การพัฒนาคุณภาพและผลผลิตมะเขือเทศโดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช = quality and yield development of tomatoes by using plant growth regulator / Kusol Iamsub...[et al.]

ผู้แต่งร่วม: Iamsub, Kusol | Nutalaya, Siengtong | Subhadrabandhu, Suranant | Wechvitan, Pichet | เวชวิฐาน, พิเชษฐ | กุศล เอี่อมทรัพย์ | เสียงทอง นุตาลัย | สุรนันต์ สุภัทรพันธุ์ | Thailand Institute of Scientific and Technological Research Agrotechnology
Language: Thai ชื่อชุด: Grant (I) Res. Proj. no. 41-01 Rep. no. 1ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 1999 รายละเอียดตัวเล่ม: 30 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การพัฒนาคุณภาพและผลผลิตมะเขือเทศโดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหัวเรื่อง: 2, 4-D | Chiang Mai | Plant regulators | Tomatoesสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: Interaction effect between plant growth regulator and tomato yields showed positive result on Tj2-2, TJ-21-3, BJ-2 and TJ-40 while AMP-49, NK-40, TM-23 and TAP-449 remained no response and TW-4 indicated negative result. After the use of 2,4-D with tomatoes CV Rachinee, Jetlet and industrial tomatoes in every 2, 4 and 6- day, no residue was observed at every level of concentration and different times examined. Authorsสาระสังเขป: The study on industrial tomatoes CV. AMP-49, TW-4, NK-40, TM-23, TJ-40, BJ-2, TAP-449, TJ-21-3, THA-157 and Tj 2-2 at Sakon Nakhon Province indicated that variety Tj 2-2 gave the highest yield of 2,566 kg/rai and followed respectively by TW-4 and THA-157 of 2,138 and 1,959 kg/rai while variety AMP-49 gave the lowest yield of only 678 kg/rai. The applications of 2,4-D at every level of concentration were found to significantly give higher yield than the control method.สาระสังเขป: The study on quality and yield development by using plant growth regulator was conducted at Royal Pangda Station of the Royal Project in Chiang Mai to improve productivity of table tomatoes CV Rachinee and Jetlet. It was found that the use of 5 ppm 2, 4-D in every 7-day could improve yields to 3,070 and 3,231 kg/rai respectively which were significantly higher than 1,655 and 1,781 kg/rai of the control method. The fruit weights/fruit of both varieties when using 5 ppm 2, 4-D were found to be 12.09 and 12.99 g/fruit which were higher than 5.75 and 6.47 g/fruit of the control ones. The application of 5 ppm 2,4-D had resulted in fruit setting of 35 and 31 fruit / inflorescence or more than those control of 23 and 17 fruit / inflorescence while every level of concentration had no effect on number of flowers inflorescence. The use of 5 ppm 2,4-D could also yeild 8.72 and 8.35 percent Bx of sugar content or higher than the control method of 7.40 and 7.12 percent Bx respectively.สาระสังเขป: ในส่วนของการศึกษาผลของการใช้สาร 2,4-D ต่อผลผลิตของมะเขือเทศพบว่า วิธีการพ่นสาร 2,4-D ทุกระดับความเข้มข้นให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการไม่ให้สารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.สาระสังเขป: การตรวจปริมาณตกค้างของสาร 2,4-D จากการฉีดพ่นกับมะเขือเทศพันธุ์ราชินี, เจตเลตและมะเขือเทศอุตสาหกรรมทุกระดับความเข้มข้น หลังการใช้ 2, 4 และ 6 วัน ปรากฏว่าไม่พบการตกค้างของสาร 2,4-D ที่ทุกระดับความเข้มข้นและทุกระยะเวลาที่ทำการตรวจ. - ผู้แต่งสาระสังเขป: ส่วนผลของปฏิกิริยาร่วมระหว่างสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชกับพันธุ์มะเขือเทศต่อผลผลิต ปรากฏว่าปฏิกิริยาร่วมจะแสดงผลชัดเจนกับมะเขือเทศบางพันธุ์โดยพันธุ์ Tj 2-2, TJ-21-3, BJ-2 และ TJ-40 ซึ่งมีการตอบสนองในทางบวก, ในขณะที่พันธุ์ AMP-49, NK-40, TM-23 และ TAP-449 ไม่มีการตอบสนอง, ยิ่งไปกว่านั้น พันธุ์ TW-4 กลับมีการตอบสนองในทางลบ.สาระสังเขป: สำหรับงานทดลองกับมะเขือเทศอุตสาหกรรมโดยศึกษาผลของพันธุ์มะเขือเทศอุตสาหกรรม AMP-49, TW-4, NK-40, TM-23, TJ-40, BJ-2, TAP-449, TJ-21-3, THA-157, Tj 2-2 ที่จังหวัดสกลนครปรากฏว่า มะเขือเทศพันธุ์ Tj 2-2 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ 2,566 กก. ต่อไร่. รองลงมาได้แก่ TW-4, และ THA-157 ซึ่งให้ผลผลิต 2,138 และ 1,959 กก. ต่อไร่, ส่วนพันธุ์ AMP-49 ให้ผลผลิตต่ำสุดคือ 678 กก. ต่อไร่.Review: การศึกษาพัฒนาคุณภาพและผลผลิตมะเขือเทศโดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เพื่อให้ทราบปริมาณที่เหมาะสมของการใช้สาร 2,4-D กับมะเขือเทศรับประทานสดพันธุ์ราชินีและพันธุ์เจตเลต ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ จังหวัดเชียงใหม่, พบว่าการใช้สาร 2,4-D ที่ระดับความ เข้มข้น 5 ppm ทุก 7 วัน ให้ผลผลิต 3,070 และ 3,231 กก.ต่อไร่ และสูงกว่าวิธีการไม่ใช้สาร ซึ่งให้ผลผลิต 1,655 และ 1,781 กก.ต่อไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. เมื่อพิจารณาถึงน้ำหนักเฉลี่ย ต่อผลกับทั้งสองพันธุ์ปรากฏว่าการใช้สาร 2,4-D ที่ความเข้มข้น 5 ppm ให้น้ำหนักต่อผล 12.09 และ 12.99 กรัมซึ่งสูงกว่าวิธีการไม่ใช้สารซึ่งให้น้ำหนัก 5.75 และ 6.47 กรัมต่อผล. สำหรับการติดผล พบว่าการให้สาร 2,4-D 5 ppm ทั้งสองพันธุ์มีการติดผล 35 และ 31 ผลต่อช่อ, ในขณะที่ไม่ให้สารมีการติดผล 23 และ 17 ผลต่อช่อ และสารทุกระดับความเข้มข้นไม่มีผลต่อจำนวนดอก. ส่วนระดับน้ำตาลพบว่า การให้สาร 5 ppm ให้น้ำตาล 8.72 และ 8.35% Bx สูงกว่าวิธีไม่ให้สารซึ่งให้น้ำตาล 7.40 และ 7.12% Bx ตามลำดับ.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP1999/1059
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP1999/1059-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300