การวิเคราะห์ต้นทุนการปลูกมินต์ = analysis on principal cost of mint cultivation / Phiphit Suphaphaiphat, Sorat Sangsan-anan, Metz Tungkhasarani

โดย: Suphaphaiphat, Phiphit
ผู้แต่งร่วม: Sangsan-anan, Sorat | Tungkhasarani, Metz | ตุงคะเศรณี, เมษ | พิพิธ ศุภพิพัฒน์ | สังสรรค์อนันต์, โสฬส | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Proj. no. 62/1 Rep. no. 2ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 1975 รายละเอียดตัวเล่ม: 69 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การวิเคราะห์ต้นทุนการปลูกมินต์หัวเรื่อง: Mint | Mint cultivationสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: A survey on the use of land and other production factors of mint in relation to other crops indicates that in the Central Regior, the cultivation of mint on orchard ridge, in spite of its three cultings, gives lower earnings than the growing of various flower plants and vegetables, such as chrysanthemum, gebera, rose, genus Allium and cauliflowar. On the high grounds where vegetables can be grown, the yield of mint cannot rank with that of the vegetation. But on the high grounds where other crops, such as corn and green gram, are grown the cultivation of mint gives the better yield, especially when it is grown in the naturally-fertile soil and can be cut three times a year.สาระสังเขป: As a result of the study, it is advisable to grow mint on high ground and field rather than on orchard ridge. This is because the yields of mint grown on orchard ridges are inferior to those of vegetables and flower plants. Meanwhile, the cultivation of mint on field should be promoted in the area where water resources are available during the dry season.สาระสังเขป: As far as the yielding is concerned, the earning from mint with one crop cutting will not cover the cost of the cultivation. The profit, however can be expected from mint with two cuttings and more. The statistical comparison between the cost of cultivation and the produce of various species of mint can be summed up as follow:สาระสังเขป: As for land occupation, 61.5 per cent of growers in the Central Region and 77 per cent of cultivators in the North have land of their own. On the average, the proportion of land for cultivation in the Central Region is much larger than that of the North. That is: in the Central Region, the land slated for the purpose is 11 rai for each grower, while is the North 1.5 rai per head is averagely fixedสาระสังเขป: As for the buying price on the part to traders that would bring enough profit to farmers to continue growing mint, the pesent price level of one baht per kilogram is considered appropriate. However, the kind of mint plant in the transaction should be fixed in such a way that can prevent farmers from being taken advantage of. - Author.สาระสังเขป: As for the reduction of the cost in cultivation, this can be made by finding means to eradicate weed, that costs less than man labour. In case where the man labour is needed for weed ridding, the area for the cultivation should be small so the planters will be able to throughly take care of their farms by using man labour. In case where the weed control is effective, the area can than be extended.สาระสังเขป: In the North, the mint with two cuttings and over gives higher produce than corn, mung bean, castor bean cassava, but lower produce than soybean and groundnut. As for tobacco, which is an active competritor with mint, the statistics do not show the difference in earning between the cultivation of the two crops.สาระสังเขป: In the study of the relation between the area and the cost of mint cultivation and its produce, it appears that the growing of mint in the Central Region, either on orchard ridge or high ground, generally costs less on larger area than smaller areas. And, the cultivation on orchard ridge in greater area yields less produce than in smaller area. In the North, ,ost cultivation is developed in small plots. It is, therefore, difficult to work out the relation between the area, the cost and the produce in this part of the country.