การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการผลิตและการใช้ "ปุ๋ยแบคทีเรีย" เพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง สจ. 2 = preliminary study on the method of production and application of Rhizobium inoculant to increase "SJ.2" soybean yield / Srivan Chomchalow, Pradit Pirman

โดย: Chomchalow, Srivan
ผู้แต่งร่วม: Piraman, Pradit | ศรีวรรณ โฉมเฉลา | ประดิษฐ์ พีระมาน | Thailand Institute of Scientific and Technological Research
Language: Thai ชื่อชุด: Res. Prmme. no. 44, Res. Proj. no. 44/3 ; Rep. no. 9ข้อมูลการพิมพ์: Bangkok : Thailand Institute of Scientific and Technological Research, 1975 รายละเอียดตัวเล่ม: 14 p.ชื่อเรื่องอื่นๆ: การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการผลิตและการใช้ "ปุ๋ยแบคทีเรีย" เพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง สจ. 2หัวเรื่อง: Rhizobiaceae | Rhizobium | Soybeanสารสนเทศออนไลน์: Click here to access full-text สาระสังเขป: Preliminary study was conducted on the method of production and application of Rhizobium inoculant (or root nodule bacteria) to increase SJ.2 soybean yield, instead of using nitrogen fertilizer which was more expensive. The inoculant in also known as "legume inoculant" or "bacterial fertilizer". The inoculant was prepared by using local materials as carrier mixing with selected strain of Rhizobium at the moisture of 40-50 per cent. The carrier for mixing comprised coir dust, charcoal and lime ground and sifted through 100-mesh sieve, with pH 6.8. It was found from the test that the carrier sterilized before mixing with the broth was better than the non-sterilized one. And sterilizing the carrier through gamma radiation at the dose of 4.5 x 10 M rads gave better result than steam treatment of 120 degree celsius at 15 lbs. The viability of the inoculants stored in refrigerator (12-15 degree celsius) was better than in room temperature (26-32 degree celsius). Field experiment indicated that inoculated treatment outyielded the uninoculated one by 61 kg/rai in the northeast and 36 kg/rai in the central plain and the east. The use of inoculant alone at the cost of B 15/rai was able to increase the yield by 38.1/kg/rai, equivalent to B 190.5/rai, whereas the use of fertilizer at the rates of 3 and 6 kg N/rai (at the cost of B 75 and 150/rai) was able to increase the yield by 36.5 and 20.9 kg/rai respectively. It is anticipated that the application of N fertilizer to soybean is not only expensive, but laso reduces the yield of soybean with the higher rate of N fertilizer applied Authorsสาระสังเขป: ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตเชื้อแบคทีเรียปมรากถั่ว (Rhizobium หรือ root nodule bacteria), สำหรับคลุกเมล็ดถั่วเหลืองก่อนทำการปลูก; เพื่อช่วยให้เพิ่มผลผลิต แทนปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งมีราคาแพงกว่า. เชื้อแบคทีเรียปมรากถั่วนี้ เรียกว่า legume inoculant หรือ bacterial fertilizer หรือ ปุ๋ยแบคทีเรีย. เชื้อแบคทีเรียที่ผลิตขึ้น มีลักษณะเป็นผงสีดำ เรียกว่า ผงเชื้อฯ, โดยใช้ carrier ผสมกับน้ำเลี้ยงเชื้อไรโซเบียม ให้มีความชื้น 40-50%. วัสดุ carrier ที่ใช้คลุกเชื้อฯ ประกอบด้วย ขุยมะพร้าว, ถ่าน และปูนขาว, ซึ่งบดละเอียดผ่านตะแกรง 100 mesh และให้มี pH 6.8. จากการทดสอบคุณภาพของผงเชื้อที่ผลิตขึ้น, ปรากฏว่า carrier ที่ได้รับการฆ่าเชื้อก่อนการคลุกกับน้ำเลี้ยงเชื้อไรโซเบียม ดีกว่าการไม่ฆ่าเชื้อก่อน; และการฆ่าเชื้อด้วยการอาบรังสีแกมมาในอัตรา 4.5 x 10 6M rads. ดีกว่าการฆ่าเชื้อด้วยการนึ่งด้วยไอน้ำที่ 120 เซลเซียส. 15 ปอนด์. การเก็บผงเชื้อฯ ในตู้เย็น (12 - 15 เซลเซียส), เชื้อไรโซเบียมมีชิวิตอยู่นานกว่า การเก็บไว้ในอุณหภูมิ ห้อง (26 - 32 เซลเซียส). การทดลองในแปลงทดสองปรากฏว่า ผลผลิตของแปลง, ที่คลุกผงเชื้อฯ กับเมล็ดถั่วเหลืองก่อนปลูก สูงกว่าแปลงที่ไม่ได้คลุกถึง 61 กก.ต่อไร่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; และ 36 กก.ต่อไร่ ในภาคกลางและภาคตะวันออก. ในการทดลองในแปลงทดลองเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตของการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับการใส่ผงเชื้อฯ นั้น, พบว่า การใช้ผงเชื้อฯ แต่เพียงอย่างเดียว, ในอัตรา 15 บาทต่อไร่, ทำให้ผลผลิตสูงขึ้นถึง 38.1 กก.ต่อไร่, คิดเป็นเงินประมาณ 190.5 บาทต่อไร่; สูงกว่าการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 3 กก.N และ 6 กกN ต่อไร่ (ประมาณ 75 บาท และ 150 บาท) ถึง 30.5 กก. และ 20.9 กก./ไร่ ตามลำดับ. การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับถั่วเหลืองนั้น นอกจากจะมีราคาแพงแล้ว ยังทำให้ผลผลิตลดลงด้วย; การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูงขึ้นถึง 12 กก. และ 24 กก.ต่อไร่ ทำให้ผลผลิตยิ่งลดลง. การใส่เชื้อฯ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน 6 กก.ต่อไร่ จะให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด; แต่จะมีกำไรทั้งสิ้นเท่ากับการใช้ผงเชื้อฯ แต่เพียงอย่างเดียว. - ผู้แต่ง.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
ชนิดของทรัพยากร Location Call number สถานะ Last seen Copy No. บาร์โค้ด
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 1 RP1975/429
General Book
วว. เทคโนธานี
Available 2018-08-31 2 RP1975/429-2

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Thailand Institute of Scientific and Technological Research
    35 Mu 3 Technopolis, Tambon Khlong Ha, Amphoe Khlong Luang, Pathum Thani 12120
    ☎ 0 2577 9000, 0 2577 9300