ผักกาดหอม, ตะไคร้และมะเขือเปาะ. ได้ติดตั้งระบบการให้น้ำแบบน้ำหยดและแบบพ่นฝอยในเรือนโรงกับระบบน้ำหยดและมินิสปริงเกอร์ภายในเรือนโรง เพื่อเน้นการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ. ได้ทำการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง ณ สถานีวิจัยลำตะคอง, อ. ปากช่อง, จ. นครราชสีมา ด้วยการเลือกสรรผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตผักเป็นอาชีพอยู่แล้ว, รวมทั้งเจ้าหน้าที่การเกษตรและผู้สนใจในเขตอำเภอปากช่องและอำเภอสีคิ้ว รวม ทั้งสิ้น 199 คน. โดยเกษตรกรดังกล่าวมีพื้นที่เพาะปลูกในเขตพื้นที่รับน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง หรือพื้นที่ต้นน้ำลำตะคองเป็นหลัก. ในภาคบรรยาย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับรู้ถึงพิษภัยของสารเคมี, ผลกระทบของสารเคมีที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้, ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม, กระบวนการผลิตพืชผักปลอดสารพิษ, ความสำคัญของการใช้ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, การใช้ชีวินทรีย์, การใช้สารสกัดจากพืชเพื่อเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชผักและวิธีการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย. ในภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และฝึกฝนการทำปุ๋ยหมัก, การผลิตน้ำสกัดชีวภาพตามแนวทางเกษตรออร์แกนิก, การผลิตสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจากสมุนไพรและพืชพื้นบ้าน, การผลิตกาวเหนียวเพื่อใช้เอง รวมทั้งการเยี่ยมชมแปลงสาธิตการผลิตพืชผักปลอดสารพิษของสถานีวิจัยลำตะคอง. -ผู้แต่ง
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP2000/1101

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300