สาระสังเขป: The main objective of the study on the capital fund for mint cultivation is to learn about the capital structure of the product to compare the capital cost with the produce of various plantations, which use different methods of growing; to see the competition between the mint and other crops; and to survey the relationship between the area of the plantation, the cost and the yield. The study is conducted through the data compiled by officials, who have conducted the survey and interviewed mint growers themselves. After the collected data have been re-adjusted, the analysis is conducted by means of statistical systemสาระสังเขป: The mint with three cuttings, which is grown on high ground and field in the North yields better produce than that grown on orchard ridge and high ground in the Central Area, though the produce from different cultivation in each locality marks statistical difference. The cost of cultivation on high ground and field in the North, however, is statistically lower that grown on orchard ridge and high ground in the Central Area.สาระสังเขป: The mint with two cuttings, grown on orchard on orchard ridge and high ground in the Centre Region renders the same amount of yield as that grown on field and high ground in the North. This is because there have been no recorded statistics which show the difference between the cost of cultivation and the yield of the crop in different localities.สาระสังเขป: The study on the mint cultivation cost also records three items of expenditure for orchard ridge growing method. Those are costs for watering, fertilizer and insecticide. The three items will involve about 30-40 per cent of the total expenditure. The cultivation of field and high ground will take much less expenditure. The cultivation on field or about 1-8 per cent of the total cost. But the biggest expense will be on clearing of grass or weed, estimated at about 20-38 per cent of the total costสาระสังเขป: The survey has revealed that complete information on the analysis has been received from 112 mint growers with the following breakdown: 39 in the Central Region - 17 of whom using the method of growing on orchard ridges and 12 using high grounds; and 73 in the North - 24 of whom using fields for the cultivation, 49 using high grounds. The cultivation in each locality in also categorized as one, two or three crop cuttings per yearสาระสังเขป: ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเนื้อที่ที่เพาะปลูกมินต์กับต้นทุนการปลูก และผลผลิตนั้นผลปรากฏว่า: สำหรับการปลูกมินต์ในภาคกลาง, ไม่ว่าจะเป็นการปลูกแบบร่องสวนและแบบที่ดอน, โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนการปลูกของเนื้อที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ต่ำกว่าของเนื้อที่เพาะปลูกขนาดเล็ก; และการปลูกแบบร่องสวนในเนื้อที่ขนาดใหญ่ ผลผลิตต่ำกว่าการปลูกในเนื้อที่ขนาดเล็ก. ส่วนการปลูกมินต์ในภาคเหนือ, ส่วนใหญ่เป็นการปลูกในเนื้อที่ขนาดเล็ก, จึงยากที่จะสรุปได้ว่า ขนาดเนื้อที่เพาะปลูกกับต้นทุนการปลูกและผลผลิต มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดอย่างชัดแจ้งบ้าง.สาระสังเขป: ข้อเสนอแนะที่สำคัญ, อันเป็นผลจากการศึกษา เรื้องต้นทุนการปลูกมินต์, ก็คือ: ควรส่งเสริมการปลูกมินต์แบบที่ดอนและแบบที่นามากกว่าการปลูกแบบร่วงสวน; ทั้งนี้ เพาะการปลูกมินต์แบบร่วงสวนให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรผู้ปลูก สู้การปลูกพืชผักและไม้ดอกต่าง ๆ ไม่ได้. ส่วนการปลูกแบบที่นา ควรส่งเสริมเฉพาะท้องที่ ๆ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ในฤดูแล้ง; สำหรับการลดต้นทุนการปลูก สามารถที่จะกระทำได้ด้วยการหาวิธีกำจัดวัชพืช, ที่ต้นทุนต่ำกว่าการใช้แรงงานคน. ถ้าหากการกำจัดวัชพืชยังต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก, ขนาดเนื้อที่ ๆ เพาะปลูกมินต์ควรมีขนาดเล็ก, เพื่อที่เกษตรกรผู้ปลูกจะสามารถใช้แรงงานคนในครัวเรือนดูแลรักษาได้ทั่วถึง; แต่ถ้าหากสามารถใช้ยาคุมวัชพืชได้ผล, ขนาดเนื้อที่เพาะปลูกสามารถที่จะขยายใหญ่ขึ้นได้. สำหรับด้านราคารับซื้อ, ที่ควรคุ้มต้นทุนการปลูก และให้กำไรที่จะจงใจให้เกษตรกรยังคงปลูกมินต์อยู่ต่อไปนั้น, ระดับราคา กก.ละ 1 บาท ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นับว่าเหมาะสม, แต่ควรจะกำหนดลักษณะต้นมินต์ที่ซื้อขายมิให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ. - ผู้แต่ง.สาระสังเขป: จากการสำรวจ ปรากฏว่า: ได้ตัวอย่างผู้ปลูกมินต์ ที่ให้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ 112 ราย; แยกเป็นของผู้ปลูกในภาคกลาง 39 ราย, ซึ่งประกอบด้วยการปลูกแบบร่องสวน 27 ราย และแบบที่ดอน 12 ราย; ในภาคเหนือ 73 ราย; ซึ่งประกอบด้วยการปลูกแบบที่นา 24 ราย และที่ดอน 49 ราย. สำหรับการปลูกแต่ละแบบในแต่ละท้องที่ ยังแยกเป็นตัวอย่างที่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกที่ตัดมินต์ได้ 1 ครั้ง, 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง อีกด้วย. ในด้านถือครองที่ดิน ปรากฏว่า: ร้อยละ 61.5 ของผู้ปลูกในภาคกลาง และร้อยละ 77 ของผู้ปลูกในภาคเหนือเป็นเจ้าของที่ดินเอง. ส่วนขนาดเนื้อที่ที่เพาะปลูกมินต์นั้น, โดยถัวเฉลี่ยแล้ว, เนื้อที่เพาะปลูกในภาคกลางใหญ่กว่าทางภาคเหนือมาก, กล่าวคือ: ในภาคกลาง เฉลี่ยเนื้อที่เพาะปลูกมินต์เท่ากับ 11 ไร่ต่อราย; ส่วนภาคเหนือ เฉลี่ยรายละ 1.5 ไร่ เท่านั้น.สาระสังเขป: ผลการศึกษาในแง่รายได้จากการปลูกมินต์ ชี้ให้เห็นว่า: หากการปลูกมินต์สามารถตัดได้เพียงครั้งเดียว, ไม่ว่าจะใช้วิธีปลูกแบบใดก็ตาม, รายได้จากการขายต้นมินต์จะไม่คุ้มกับต้นทุนการปลูก; แต่ถ้าสามารถตัดมินต์ได้ ตั้งแต่ 2 ครั้ง ขึ้นไป, การปลูกมินต์จึงจะเป็นกิจการที่มีผลกำไร. การเปรียบเทียบทางสถิติในเรื่องต้นทุนการปลูก และผลผลิตระหว่างการปลูกมินต์แต่ละแบบ ในแต่ละภูมิภาค มีข้อสรุปได้ว่า: สำหรับกรณีการปลูกมินต์ที่ตัดได้ 2 ครั้ง การปลูกแบบร่องสวนและที่ดอนในภาคกลาง และการปลูกแบบที่นาและที่ดอนในภาคเหนือ ให้ผลได้ทัดเทียมกัน; เพราะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่แสดงว่า: ต้นทุนการปลูกและผลผลิตของการปลูกแต่ละอย่าง ในแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน. สำหรับการปลูกที่ตัดมินต์ได้ 3 ครั้ง การปลูกแบบที่ดอนและที่นาในภาคเหนือมีผลดีกว่าการปลูกแบบร่องสวนและที่ดอนในภาคกลาง; แม้ว่าผลการเปรียบเทียบไม่ปรากฏว่าผลผลิตของการปลูกแต่ละแบบ ในแต่ละท้องที่ มีนัยสำคัญทางสถิติแตกต่างกัน, แต่ต้นทุนการปลูกแบบที่ดอนและที่นาทางภาคเหนือมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่แสดงว่า ต่ำกว่าต้นทุนการปลูกแบบร่องสวนและที่ดอนในภาคกลาง.สาระสังเขป: ผลการศึกษาด้านโครงสร้างต้นทุนการปลูกมินต์ ปรากฏว่า: การปลูกแบบร่องสวน มีค่าใช้จ่ายสำคัญอยู่ 3 รายการคือ : ค่ารดน้ำ, ค่าปุ๋ย และค่ายาฆ่าแมลง, ซึ่งรวม 3 รายการนี้ คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 30 - 40 ของรายจ่ายทั้งหมด. ส่วนการปลูกแบบที่นาและแบบที่ดอนมีค่าใช้จ่ายสำหรัง 3 รายการดังกล่าวน้อยมาก; คิดเป็นประมาณร้อยละ 1-8 ของรายจ่ายทั้งหมดเท่านั้น. แต่มีค่าดายหญ้าเป็นค่าใช้จ่ายรายการใหญ่ที่สุด; คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 - 38 ของยอดรายจ่ายทั้งหมด.สาระสังเขป: วัตถุประสงค์สำคัญของการศึกษาเรื่องต้นทุนการปลูกมินต์ ก็เพื่อให้ทราบโครงสร้างต้นทุนการปลูกมินต์, และทำการเปรียบเทียบต้นทุนการปลูกและผลผลิตระหว่างแหล่งเพาะปลูก, ซึ่งมีวิธีการปลูกแตกต่างกัน, การแข่งขันระหว่างมินต์กับพืชอื่น; และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดเนื้อที่ ๆ เพาะปลูกกับต้นทุนการปลูกและผลผลิต. การศึกษาดังกล่าวอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจโดยการใช้เจ้าหน้าที่ออกทำการสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกมินต์โดยตรง. หลังจากการปรับปรุงข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้แล้ว, จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักวิชาทางสถิติเข้าช่วย.สาระสังเขป: ส่วนผลการศึกษาด้านการแข่งขันการใช้ที่ดินและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ระหว่างมินต์และพืชอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า: ในภาคกลางการปลูกมินต์แบบร่วงสวน, แม้ว่าตัดมินต์ได้ 3 ครั้ง, ก็ยังได้รายได้ต่ำกว่าการปลูกไม้ดอกต่าง ๆ และพืชผัก, เช่น: ดอกเบญจมาศ, ดอกเยอร์บีร่า, ดอกกุหลาบ, ผักกุ่ยไฉ่ และดอกกะหล่ำ เป็นต้น. ส่วนการปลูกแบบที่ดอน ที่สามารถปลูกพืชผักได้, การปลูกมินต์ที่ตัดได้เพียง 2 ครั้ง ให้ผลตอบแทนสู้การปลูกผักไม่ได้; แต่ถ้าหากเป็นท้องที่ดอน, ที่แข่งขันกับพืชไร่ ประเภท ข้าวโพด และถั่วเขียว, การปลูกมินต์ให้ผลตอบแทนดีกว่า, โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการปลูกในที่ ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติและตัดมินต์ได้ 3 ครั้ง ใน 1 ปี. ส่วนในภาคเหนือ การปลูกมินต์ที่ตัดได้ ตั้งแต่ 2 ครั้ง ขึ้นไป ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวโพด, ถั่วเขียว, ละหุ่ง และมันสำปะหลัง; แต่ต่ำกว่าการปลูกถั่วเหลืองและถั่วลิสง. ส่วนยาสูบ, ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของมินต์นั้น, จากการทดสอบทางสถิติไม่ปรากฏว่า รายได้จากการปลูกมินต์และยาสูบมีนัยสำคัญทางสถิติที่แสดงว่าแตกต่างกัน.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP1975/407
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP1975/407-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300